Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ตกแต่งภายใน Interior design Thailand

left watch head watch right watch

 

 

 

 

 

      ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนดำเนินเคียงคู่ไปกับ ‘เวลา’ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจับต้องไม่ได้ เพราะมันไม่มีตัวตน  เป็นแค่สิ่งที่มนุษย์สร้างมันขึ้นมาเพื่อกำหนดกิจกรรมต่างๆ  แต่ทว่าสิ่งที่ทำให้เราจับต้องกับเวลาได้ก็คือ “นาฬิกา” สักเรือนใช่ไหมล่ะค่ะ  หลายๆ คนคงสวมนาฬิกาข้อมือตลอด แล้ววิวัฒนาการของมันกว่าจะมาเป็นแบบที่คุณสวมใส่กันอยู่นี้เป็นยังไงนะ??  เดือนนี้เราจะพาคุณนั่งไทม์แมชชีนกับไปดูวิวัฒนาการของนาฬิกาข้อมือกันค่ะ

 

 

watch5

      นาฬิกาข้อมือพัฒนามาจากสปริงนาฬิกาแบบพกพา  ซึ่งพบครั้งแรกในศตวรรษที่ 15 ทางยุโรป นาฬิกาแบบพกพาทำขึ้นมาโดยการประดิษฐ์เมนสปริง  ช่างนาฬิกาชาวนูเรมเบิร์ก  ชื่อปีเตอร์ เฮนเลน (หรือ เฮเล) (ปี ค.ศ.1485-1542) มักถูกเรียกว่าเป็นนักประดิษฐ์นาฬิกา  เขาเป็นหนึ่งในช่างฝีมือชาวเยอรมันคนแรกที่ทำ "clock-watches" เป็นนาฬิกาประดับสวมใส่เป็นจี้ซึ่งเป็นนาฬิกาเรือนแรกที่ถูกสวมใส่บนร่างกาย  โดยผูกติดกับเสื้อผ้าหรือใช้คล้องโซ่ห้อยคอ  ก่อนหน้านี้มีเพียงแค่เข็มชั่งโมงเท่านั้น  หน้าปัดไม่มีกระจกปิด  แต่มีฝาทองเหลืองพับเปิดปิดได้  หลังๆก็เริ่มทำเป็นรูปร่างประหลาดๆ  เช่น ดาว ดอกไม้ ฯลฯ  นาฬิกา "clock-watches" นี้เน้นแค่การดีไซน์รูปร่างเท่านั้น ไม่เน้นความแม่นยำเรื่องเวลาเท่าใดนัก

 

      พอต้นศตวรรษที่ 16 นาฬิกาก็ได้กลับมานิยมกันใหม่  เมื่อพระนางเจ้าอลิซเบ็ธที่ 1 ได้รับนาฬิกาข้อมือจากเจ้าชายโรเบิร์ต  ในปี 1571 นาฬิกาข้อมือจึงกลายเป็นที่นิยมของเหล่าหญิงสาว  ในขณะที่ผู้ชายจะใช้นาฬิกาพกพาจนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 20 เลยทีเดียว

 

 

     ภายหลังสักประมาณปลายศตวรรษที่ 19 เริ่มมีบริษัทผลิตนาฬิกาข้อมือใช้ในทางทหารชื่อบริษัท Mappin & Webb  ต่อมานาฬิกาแบบพกพาก็เพิ่มสายหนังเข้ามา  โดยมีบริษัท  Swiss  ที่ได้จดสิทธิบัตรการออกแบบนาฬิกาข้อมือในปี  1903  ส่วนวิลส์ดอร์ฟ และเดวิสน้องเขยของเขาก็ร่วมหุ้นธุรกิจผลิตนาฬิกาคุณภาพในราคาที่สามารถซื้อกันได้ในปี 1905  ซึ่งต่อมาก็เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้ชื่อบริษัท Rolex นั่น! บางคนถึงกับร้องอ๋อเลยทีเดียว

watch3

 

 

