bareo-isyss
 
interior design ออกแบบ ตกแต่งภายใน
 


 

 



จากปก
issue 3 ที่ผ่านมา มีเสียงถามไถ่กันเข้ามามากว่า ..คือที่ไหน ..ประเทศไทยรึเปล่า ..ใครเป็นคนออกแบบ วันนี้เราจึงพาไปรู้จัก เบญจมาส วินิจจะกูล หรือ พี่เบน สาวเก่งบวกเท่ ผู้เป็นเจ้าของผลงานการออกแบบสำนักงานกฎหมายสากลธีรคุปต์ งานออกแบบชิ้นนี้เป็นงานออกแบบทิ้งทวนที่ประเทศไทยก่อนบินลัดฟ้าไปฮ่องกง ปัจจุบันเธอทำงานที่ Leo A Daly Pacific Ltd. บริษัทออกแบบชั้นนำของฮ่องกง

Concept การออกแบบสำนักงานกฏหมายสากลธีรคุปต์

อยากให้งานออกแบบ “speak up” ความหมายแต่ละเรื่องราวออกมา เรียกว่าพูดจาภาษา graphic 3 มิติ ทำไมต้องพูด พูดเรื่องอะไรบ้าง และใช้วิธีการยังไง มันก็มีที่มาเรื่องราวดังนี้.....

เริ่มจาก
“ ออกแบบสำนักงานกฏหมาย ” ใจเราจะนึกถึง design แบบยุโรปโบราณ , คิ้วบัวและสีไม้โอ้ค ประมาณว่าเข้าไปแล้วจะยืนนิ่งขรึม, พูดจาได้เบาๆ เต็มไปด้วยความรู้สึกน่าเชื่อถือ คร่ำเคร่ง จริงจัง very formal แต่เอ... วันแรกลูกค้าก็นัดเจอเราที่ร้านกาแฟ in trend เขาดูเป็นกลุ่มคนหนุ่มพลังงานสูง กระตือรือร้น ประโยคเด็ดที่เราจับความมาคือ “ อยากให้ office ดูสบายๆ เหมือนนั่งคุยการงานอยู่ในร้านกาแฟ ” input ที่ 1 ประทับอยู่ในใจ

ต่อมา..
สำนักงานกฏหมายธีรคุปต์ เป็น office เปิดใหม่จากการรวมกลุ่ม youngturk (เรารู้สึกว่าพวกเขาเป็นอย่างนั้น) กำลังไฟแรง ตื่นเต้นที่จะทำงานด้วยวิธีการของตัวเอง ทุกอย่างจะถูกสร้างขึ้นใหม่ ประเด็นเชื่อมโยงถัดมาที่เราจะตีความมี 2 ส่วน อย่างแรก เราอยากจะบอกกับคนภายนอกว่าธีรคุปต์คือใคร.. บุคลิกอย่างไร.. เรียกมันว่า cooperate identity อย่างที่สองคือ เขาทำงานกันอย่างไร อยู่กันอย่างไรในสำนักงานวันละ 8-10 ชม. ไม่ใช่แค่ basic function แต่น่าจะหมายความไปถึง “ วัฒนธรรมองค์กร ” ที่เขาอยากจะให้เป็น

สิ่งที่ห้ามลืม
“ ฮวงจุ้ย ” input ถัดมาที่ลูกค้าขอให้เราคำนึงถึง

Zoning..
พี่เบนแยก zoning ออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ Public zone คือส่วนของ lobby , ห้องประชุม กับส่วน working area zone คือพื้นที่ทำงานของ staff เชื่อมกันโดยใช้ transition space ของ function ที่เป็น semi-public คือห้องสมุด ห้องน้ำ และ pantry นั่งเล่น ให้ไหลเอื่อยๆซักหน่อยมาตาม corridor ยาวๆ

แต่ละ zone ตั้งใจว่ามันต้อง “speak up” ประเด็นหลักคือ corporate identity กับ วัฒนธรรมองค์กรตามลำดับ

บรรยากาศ..
สัมผัสแรกที่คนมองผ่านกระจกใสแจ๋วไร้ frame บานใหญ่หน้าทางเข้า คือห้องประชุมรูปลูกบาศก์สีไม้โอ้คเข้มขนาด 4x6 ม. วางบิดแกนอยู่กลางห้องสีขาวกับผนังกระจกผิวมัน พี่ต้องการสร้าง contrast ให้คนรับ impact แรงๆจากสัมผัสแรก แต่ไม่ใช่ความตื่นเต้นหวือหวาแบบวัยรุ่น พี่เรียกเจ้ากล่องลูกบาศก์สีเข้มนี้ว่า “Thinking Box” Pure form ของมันตั้งสงบนิ่ง ดูขรึมแต่น่าสนใจว่ามันคืออะไร การบิดแกนทำให้ดูเหมือนมี movement พร้อมจะเคลื่อนไหว มี energy อยู่ข้างใน แกนการบิดของมันก็ตอบรับโจทย์เรื่องฮวงจุ้ยไปด้วย อันนี้คือการไม่มอง input ว่าเป็นปัญหา แต่พลิกมันกลับมาเป็นโจทย์ซึ่งมันก็ทำให้เราเกิด idea ทางเลือกใหม่ๆ และก็น่าสนใจดี direction ที่เกิดจากการบิดแกนทำให้มีเส้นนำไปสองส่วน ทางหนึ่ง lead ไปทางเข้าห้องประชุมที่มีที่นั่งเล่นเล็กๆหน้าห้อง อีกทางหนึ่งเป็นแกนโถงทางเข้าส่วน staff working area และแน่นอน... counter reception ใน lobby หน้าห้องประชุม จะเป็นอะไรอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากวัสดุผิวมันวาว ทำให้มัน disappear ไปซะ... กล่องกระจกเงาถูกเอามาแทนค่าด้วยเหตุนี้ ภาพรวมคือให้คนรับรู้ว่าธีรคุปต์จริงจัง แต่ไม่หยุดนิ่ง

