ชาดอกไม้ Banner

     การกินดอกไม้เป็นอาหาร เป็นวัฒนธรรมการบริโภคของคนไทยที่มีมานานแล้ว เป็นพืชที่ขึ้นในท้องถิ่นเก็บได้ตามฤดูกาลและที่สำคัญ คือ มีประโยชน์เป็นสมุนไพร ช่วยให้สุขภาพดี แก้โรคบางชนิดได้ด้วย ซึ่งมีวิธีการทำได้ เช่น แกงส้ม แกงกะทิ กินเป็นผักสด ลวก ต้ม ดองหรือทอด หรือทำเป็นชาไว้ดื่ม

     ชาดอกไม้  เครื่องดื่มสีใสอันหอมกรุ่น นั้นช่วยให้ผู้ที่ดื่มได้รู้สึกผ่อนคลาย และมีชีวิตชีวา เปรียบเสมือนการใช้ธรรมชาติบำบัด เพราะนอกจากดอกไม้จะสวยงามแล้ว ดอกไม้บางชนิดยังมีส่วนผสมที่ใช้เป็นสารสกัดในการปรุงน้ำหอมและมีสรรพคุณทางยา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของเราได้อย่างดีครับ

     ชาดอกไม้ เป็นการทำ Herbal Infusion นั่นคือการนำเอากลีบดอกไม้ตากแห้งแช่ในน้ำร้อนจัดทิ้งไว้ระยะหนึ่ง จะทำให้มีวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน โดยเฉพาะดอกไม้ปลูกเองที่ไร้สารเคมี ปลอดภัยแถมสุขภาพดีอีกต่างหากครับ

การเตรียมดอกไม้ก่อนชงชา

สิ่งที่สำคัญที่จะให้ได้มาของชาดอกไม้ คือ ดอกไม้ต้องแห้งสนิท ขั้นตอนจึงอยู่ที่การทำให้ดอกไม้ที่เราประสงค์จะให้เป็นชานั้น ต้อง “แห้ง”   ซึ่งมีวิธีการดังนี้

  1. การเลือก ดอกไม้ที่คุณเลือกมา หากซื้อมาต้องแน่ใจว่าปราศจากสารจากยาฆ่าแมลง ล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นให้นำไปผึ่งบนกระจาดหรือตะแกรงจนสะเด็ดน้ำ แล้วเด็ดเอาเฉพาะกลีบ

  2. ใส่ตะแกรงคลุมด้วยผ้าขาวบาง ตากไว้ในที่แดดอ่อนๆ รำไร และที่มีอากาศระบาย จนกระทั่งกลีบดอกไม้แห้งสนิท ควรระวังสักนิดนะครับ อย่าให้โดนแดดแรง ๆ เพราะจะทำให้ น้ำมันหอมระเหยและคุณค่าต่าง ๆ เสียไปได้

  3. การเก็บรักษา ควรเก็บเอาไว้ในโหลสุญญากาศ ไม่ให้โดดแสงสว่าง ความร้อนและความชื้น เมื่อถึงเวลาที่ต้องการจะได้ชาร้อนสักถ้วย ให้ใช้ช้อนที่แห้งสนิทตัก อย่าใช้มือหยิบ จะช่วยคงคุณค่าและความหอมไว้ได้นานมากขึ้นครับ

ดอกไม้ที่นิยมนำมาชงชา

กุหลาบมอญ   ชากลีบดอกกุหลาบมีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ ทำให้สดชื่นไม่อ่อนเพลีย ช่วยบำรุงหัวใจและระบบขับถ่าย

จำปา   ชากลีบดอกจำปา มีรสหอมเย็น บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย

มะลิ    ตำรายาไทยจัดดอกมะลิอยู่ในเกสรทั้ง ๕ ทั้ง ๗ และ ๙ ใช้มะลิลา ชามะลิลามีรสหอมเย็น ช่วยลดความเครียด บำรุงหัวใจ แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้ปวดท้องบิด

ลำดวน   ชากลิ่นหอมของดอกลำดวนดื่มแล้วช่วยให้จิตใจสดชื่น บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด แก้ไข้ แก้วิงเวียนศีรษะ

