editor talk


 
 
           
 

 

         มีคนเปรียบงานสไตล์  Classic Chic ของงาน interior ไว้ว่า เปรียบได้ดังกับ Little black dress หรือที่เรียกย่อๆ ว่า LBD ซึ่งเป็นที่เป็นหนึ่งความคลาสสิกตลอดกาล ของวงการแฟชั่น ชุดเดรสสีดำ นั่นเอง ในวงการแฟชั่น Little black dress นั้น ถือว่าเป็น Classic item ที่สาวๆทั่วโลกทุกยุคทุกสมัยจะเลือกมาสวมใส่ เพราะ Little black dress  ถือเป็นเสื้อผ้ามหัศจรรย์ ที่สามารถทำให้สาวๆทุกคนดูดีได้ในทันทีเมื่อสวมใส่ค่ะ  


         ‘Little Black Dress’
เกิดจากการสร้างสรรค์ของมาดมัวแซล ชาเนล เมื่อเดือนพฤศจิกายน 1926 ที่ ชาเนลได้ออกแบบชุดที่สวมใส่สบายปราศจากพันธนาการ และสามารถสวมใส่ได้ในทุกโอกาสไม่จำเป็นต้องตามแฟชั่นด้วยสีสันหลากหลาย ทำให้สีดำ จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด และยังสามารถสวมได้ในทุกโอกาสเช่นกัน จากแนวคิดทั้งหมด จึงเป็นการตัดความซับซ้อนทั้งหมดออกไป หวนสู่ความเรียบง่าย ถือเป็นมินิมัลลิสต์ในยุคนั้นก็ว่าได้ คู่ควรกับประโยคที่ว่า ‘Less is more’



          และเมื่อชาเนลนำเสนอ LBD ออกมา ประกอบกับช่วงนั้นเป็นช่วงที่ดนตรีเต้นรำแบบสวิง จากปารีสกำลังฮิตไปทั่วโลก เดรสสั้น เหมาะอย่างยิ่งต่อการเคลื่อนไหว ในจังหวะดนตรีสวิงที่ต้องรัวฝีเท้า ทำให้เกิดกระแสคลั่งไคล้ LBD ในเวลาอันรวดเร็วเสียยิ่งกว่าไฟลามทุ่ง
และที่สำคัญ LBD เป็นแบบเสื้อที่ง่ายต่อการเติมแต่งเครื่องประดับ ที่แม้ไม่ต้องมากชิ้นก็ดูดีได้ อาจสวมเครื่องประดับเงิน ก็จะให้ภาพออกมาได้ต่างจากการสวมคู่สร้อยมุก  LBD ได้กลายเป็นความคลาสสิกที่คงอยู่กับวงการแฟชั่น ทั้งจากชนชั้นสูง ไปจนถึงคนเดินถนนทั่วไป

 

 
   
 

 

         เช่นเดียวกันกับ New Classic หรือ Classic Chic นั่นเอง จากเดิม งาน Classic ของงาน สถาปัตยกรรม และงานตกแต่งภายใน เปรียบได้กับ การก่อสร้างที่ดีเลิศ การทำงานที่เน้นการคัดสรรพิเศษเหนือมาตราฐานทั่วไป คือ ความสมบูรณ์แบบ การจำแนกของงาน classic ในช่วงแรกเกิดจาก ความต้องการที่จะไม่เหมือนกับของที่มีอยู่  และต้องไม่เหมือนกับความนิยมทั่วๆ ไป มีความหรูหรา ฟูฟ่า แต่  new classic  หรือ neoclassic นั้นยอมรับในความเหมือนนั้นได้ แต่ต้องอยู่บนบรรทัดฐานของงานที่ทรงคุณค่า และต้องสงวนไว้ของชิ้นงาน เช่น งานออกแบบเก้าอี้ ก็ต้องเป็นเก้าอี้ที่พิถีพิถัน ออกมากว่าจะเป็นเก้าอี้ได้ มีการนำเอาประวัติศาสตร์ เข้ามาเป็นส่วนประกอบไปด้วย
แต่ทั้งนี้ เก้าอี้ก็จะต้องทรงความสวยงาม มีฟังก์ชั่น การใช้งานที่ครบครัน ความกลืนไปกับสัดส่วนที่ลงตัว รวมไปถึงว่า ต้องผสมผสานความทันสมัยสอดใส่เข้าไปด้วย

