พื้นฐานของบ้านน่าอยู่ โดยทั่วไป บ้านจะน่าอยู่ได้ต้องมีพื้นฐานที่สำคัญอย่างน้อย
3 ประการ ดังต่อไปนี้

    1. มีการตกแต่งอย่างดี และเอาใจใส่ ตรงตามความต้องการของเจ้าของบ้าน
    2. มีการดูแลอย่างดี สะอาด ไม่รกรุงรัง
    3. มีชีวิต ชีวา ตกแต่งอย่างดี คำว่า “ตกแต่งอย่างดี” ไม่ได้หมายถึงว่า คุณต้องลงทุนว่าจ้าง นักออกแบบตกแต่งภายในราคาแพง และเสียค่าใช้จ่าย มหาศาล เพื่อทำให้บ้านของคุณดูสวยหรูแต่หมายถึงว่าคุณต้องตกแต่งบ้าน ให้สวยงามตามรสนิยมของคุณเอง (ไม่ใช่ของนักออกแบบ หรือแขกที่มาเยี่ยม) มีประโยชน์ใช้สอยที่ครบถ้วน และมีพื้นที่ใช้สอยเหมาะสมตามความต้องการ และการใช้งานในชีวิตประจำวัน ของตัวคุณเอง สรุปอย่างง่ายๆคือบ้านที่มี การตกแต่งอย่างดีของคุณต้อง

 

การตกแต่งอย่างดี คือ การที่

                    1. สวยตามรสนิยมของคุณ ถ้าชอบแบบไหนก็ทำแบบนั้น เช่น บางคนชอบบ้านที่ให้บรรยากาศที่ พักผ่อน ดูสบาย อบอุ่น หรือบางคน ชอบบ้านที่สวย ทันสมัย มีสีสรร เป็นต้น คุณไม่จำเป็นต้องทำตาม สมัยนิยม โดยที่คุณไม่ชอบบ้านของคุณเป็นที่ที่คุณ และครอบครัวใช้เวลาอยู่กับมัน มากที่สุดไม่ใช่ นักออกแบบตกแต่งภายในของคุณ หรือผู้รับเหมา หรือแม้กระทั่งแขกที่มาเยี่ยมบ้านก็ตาม



                    2. มีประโยชน์ใช้สอยที่ครบถ้วน โดยบ้านที่ดีควร มีส่วนต่างๆ ครบคือส่วนรับแขก หรือนั่งเล่นส่วนทานอาหาร ครัว ห้องนอน ห้องน้ำ และห้องเก็บของ เป็นต้นหากใครจะมีห้องมากกว่านี้ เช่นมีห้อง Mini- Theatre เพื่อเอาไว้ ดูหนังฟังเพลง หรือห้อง Karaoke สำหรับให้ญาติสนิทมารวมกันร้องเพลง ตลอดจนห้อง Fitnessเพื่อออกกำลังกายด้วยก็ได้

                    3. มีพื้นที่ใช้สอยเหมาะสมตามการใช้งานในชีวิตประจำวัน ซึ่งความต้องการ ในข้อนี้ มักจะแตกต่างกันออกไป เช่น หากคุณใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในครัว เพลิดเพลินกับการทำอาหาร และขนมชนิดต่างๆ คุณควรจะมีครัวที่ใหญ่ มีอุปกรณ์ครบถ้วน และสวยงาม แต่หากคุณใช้เวลาส่วนใหญ่นั่งเล่น ในห้องรับแขก คุณก็ควรจะมีห้องรับแขกที่น่าอยู่ นั่งสบาย และลูกค้าบางราย อาจจะชอบแต่งตัวและ ใช้เวลาแต่งตัวนานเป็นพิเศษ ก็ควรจะสร้างห้องแต่งตัว ที่ไม่อึดอัด และมีที่นั่งแต่งตัวให้สบาย เป็นต้น และสุดท้าย คำว่า “ตกแต่งอย่างดี” ก็ต้องเหมาะสมกับงบประมาณของเจ้าของบ้านด้วยไม่ใช่ว่า ตกแต่งบ้านทีเดียว ต้องจนไปอีกนานงานตกแต่งภายในนั้นไม่จำเป็นว่าต้องใช้ของแพงเสมอไป เราสามารถใช้ของที่มีราคาถูกกว่า แต่เมื่อนำมาจับคู่สีกัน หรือวางรวมกัน ก็อาจจะ ดูดีกว่าของที่แพงกว่าได้โดยไม่ยากนัก ดังนั้น บ้านที่เสียค่าใช้จ่ายในการตกแต่ง มากกว่าก็ไม่จำเป็นต้องดูดีกว่าหรือน่าอยู่กว่าบ้านที่ เสียค่าใช้จ่ายในการตกแต่ง น้อยกว่า เสมอไป

 

 

 
   
 

 

 