      ต่อไปมาดูระบบกลไกต่างๆ ของนาฬิกากันบ้างค่ะ มีกี่แบบนา... ไปดูกันเล้ย!
      เริ่มต้นด้วย นาฬิกากลไกจักรกล (Mechanical Watch) ที่อาศัยการเคลื่อนไหวของฟันเฟืองต่างๆภายในชุดกลไกที่ได้รับแรงขับมาจากลานสปริงทำให้นาฬิกาเดินได้ นาฬิกาจักรกลได้รับการคิดค้นมานานหลายร้อยปี คาดว่ามีการคิดประดิษฐ์ขึ้นราวศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ

 

 

watch8

http://4.bp.blogspot.com/_h4zyBesvoJs/S3tvMWlx4qI/AAAAAAAAACs/T4IZd4ztdcs/s320/Watch+10.jpg

 

 

      - นาฬิกาไขลาน หรือไขลานด้วยมือ (Manual Winding Watch) ซึ่งเป็นนาฬิกาที่มีใช้กันมาแต่ดั้งเดิมโดยอาศัยการไขลานเพื่อดึงให้สปริงลานดึงขึ้น และเมื่อสปริงลานตัวนี้คลายตัว ก็เสมือนการถ่ายโอนพลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อนๆฟันเฟืองต่างๆของกลไกและทำให้นาฬิกาทำงาน

 

 

watch7

http://www.rianthong.com/images_products_type/8062007171458.jpg


 

 

      - Automatic Winding Watch (Self-winding watch) คือนาฬิกาออโตเมติก หรือนาฬิกาไขลานอัตโนมัติ หรือเรียกง่ายๆว่าไขลานและทำงานได้ด้วยตัวเอง นาฬิกาในกลุ่มนี้จะมีตัวโรเตอร์ (Rotor) คอยเหวี่ยงขึ้นลานให้ ขณะที่เราสวมใส่นาฬิกาไว้บนข้อมือตลอด   โดยตัวโรเตอร์จะเคลื่อนที่โดยน้ำหนักของตัวเอง หรือ อยู่ในเครื่องหมุนหรือตู้ไขลานนาฬิกา (Watch winder) ซึ่งแรงเหวี่ยงจากข้อมือและตู้ไขลานจะช่วยให้โรเตอร์ทำงานตลอดส่งผลให้เกิดการขึ้นลานตลอด นาฬิกาจึงสามารถเดินได้ตลอดเวลา  แต่หากไม่ได้ใส่ ลานก็จะไม่เดิน และจุดสังเกตของนาฬิกากลุ่มนี้ตัวเรือนเบาๆก็จะได้ยินเสียงโรเตอร์สั่นและหมุนดังเป็นเสียงกิ๊กเบาๆ

 

      ระบบมหัศจรรย์นี้คิดค้นโดย อับราฮัมหลุยส์ แพรีเลด์(Abraham Louisperrelet) ในศตวรรษที่ 18 หรือปี 1770  ซึ่งต่อมา บริเกต์ (Breguet) เรียกระบบไขลานด้วยตัวเองนี้ว่า เพอร์เพ็ทช่วล (perpetuelle) หรือที่เราคุ้นกันในรูปศัพท์ perpetual ในปัจจุบัน

 

 

 

      Quartz watches

      นาฬิกาควอตซ์ หรือนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ คือนาฬิกาที่ต้องใช้แบตเตอรี่หรือถ่านช่วยในการทำงานนั่นเอง นาฬิกากลุ่มนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เป็นตัวหมุนเข็มนาฬิกาให้เดินบอกเวลา  หรือแสดงเวลาผ่านระบบตัวเลขดิจิตอลบนหน้าปัดแบบ LCD หรือ LED ซึ่งจะใช้พลังงานไฟฟ้าบางส่วนส่งผ่านผลึกควอตซ์แล้วรับสัญญาณความถี่กลับออกมาให้ไมโครเซสเซอร์ประเมินผลออกมาเป็นเวลา และควบคุมการเดินของเข็มอีกทอดหนึ่ง

 

      นาฬิกาควอตซ์เรือนแรก พ.ศ. 2470 เครื่องต้นแบบมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 10 วินาทีใน 1 ปีรุ่นหลัง ๆ คลาดเคลื่อนไม่เกิน 1 วินาทีใน 3 ปี ทำงานโดยวัดการสั่นของผลึกแร่ควอร์ตซ์ที่เกิดจากการกระตุ้นของกระแสไฟฟ้า

