Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ตกแต่งภายใน Interior design Thailand

home head
head1

 

LEED – The Leader of Eco-Building
อาคารอนุรักษ์โลก

ตึกระฟ้าในเมืองใหญ่ที่เพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกหนึ่งต้นเหตุสำคัญในการใช้พลังงานเพียงมองจากนอกตัวอาคารก็ไม่สามารถคาดเดาได้ถึงพลังงานไฟฟ้ามหาศาลที่ต้องใช้เพื่อให้แสงสว่างและความเย็นภายในตัวอาคาร แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ก็ไม่เกินภูมิปัญญาของมนุษย์เราที่จะออกแบบตัวอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาดูกันว่าเขามีมาตรการอย่างไร ในการอนุมัติให้อาคารต่างๆเป็นอาคารอนุรักษ์โลกและกรุงเทพเมืองหลวงของเรามีอาคารแบบนี้หรือไม่ ไปดูกัน

 

LEED(Leadership in Energy and Environmental Design) คือระบบวัดให้คะแนนการดีไซน์การก่อสร้างและระบบจัดการภายในอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงบ้านพักอาศัย อยู่ภายใต้การดูแลของ USGBC (U.S Green Building) เป็นผู้ออกข้อกำหนดต่างๆ ถ้าผ่านเกณฑ์ก็จะได้รับประกาศนียบัตร LEED การันตีว่าอาคารหรือบ้านพักอาศัยหลังนั้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

 

6 เกณฑ์สำคัญที่เป็นเครื่องชี้วัดคืออุปกรณ์ในการก่อสร้างคุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในตัวอาคาร ขั้นตอนการดีไซน์และนวัตกรรมสถานที่ๆเอื้อต่อการพัฒนาอันยั่งยืนการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้พลังงานรวมถึงบรรยากาศแวดล้อม มาดูกันว่าอาคารที่ใดบ้างในโลกที่ได้รับการการันตีโดย LEED มาแล้ว

 

ที่แรกนำร่องโดยอาคารคณะวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยโอลด์ โดมิเนียน (Old Dominion University) ในรัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา สร้างด้วยงบประมาณ 19.6 ล้านดอลล่าร์ ตัวอาคารมีเนื้อที่ 84,000 ตารางฟุต มี 4 ชั้น ออกแบบโดยทีมสถาปนิกของบริษัท Morseley

 

รูปแบบตัวอาคารด้านหน้าทางเข้าจะเห็นเป็นหน้าต่างบานใหญ่เรียกว่า “E-Glass” ในแต่ละชั้นดูเป็นสีดำเมื่อมองจากภายนอกแต่จะดูสว่างเมื่อมองออกไป สามารถกรองรังสียูวีได้ ภายในใช้เป็นห้องเรียนและอาคารสำนักงานส่วนสุดยอดเทคโนโลยีของอาคารนี้คือภายในพื้นที่ใช้สอยที่เป็นรูปตัว L มีวิดิโอวอลล์ต้อนรับผู้ที่มาเยือนอาคารด้วยการแสดงวิดิทัศน์ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นภายในห้องแล็บของตัวอาคาร

 

 

1 2

 

 

หากพิจารณาตามมาตรฐานการให้คะแนน อาคารหลังนี้ผ่านเกณฑ์ตามนี้คือ

- พื้นที่ๆเอื้อต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable site) คือ ไม่มีที่สำหรับจอดรถ น้ำฝนถูกกักเก็บผ่านตัวกรองที่ติดตั้ง
บนหลังคา

- ประสิทธิภาพการจัดการน้ำ (water efficiency) คือ มีการปลูกต้นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งในท้องถิ่นลดการใช้น้ำ
เพื่อการดูแลภูมิทัศน์ของอาคาร

- การใช้พลังงานและบรรยากาศแวดล้อม คือ มีหน้าต่างที่ช่วยเพิ่มแสงสว่างในเวลากลางวันได้และระบบอื่นๆที่ช่วยลด
ความต้องการในการใช้พลังงานได้ 20%

- วัสดุก่อสร้างที่รีไซเคิลได้ อาคารหลังนี้สร้างจากวัสดุก่อสร้างเก่าๆถึง 50%

- คุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร มีระบบการจัดการคุณภาพอากาศและเป็นเขตปลอดบุหรี่

ส่วนตัวอาคารรักษ์โลกในที่อื่นๆเช่น.ในสหรัฐอเมริกาที่เต็มไปด้วยตึกระฟ้า

 

 

3

4

 

Bank of America Tower - นิวยอร์ค
อาคารธนาคารของสหรัฐอเมริกาหลังนี้ไม่ได้สร้างด้วยเม็ด เงินที่ฟุ่มเฟือย แต่สร้างจากวัสดุรีไซเคิล

 

Robert Redford Building: NRDC SoCal Headquarters แซนต้า โมนิก้า, รัฐแคลิฟอร์เนีย
อาคารของกระทรวงกลาโหมในด้านทรัพยากรธรรมชาติ ชื่ออาคารตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ โรเบิร์ต เรดฟอร์ด (Robert Redford) ผู้ให้การสนับสนุนองค์กรกว่าสอง ทศวรรษ

 

5

6

 

Clinton Presidential Library
เมืองลิตเติ้ล ร็อค, รัฐอาร์คันซอ
อาคารหลังนี้สร้างขึ้นในสมัยประธานาธิบดีคลินตัน (Clinton) เปิดทำการในปี 2004 โดดเด่นด้วยส่วนบน หลังคา (rooftop garden) ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอน

 

 

 

Queens Botanical Garden Visitor and Administration Center Flushing, นิวยอร์ค
อาคารนี้อยู่ทางตะวันออกของแมนฮัตตัน มีพื้นที่กว่า 39 เอเคอร์

 

 

 

7

 

ส่วนทางแถบเอเชียบ้านเรานั้น อาคาร Taipei 101 ประเทศไต้หวัน ผ่านมาตรฐาน LEED ตั้งแต่ปี 2011 นับว่าเป็นอาคาร รักษ์โลกที่สูงที่สุดและใหญ่ที่สุดในโลก

 

 

นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่การก่อสร้างอาคารรักษ์โลกนี้ได้รับความสนใจในประเทศต่างๆจนมีการนำไปใช้ปรับกฎเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนดโดยรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ดังนั้นแต่ละประเทศมีขั้นตอนการตรวจประเมินที่ต่างกันไปของประเทศไทยเรียกว่า TREES Rating System ผู้รับผิดชอบการประเมินผ่านคือสถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI – Thai Green Building Institute) โปรเจคที่ผ่านการประเมิณมาถึงตอนนี้มีทั้งหมด 15 แห่ง เช่น อาคารปาร์ค เวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์ (Park Ventures Ecoplex) บนถนนวิทยุ เป็นต้น

 

8

Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน Interior design Thailand