Working area ต้องการห้องทำงาน executive เป็นสัดส่วน 10 ห้อง วางโอบรอบพื้นที่ทำงาน staff ที่เป็น open plan ผนังที่กั้นห้องทั้ง 10 กับ staff เป็นกระจกใสใช้เขียนได้ อันนี้เป็น idea ที่ดีจากลูกค้าเอง ซึ่งพี่ว่าได้บรรยากาศคึกคักเสริมพลังงานดี เมื่อเรานึกภาพว่าผู้บริหารทั้งสิบยืน discuss อยู่ข้างใน เขียนอะไรยุกยิกเป็นร่องรอยบนกระจก space ของ designer ก็จะกลายเป็น “place” มันเป็นบรรยากาศการทำงานที่เขาบอกกับ staff ว่า เราไม่แยกขาดจากกัน เปิดเผยและทำงานไม่หยุดนิ่ง คือวันไหนห้องมันว่างเปล่าทุกคนก็จะเห็น เขาจะเป็นอย่างไร เขาเปิดเผย ทำนองนั้น พี่ว่าตรงนี้เราได้สื่อความหมาย “ วัฒนธรรมการทำงาน ” ของธีรคุปต์

Transition area ที่เชื่อมทั้งสองส่วน พี่ให้โถง corridor ยาวๆ lead มาที่ห้องสมุดเป็นรูปกลม คือตรงนี้ต้องการเป็นสัดส่วนยืนอ่านหนังสือได้หรือเป็นที่ discuss เล็กๆ ในขณะเดียวกันต้องไม่ปิดจนใครๆแอบหยิบหนังสือกลับบ้าน ดังนั้นเลยวางตำแหน่งของมันให้ถูกมองเห็นได้จากทุกคน ตู้เอกสารยาวก็เป็นแกนต่อไปจบที่ห้องในดวงใจของพวกเขา, pantry หรือพี่เรียก “ ร้านกาแฟธีรคุปต์ ” เป็น area ที่เขาจะมาแกร่วสบายๆจากการทำงานหน้าโต๊ะ คือมันคงต้องมีที่ให้ตั้งวงนินทาใครๆบ้างเป็นธรรมชาติของมนุษย์ มีพื้นที่ให้ตั้งโต๊ะคุยกันแบบ informal ได้ พี่เลือกตำแหน่งให้ห้องได้แสงธรรมชาติ เล่นสีผนังและฝ้าเพดานสนุกๆเล็กน้อย อยากให้ตรงนี้ relax

“Architectural Interior” ไม่ใช่ “Decoration Interior” เป็นความสนใจของพี่ เพราะพื้นฐานพี่เป็นสถาปนิก เชื่อว่างานออกแบบมีความหมายมากกว่าการทำอะไรให้สวยๆ interior ก็คือการ define space อย่างนึง ทั้งด้วยการจัดวาง mass, order ของวัสดุ ไปจนถึง lighting ทุกอย่างต้องเป็นเรื่องราวเดียวกันที่มาจากวัตถุประสงค์ที่เราตั้งใจ ให้มันพาเราไปหาทางเลือก บางทีก็เหมือนเล่นเกม...สนุกดี

 

1 | 2 Next

 
 
 
Brochure
Services
New Project
Back Issue
 

 

Home | About Bareo | News & Events | Art of Design | Decor Guide | The Gallery | Living Young | Talk to Editor | Links

บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 Tel. 66 2881 8536-7 Fax. 66 2881 8538

house servic, decoration design home architect architecture interior design designer homeplan residential furniture family decorat building build planning cost news information structure arch drawing apartment idea bangkok develop foreman เฟอร์นิเจอร์ การซ่อมแซมบ้าน วัสดุแต่งบ้าน ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องอาหาร ออกแบบ ตกแต่งภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ บ้านสวย มัณฑนากร สถาปัตย์ ตกแต่ง บารีโอ บริการ ปรึกษา รับสั่งผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามแบบ รับเหมาตกแต่ภายใน วรวุฒิ ธรรมกุลางกูร มยุรี ธรรมกุลางกูร