 

Image

http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=375943

 

 

      ในปี ค.ศ.1929 Warren Morrison ได้ประดิษฐ์ นาฬิกาควอตซ์ ขึ้นที่เป็น นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาประเภทนี้เที่ยงตรงมาก และต่อมาในปี ค.ศ.1980 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ ก็มีการประดิษฐ์ นาฬิกาโดยใช้ชิป ( chip ) เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมในกลไกของนาฬิกา ซึ่งนอกจากจะบอกเวลาแล้วยังสามารถเก็บข้อมูลที่จำเป็น และสามารถใช้เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย หลังจากนั้นเทคโนโลยีในด้านการประดิษฐ์นาฬิกาได้ก้าวหน้าเรื่อยมา จนกระทั่งทุกวันนี้เรามีนาฬิกาคอมพิวเตอร์ใช้กันแล้ว

 

      นอกจากระบบภายในของนาฬิกาแล้วที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือหน้าปัดค่ะ  ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ 3  รูปแบบ  คือ  แบบ Analog  เป็นแบบเบสิคๆเลยที่ประกอบไปด้วยเข็มชั่วโมงหรือเข็มสั้น  เข็มนาทีหรือเข็มยาว  และเข็มวินาที

 

ถัดมาเป็นแบบ  Digital ซึ่งเรือนแรกเป็นนาฬิกาแบบพกพาระบบกลไก  ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19

 

watch2

 

 

 

ต่อมาในปี 1920  ก็มีนาฬิกาข้อมือดิจิตอลระบบกลไกเรือนแรกเกิดขึ้น!

 

watch1

 

 

 

      ยุคแรกของหน้าจอดิจิตอล LED เริ่มต้นเมื่อปี 1970  โดยบริษัท Pulsar  เป็นนาฬิกาที่แสดงเป็นตัวเลขดิจิตอล LED สีแดง ซึ่งในปี 1975 มีราคาแพงมากอยู่ที่ 20$  ผู้บริโภคทั่วๆไปก็ไม่ซื้อกัน จนต้องลดมาเหลือ 10$  ทำให้บริษัทขาดทุนไป 6 ล้านดอลฯ!  จึงขายแบรนด์ให้กับบริษัท Seiko 

 

220px-PulsarLED

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/1e/PulsarLED.jpg/220px-PulsarLED.jpg

 

 

 

      นาฬิกาแบบดิจิตอลนั้นก็ได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ  เป็นแบบบอกเวลาชั่วโมง นาที วินาที  แม้กระทั่งวันเดือนปี  ราคาก็เริ่มถูกลง  แถมยังมีหลากหลายรูปแบบอีกต่างหาก   แบบสุดท้ายคือแบบเรืองแสง  ที่เราสามารถดูนาฬิกาในที่มืดได้  เริ่มมีในช่วงกลางศตวรรษที่ 20  ซึ่งมีส่วนประกอบของเรเดียมและตริเตียมให้เรืองแสงบริเวณขีดบอกชั่วโมง ซึ่งนิยมใช้กับนาฬิกา Analog

 

170px-Tritium-watch

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/09/Tritium-watch.jpg/170px-Tritium-watch.jpg

 

 

 

     ในปัจจุบันนี้นาฬิกาข้อมือก็มีหลากหลายดีไซน์มากขึ้น  เปลี่ยนแปลงไปตามแฟชั่น  การใช้งานต่างๆ  ใครที่ยังไม่มีนาฬิกาข้อมือไว้ประดับบนข้อแขน  ลองมองหานาฬิกาที่เหมาะกับเราสักเรือนดูสิคะ หรือให้เป็นของขวัญกับเพื่อน กับคนรักก็เก๋ไม่เบาล่ะค่ะ

 

 

 

 

 

      เฮ้ออ~  หมดเวลาของเมลอีกแล้ว  คราวหน้ายังมีเรื่องดีๆแบบนี้มาให้อ่านกันอีกนะคะ  คอยติดตามกันได้ที่ Bareo & isyss ที่นี่ที่เดียวเล้ยย  วันนี้ต้องขอลาไปก่อน  แล้วมาพบกันใหม่น้าค้า ~

 

 

Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน Interior design Thailand