 

         ทำให้แนวโน้มของงาน classic ที่เดิมเป็นงานของเฉพาะกลุ่ม งานที่มีรายละเอียดที่ประดิษฐ์ประดอยอย่างมากมายและ หรูหรา จนบางครั้งดูเหมือนเกินกว่าฐานะของคนทั่วไปและ นอกจากนี้ รายละเอียดเหล่านี้ยังเป็นที่เก็บฝุ่นอย่างดี จำเป็นต้อง อาศัยคนดูแลจำนวนมากและเปลืองค่าใช้จ่ายมากด้วยเช่นกัน และเมื่อเวลาผ่านไป ความต้องการดำรงอยู่ของงาน classic การยอมรับได้ในการลดทอนรายละเอียดและความฟุ่มเฟือย จึงทำให้มีการนำงาน classic มาดัดแปลงให้ทันสมัยขึ้น ปรับทอนวัสดุบางอย่างลง รวมถึงการปรับลดขนาดลงเพื่อตอบสนองกับ life style และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ก้าวหน้าขึ้น หรือก็คือ New Classic หรือ Classic Chic นั่นเอง

 

 


 
   
 

 

                  งานสถาปัตยกรรม และงานตกแต่งภายในเป็นงานที่ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยแรงบันดาลใจของเหล่าสถาปนิกและมัณฑนากรทั้งสิ้น ที่จะรังสรรค์งานออกมาให้สวยงาม และเป็นที่ตราตรึงของผู้ที่พบเห็น โดยแรงบันดาลใจอาจมาจากหลายๆ อย่าง ทั้งจากสภาวะสิ่งแวดล้อม ยุคสมัย รวมไปถึง วัฒนธรรม ความเชื่อ และความศรัทธา Classic โดยที่มีรากฐานมาจาก กลิ่นอายของกรีก-โรมัน ที่สามารถเชื่อมโยงงานศิลปกรรมของกรีก กับงานก่อสร้างที่ดูหนักแน่นแบบโรมันได้งานกลมกลืน

 

                  การตกแต่งภายในของบ้านก็ต้องเป็นไปตามความต้องการของผู้อยู่อาศัย คือ ต้องการพื้นที่สำหรับนอน ต้องการพื้นที่สำหรับจัดเตรียมอาหาร รับประทานอาหาร พื้นที่ที่ใช้ทำงาน ส่วนต่างๆ นี้จะต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดว่ามีแสงสว่างที่พอเหมาะ และเป็นสัดส่วนจากสิ่งรบกวนภายนอก รวมไปถึงสภาวะ อากาศ ภายนอก Life Style ของผู้อยู่อาศัย รวมไปถึงยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

 

                  ในงานตกแต่งภายใน สไตล์ New Classic นั้นมีความหลากหลายในตัวเอง จึงยิ่งทำให้งาน new Classic มีเสน่ห์มากยิ่งขึ้น

 

 
   
 

มุมเรียบๆ ที่แต่งด้วยเก้าอี้สไตล์  American ของ Pual McCobb
เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้บีชและไม้เมเปิล แบบเรียบง่าย ที่แพร่หลายในช่วงปี 1950s

ชมงานเฟอร์นิเจอร์ของ Pual McCobb ได้ที่
http://www.thegoodmod.com/furniture/furniture.html
http://www.architonic.com/mus/8101346/1

 

 


 
   
 

งานของ Paris ที่เน้นความเป็น mirror โดยการใช้โถของชาวสวีเดนใน ศตวรรษที่ 18 วางขนาบคู่กับเตาผิง
หรือ รูปภาพที่เลือกเล่นกับบกับเป็น mirror ของรูป รวมไปถึง arm chair ที่เน้นการวางแบบ mirror เป็นคู่ๆ ไป
นอกจากนี้มีการตกแต่งด้วย sculpture และแชงกาเรียที่ทำให้ห้อง living ขนาดสี่เหลี่ยมจตุรัส มีความเป็น neo classic มากขึ้นค่ะ  

 



 
  ขอบคุณ หนังสือ classic chic : Suzanne Trocme ; PRGEONE  
 

 

-- na-cha --

       
           
           
           


บริษัท บาริโอ จำกัด

50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700   Tel. 66 2881 8536-7   Fax. 66 2881 8538