ดูแลอย่างด


                    บ้านไม่ว่าจะมีการตกแต่งที่แพงแสนแพงแค่ไหน จะน่าอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมีการดูแล และบำรุงรักษาอย่างดีเท่านั้น การดูแลบ้านให้อยู่ในสภาพดี เป็นหัวใจหลัก สำคัญที่จะทำให้บ้านน่าอยู่หากปราศจากการดูแลอย่างดีแล้วบ้านก็คงไม่ต่างอะไร ไปจากห้องเก็บของเท่านั้น โดยทั่วไป การดูแลอย่างดี นั้นจำเป็นต้อง คำนึงถึงพื้นฐานของความน่าอยู่ 5 ประการดังต่อไปนี้

                    1. สะอาดและเป็นระเบียบ บ้านที่น่าอยู่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูสะอาดและเป็น ระเบียบอยู่เสมอ บ้านที่รกรุงรัง คงเป็นบ้านที่น่าอยู่ไปไม่ได้ นอกจากนี้ วัสดุและ อุปกรณ์ต่างๆ เช่น หัวก็อก อ่างล้างจาน โถสุขภัณฑ์ ผ้าม่านและผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ควรมีการซักล้าง ปัดกวาด เช็ดถู หรือขัดลงเงาให้ดูใหม่เอี่ยมอยู่เสมอ ซึ่งการดูแลรักษาของเหล่านี้ทำได้ไม่ยาก โดยเราจะแนะนำใน โอกาสต่อไป

                    2. สดชื่น หากบ้านของใครที่ตั้งอยู่ในทำเลที่ดี มีลมพัดผ่านและถ่ายเทตลอดทั้งวัน รวมทั้งตั้งอยู่ในสวนที่ร่มรื่น และมีกลิ่นหอมของดอกไม้ในธรรมชาติอบอวล ตลอดทั้งวันคงเป็นบ้านที่น่าอยู่ อย่างยิ่ง คนเราทุกคนย่อมใฝ่ฝันที่จะมีบ้านที่ดี แบบนี้อยู่เกือบทุกคน แต่หากไม่สามารถทำได้ การใช้ เครื่องหอมอ่อนๆ เช่น บุหงา หรือธูปหอม จะช่วยได้มากเลยทีเดียว


                    3. เย็นสบาย ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้บ้านน่าอยู่ และแขกที่มาเยี่ยมเยือนติดใจ คือบรรยากาศที่เย็นสบาย อาจจะเป็นเพราะลมธรรมชาติ หรือเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมก็ได้

 

 
   
 

     

     

                    4. สงบเงียบ ไม่อึกทึก กล่าวคือ บ้านที่ดีควรมีระดับเสียงที่เหมาะสม ไม่มีเสียงก้อง สะท้อน ทำให้อึกทึก หรือหนวกหูตลอดเวลา โดยปกติแล้ว เสียงที่อยู่ในบ้าน จะมีการสะท้อนไปมาอยู่เสมอ ทำให้เกิดความ อึกทึก แต่ถ้าหากมีการจัด เฟอร์นิเจอร์เข้ามา หรือมีของประดับตกแต่งจะทำให้เกิดการดูดเสียง และลด การสะท้อนของเสียงลง ทำให้บ้านไม่อึกทึกจนมากเกินไป ระดับเสียงที่พอดี คือระดับเสียงที่เมื่อมีการเปิดโทรทัศน์หรือวิทยุเบาๆ แล้วยังสามารถคุยกันรู้เรื่อง โดยไม่ต้องตะเบ็งหรือตระโกน หากไม่ใช่ เช่นนั้น อาจหมายถึงว่าบ้านของคุณ มีระดับเสียงที่ดังเกินไป คุณอาจจะต้องหาพรมสวยๆ มาปูพื้นหรือ ผ้าม่านที่หนา และหนักมาติดเพื่อช่วยดูดซับเสียง ก็ได้ตลอดจนอาจใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติ ในการดูดซับเสียงที่ดี เช่น ฟองน้ำ หรือฝ้าเพดานชนิดเก็บเสีย รวมทั้งไม้บางชนิดมาช่วยก็ได้ บ้านที่เงียบเกินไป คือบ้านที่มีการดูดเสียง มากเกินไป เช่นในห้อง เก็บเสียง หรือโรงภาพยนต์ มักจะมีการดูดซับเสียง อย่างมากเพื่อป้องกันเสียงสะท้อนในกรณีที่เปิดเสียงดังมากๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้ กับบ้านจะทำให้บ้านเงียบเกินไป จนน่าอึดอัด ดังนั้น จึงอาจจะต้องใช้ วัสดุที่มีการสะท้อนเสียงได้ดีมาช่วย เช่น โลหะ หรือผนังก่ออิฐฉาบปูนเรียบ หรือวัสดุที่มีความเรียบ และมันทั้งหลาย เป็นต้น หรือถ้าจะให้ดี ก็ควรจะเอา วัสดุดูดซับเสียงที่มีอยู่ ออกไปเสียบ้าง ก็จะช่วยได้มากเลยทีเดียว

 