ทับทิม    ชาดอกทับทิมใช้ดอกแห้งต้มกับน้ำดื่ม ช่วยเจริญอาหาร รสหวานอมเปรี้ยว

ชบา      ชาดอกชบา แนะนำให้ใช้ดอกชบาสีแดง เป็นดอกสดหรือแห้งก็ได้ โดยตัดส่วนเกสรทิ้ง การดื่มชากลีบดอกชบาช่วยลด อุณหภูมิร่างกายแก้ไอ แก้ไข้ ฟอกโลหิต บำรุงน้ำนมในผู้หญิงช่วงให้นมบุตร แก้ปวดประจำเดือน

คาร์โมมายล์  (Matricaria)  พวกเดียวกับทานตะวันค่ะ มีสรรพคุณทางยา ตำราฝรั่ง ระบุเป็นยา alternative ช่วยเรื่องหวัด โรคหัวใจ ทางเดินอาหารค่ะ

–  ซูกินี     ช่วยลดความดันเลือด ลดความเสี่ยงของโรคภูมิต้านทานบกพร่อง และ สาร antioxidant ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ ชะลอการเสื่อมของสมองจากความชรา งานวิจัยพบว่าซูกินีช่วยบรรเทาอาการต่อมลูกหมากโตได้อีกด้วยครับ


วิธีการชงชาดอกไม้ 

เหล่านี้คือเคล็ดลับในการชงชาดอกไม้ได้ประโยชน์ที่สุด

  1. ควรใช้น้ำกรองหรือจะน้ำแร่เท่านั้นครับ ส่วนน้ำจากก๊อกหรือว่าน้ำประปา จะมีความเป็นด่างเกินไปและขัดขวางพลังของสารอาหารธรรมชาติในดอกไม้

  2. เก็บชาดอกไม้ไว้ในโหลแก้วที่มียางปิด โหลสุญญากาศ ปิดมิดชิด เลี่ยงการวางชาไว้ใกล้แสงสว่างหรือที่ๆมีความชื้นสูงจะเก็บชาไว้ได้นานหลายเดือน การเก็บในตู้เย็นก็ช่วยยืดอายุชาดอกไม้ได้ดี

  3. ควรปล่อยให้ชาแช่อยู่ในน้ำประมาณ 5 นาทีซะก่อนครับ แล้วจึงค่อยรินออกจากถ้วยหากต้องการเติมความหวานก็ให้เติมน้ำผึ้งจะดีกว่าน้ำตาล เพื่อไม่ให้ความหอมและรสชาติดอกไม้เปลี่ยนไปจากเดิมครับ

 

สัดส่วนของชาดอกไม้

 สำหรับการชงชานั้นไม่มีสัดส่วนที่แน่นอนครับ แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน

– โดยปกติใช้ชาดอกไม้ประมาณซัก 1 ช้อนโต๊ะต่อชา 1 ถ้วย

– ควรใส่กลีบดอกไม้ลงในถ้วยก่อนแล้วจึงเทน้ำร้อนลงผสมไม่ควรใช้น้ำเดือดๆ เพราะอาจทำให้ยางดอกไม้ออกมาจนเหม็นเขียวได้

–  ยกกาสูงๆเวลาเทน้ำร้อนเพื่อให้ออกซิเจนหมุนเวียน

– แช่กลีบดอกไม้ไว้ไม่ควรเกิน 5 นาทีเพราะหากนานกว่านั้นอาจเหม็นเขียวได้สำหรับดอกไม้บางชนิด

– หากจะทำไว้มากๆและเทใส่ที่ทำน้ำแข็งก็จะได้น้ำแข็งกลิ่นดอกไม้หอมชื่นใจครับ

     ชาดอกไม้ที่นำมาบอกกันในวันนี้ ส่วนมากแล้วจะมีสรรพคุณในการช่วยลดความตึงเครียด ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ง่ายกับสังคมไทยในยุคปัจจุบัน  ถ้าครั้งต่อไปอยากหาเครื่องดื่มสักถ้วย เพื่อบรรเทาอาการเครียดของตัวคุณเอง ลองหันมาชงชาดอกไม้สักแก้ว น่าจะทำให้รู้สึกดีขึ้นนะครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก

baanlaesuan

greenery

pinterest