bareo-isyss
 
interior design ออกแบบ ตกแต่งภายใน
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




โดย Crouching Tiger

      หน้าตาอาคาร ( facade)

อันนี้ถือว่าเป็นหัวข้อแรกสุดของบรรดาเจ้าของอาคารประเภทตึกแถวทั้งหลาย ที่อยากให้อาคารของตนสวยเด่นเป็นที่เชิดหน้าชูตา ซึ่งการออกแบบหน้าตาของอาคารประเภทนี้นั้น ทำได้ไม่ยาก แต่ไม่ค่อยเห็นที่บ้านเรานั้น คงเป็นเพราะปัจจัยหลายๆ อย่าง ผมเลยขอนำเอาตัวอย่างภาพของหน้าตาอาคารประเภท Town House และ Shop House ที่สวยๆ มาฝากท่านผู้อ่านทุกท่านนะครับ

ภาพที่ 1 Hilpert House, New York 1998 By Ogawa / Depardon

อาคารหลังนี้ เป็นอาคารทาวน์เฮาส์ที่ได้รับการ Renovate เสียใหม่ จนมีรูปโฉมไฉไล ขัดแย้งกับอาคารเก่าที่อยู่ข้างๆ อย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีอะไรวิจิตรพิสดารมากมาย เพียงแต่เจาะช่องเปิดสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เต็มทั้งอาคาร จากพื้นจรดเพดาน สลับกับอวดโครงสร้างเหล็กสีเทา ซึ่งงานนี้ ทางสถาปนิกได้เครดิตไปเต็มๆ เพราะสามารถเนรมิตอาคารเก่า น่าเบื่อ ให้กลายเป็นบ้านแบบทันสมัยได้อย่างลงตัว

นอกจากนี้ กิจกรรมต่างๆ ที่มีอยู่ภายในบ้าน ยังเป็นการสร้างความน่าสนใจให้กับคนที่เดินผ่านไปมาแถวนั้นได้อีกด้วยนะครับ (อาจจะไม่เหมาะกับพวกที่ต้องการความเป็นส่วนตัว)

 

ภาพที่ 2 City Town House, New York 1997 By Tod Williams & Billie Tsien

นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงความขัดแย้งระหว่างอาคารใหม่กับอาคารเก่า ซึ่งมีการใช้กระจกและโครงเหล็กซึ่งเป็นวัตถุดิบยอดนิยมของชาวโมเดอนิสต์ ซึ่งให้ความรู้สึกที่ขัดแย้งกับอาคารก่ออิฐ และปูนปั้นได้เป็นอย่างดี

การนำเอาผนังปูนเปลือยมาบังด้านหน้าอาคาร ก็เป็นลูกเล่นแบบ Graphic อีกอย่างที่สถาปนิกตั้งใจนำเสนอ โดยมีประโยชน์ใช้สอยในการเพิ่มผนังทึบภายในเพื่อความเป็นส่วนตัวอีก รวมทั้งยังบันดาลให้อาคารหลังนี้ดูมีเสน่ห์, แปลกแยกแตกต่างและน่าสนใจขึ้นอย่างประหลาด

 

ภาพที่ 3 Ruskin Place Houses, Seaside 1990-1993 By Walter Chatham

เจ้าทาวน์เฮาส์ชุดนี้ มีด้วยกันสองหลัง หน้าตาไม่เหมือนกัน แต่เป็นอาคารแฝดติดกัน สร้างพร้อมๆ กัน แต่ที่ผมนำมาใ้ห้ชมจะมีเพียงหลังเดียว เพราะหน้าตาประหลาดดี มีหลังคาโค้ง ตามสมัยนิยมในยุคนั้น (คงยังจำกันได้กับบ้านหลังคาโค้ง ที่ฮิตกันอยู่พักหนึ่ง) ซึ่งบ้านหลังนี้ เป็นของสถาปนิกผู้ออกแบบอีกด้วย (ส่วนอีกหลังหนึ่งเป็นของเพื่อนบ้าน)

 

ภาพที่ 4 Stairway to Heaven, Seaside 1994 By Alexander Gorlin

หลังนี้ ก็เป็นตัวอย่างของทาวน์เฮาส์ริมชาดหาดอีกเหมือนกันครับ แต่เป็นอาคารเก่าที่ทำการปรับปรุงใหม่ ในสไตล์ Modern และมีการแยกเอาส่วนบันไดมาไว้ภายนอกอาคาร ขึ้นตรงไปยังห้องรับแขกได้เลย ส่วนด้านบนดาดฟ้า ก็มีการนำเอาบันไดเวียนมาปักไว้เพื่อให้ขึ้นไปดูดาวได้ และกลายเป็นจุดเด่นของอาคารนี้ไป

อันที่จริง เนื่องจากอาคารหลังนี้ เป็นอาคารเก่า่และตั้งอยู่ริมหาด จึงมีกฎหมายบังคับค่อนข้างเยอะ ตั้งแต่การจำกัดความสูง การบังคับให้มีระเบียง และอื่นๆ อีกเบ็ดเตล็ด แต่สถาปนิกก็สามารถสรรหาวิธีที่จะนำเสนอรูปแบบใหม่ของอาคารขึ้นมาได้สำเร็จ ดูเรียบง่า่ย แต่มีพลัง และกลายเป็นที่กล่าวถึงอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