                    5. อบอุ่นเป็นกันเอง บ้านที่น่าอยู่นั้น ไม่ใช่บ้านที่หรูหรา อลังการ แต่ขาดความ อบอุ่น บ้านที่อบอุ่น หมายถึงบ้านที่ยินดีต้อนรับเสมอ แขกที่มีเยี่ยมก็ ย่อมต้องประทับใจ การทำให้บ้านอบอุ่นนั้นต้องเริ่ม ตั้งแต่เดินผ่านประตู บ้านมาเลยทีเดียว เช่นทางเข้าบ้านต้องเข้าออกสะดวก และมีที่บังแดดและฝน พอสมควร หรือมีการจัดวางน้ำตกหรือน้ำพุเล็กๆ ระหว่างทางเดินเข้าบ้าน เพื่อเพิ่มความสดชื่น รวมทั้ง เมื่อเข้ามาในบ้านแล้วจะต้องมีที่นั่งหรือเก้าอี้ที่นั่ง สบาย แต่ไม่ต้องถึงกับหรูหรา อาจจะเป็นที่นั่งที่สร้างความประทับใจให้กับทั้งตัวแขกและตัวคุณเอง

 

 

 
   
 

 

 

มีชีวิตชีวา


                    ปัจจัยที่สำคัญประการสุดท้าย ที่ทำให้บ้านน่าอยู่ คือการทำให้บ้านมีชีวิตชีวา การทำให้บ้านมีชีวิตชีวานั้นทำได้หลายวิธี และแตกต่างออกไปแต่ละบุคคล ทั้งนี้ สามารถรวบรวมมาได้ดังต่อไปนี้

 

                    1. มีของประดับตกแต่ง บ้านที่ดีควรจะมีของประดับ ตกแต่งที่แสดงให้เห็น ถึงตัวคุณเองหรือ ความชอบส่วนบุคคล และมีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบของ ที่ดูเด่นและสวยงาม ก็ควรจัดให้ดูเด่น ในขณะที่ของกระจุกกระจิก ก็ควรจะจัดวางให้อยู่ในระดับสายตา และสามารถพิจารณาดูได้อย่างใกล้ชิด เป็นต้น ของประดับตกแต่งเหล่านี้ นอกจากจะสะท้อนถึงตัวคุณแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงรสนิยมของคุณอีกด้วย

 

                    2. มีการประดับประดาตามเทศกาล มีบ้านมากมายที่มีการตกแต่งอย่างดี แต่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย ตั้งแต่มีการตกแต่งเสร็จ ผลที่ได้คือความน่าเบื่อหน่าย การผลัดเปลี่ยนและหมุนเวียนของประดับตกแต่งจะทำให้เกิดบรรยากาศ ที่แตกต่างออกไป ในแต่ละเทศกาลแล้วยังช่วยให้บ้านมีชีวิตชีวา และน่าอยู่ ไม่น่าเบื่อหน่ายรวมทั้งยังทำให้เราสนุก กับการซื้อของประดับต่างๆ เข้าเก็บไว้ใช้ในงานต่างๆ อีกด้วย

 

 

 
   
 

 

 

                    3. ให้ทุกคนมีส่วนร่วม และผูกพัน นอกจากการจัด ของประดับตกแต่ง และผลัดเปลี่ยนไปตามเทศกาล แล้วการที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในบ้าน และการจัดของประดับ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ทุกคนผูกพันกับบ้าน และทำให้บ้านน่าอยู่ขึ้น รวมทั้งการเปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนได้ตกแต่งในความรู้สึกของตนเอง ยังทำให้เกิดรูปแบบที่ สร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่คุณอาจจะคิดไม่ถึงมาก่อนก็ได้

 

                    4. มีความอบอุ่นของครอบครัว ข้อสุดท้ายและจำเป็นที่สุดของการมีชีวิตชีวา คือความอบอุ่นของคนในครอบครัว บ่อยครั้งที่เรามักจะดูภาพยนต์ แล้วพบว่า ครอบครัวที่อบอุ่นมักจะมีบ้านที่อบอุ่นไปด้วย นั่นไม่ใช่เป็นเพราะ ฉากในภาพยนต์เพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริง ครอบครัวที่อบอุ่น มักจะช่วยกันสร้างบ้านที่น่าอยู่ด้วยเช่นกัน ในขณะที่บางครอบครัวมีบ้านที่ใหญ่โต สวยงาม แต่ขาด ความอบอุ่นของครอบครัว ซึ่งก็จะส่งผลต่อบ้านที่อาจดูเวิ้งว้าง เย็นชาและในเมื่อสมาชิกในครอบครัวยังมีความรู้สึกเช่นนั้นกับบ้าน แล้วแขกผู้มาเยือนจะมี ความรู้สึกที่อบอุ่นและน่าอยู่ได้อย่างไร

 

 

 
     
     
     
  -- X 10--        
           

 

 

 

 
Home | About Bareo | News & Events | Art of Design | Decor Guide | The Gallery | Living Young | Talk to Editor | Links
 
บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 Tel. 66 2881 8536-7   Fax. 66 2881 8538