 

ภาพที่ 5 Kettner Row Town Houses, San Diego 1998 By Jonathan Segal

อาคารทาวน์เฮาส์ชุดนี้ มีทั้งหมด 16 หลัง สร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการด้านที่อยู่อาศัยที่หลากหลายในย่านนี้ ดังนั้น อาคารจึงถูกออกแบบให้รองรับ Lifestyle ได้ถึง 4 แบบ ตั้งแต่ ทาวน์เฮาส์เดี่ยว, ทาวน์เฮาส์ที่ปรับเปลี่ยนการใช้สอยได้, Apartment ที่อยู่บนที่จอดรถ และห้องชุดพักอาศัยแบบสามชั้น

ดังนั้น หน้าตาอาคารจึงแตกต่างกันออกไปตามประโยชน์ใช้สอย ซึ่งทำให้เกิดจังหวะ และสีสันให้กับชุมชนในย่านนี้ แถมสถาปนิกได้ใส่ความรู้สึกแบบบ้านชายหาดยุค 70 แถบไมอามีปนลงไปได้อย่างกลมกลืน

 

ภาพที่ 6 Vermont Village Plaza, Los Angeles 1998 By Dan Solomon

อาคารทาวน์เฮาส์แบบ Art Deco สีครีมนี้ คงจะทำให้คุณรู้สึกย้อนกลับไปสมัยเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเสน่ห์ของสไตล์นี้ ได้ทำให้โครงการชนะการประกวดของ First Interstate Bank ที่ต้องการที่จะพัฒนาที่ดินที่ถูกทิ้งร้างแห่งนี้ขึ้นมาใหม่

โดยโครงการนี้ จะประกอบไปด้วยบ้านเดี่ยว 36 หลังและทาวน์เฮาส์ โดยทาวน์เฮาส์แต่ละหลังจะมีทางเข้า, สวนหรือระเบียงขนาดใหญ่ ตลอดจนที่จอดรถเป็นของตนเอง หรือใช้ร่วมกับบ้า่นข้างเคียงได้

และึถึงแม้ว่าภายนอกอาคารจะมีหน้าตาเหมือนกัน แต่ภายในกลับมีการจัดแบ่งพื้นที่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างหลากหลายและน่าสนใจมาก

 

ภาพที่ 7 Haight Street Town House, San Francisco 1994
By Tanner Leddy Maytum Stacy

อาคารชุดนี้เป็นอาคารที่สร้างขึ้นจากอู่ซ่อมรถที่ถูกทิ้งร้าง ท่ามกลางทาวน์เฮาส์เก่าในสไตล์ Victorian โดยมีการนำเอาโครงสร้างเหล็กมาตกแต่งภายนอกให้ดูโดดเด่นสะดุดตา มีการนำเส้นแนวทแยงมาใช้ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ บริเวณด้านหน้าอาคารชั้นล่าง ยังมีการ Paint ผนังให้เป็น Sidewalk Art สีสันสดใส ช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้แก่ผู้ที่เดินผ่านไปมาอีกด้วย

เป็นอย่างไรบ้างครับ สำหรับรูปร่างหน้าตาของทาวน์เฮาส์ในแต่ละแบบ ที่ได้บรรจงคัดมานำเสนอ ซึ่งผมคาดหวังว่าน่าจะเป็นจุดประกายความคิดเล็กๆ เพื่อให้บรรดาท่านๆ ได้บันเทิงใจ หรือนำไปประยุกต์ใช้ได้บ้างนะครับ

สำหรับตัวผมแล้ว อยากจะได้เห็นและได้ยินข่าวคราวของทาวน์เฮาส์หน้าตาสวยสดใสในบ้านเมืองของเราบ้าง และหากท่านผู้อ่านท่านใดมีความประสงค์ที่จะสอบถามหรือขอข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อได้ที่ Forum หรือ บ.ก.นะครับ editor@bareo-isyss.com

ตอนต่อไป จะเป็น Space ภายในทาวน์เฮาส์แบบต่างๆ ที่จะมากระตุ้นต่อมกิเลสของคุณให้เกิดความอยากปรับปรุงทาวน์เฮาส์ของคุณเสียใหม่..พบกันใหม่ เดือนหน้าครับ..

เนื้อหา : มาจากหนังสือ The new American townhouse
แต่งโดย.... ALEXANDER GORLIN foreword by PAUL GOLDBERGER

 

(โปรดติดตาม ตอนต่อไปในฉบันหน้า)

 
 
 
Brochure
Services
New Project
Back Issue
 

 

Home | About Bareo | News & Events | Art of Design | Decor Guide | The Gallery | Living Young | Talk to Editor | Links

บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 Tel. 66 2881 8536-7 Fax. 66 2881 8538

house servic, decoration design home architect architecture interior design designer homeplan residential furniture family decorat building build planning cost news information structure arch drawing apartment idea bangkok develop foreman เฟอร์นิเจอร์ การซ่อมแซมบ้าน วัสดุแต่งบ้าน ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องอาหาร ออกแบบ ตกแต่งภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ บ้านสวย มัณฑนากร สถาปัตย์ ตกแต่ง บารีโอ บริการ ปรึกษา รับสั่งผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามแบบ รับเหมาตกแต่ภายใน วรวุฒิ ธรรมกุลางกูร มยุรี ธรรมกุลางกูร