ช่างแม่น : ปั๊มน้ำ ช่างแม่น : ปั๊มน้ำ ช่างแม่น : ปั๊มน้ำ ช่างแม่น : ปั๊มน้ำ
ช่างแม่น : ปั๊มน้ำ ช่างแม่น : ปั๊มน้ำ ช่างแม่น : ปั๊มน้ำ ช่างแม่น : ปั๊มน้ำ
ช่างแม่น : ปั๊มน้ำ ช่างแม่น : ปั๊มน้ำ ช่างแม่น : ปั๊มน้ำ ช่างแม่น : ปั๊มน้ำ
ช่างแม่น : ปั๊มน้ำ ช่างแม่น : ปั๊มน้ำ ช่างแม่น : ปั๊มน้ำ ช่างแม่น : ปั๊มน้ำ
Home
About Bareo
News & Events
Art of Design
Decor Guide
The Gallery
Living Young
Consults
Links
 
 

 

ไขปัญหากับช่างแม่น พูดมาก

ตอน ปั๊มน้ำ

ความเดิมจากตอนที่แล้ว ที่กระผมได้มาพูดค้างไว้เรื่องถังเก็บน้ำ มาวันนี้ เลยต้องขอมาพูดเพิ่มเติมอีกสักหน่อยเกี่ยวกับเรื่องปั๊มน้ำ ไม่งั้น มันคงเหมือนข้าวผัดไม่ใส่พริกน้ำปลา อ้าว..ไม่ใช่ผมพูดมั่วๆ นะขอรับ.. ลองคิดดูสิครับว่าหากเรากินข้าวผัดเปล่าๆ ก็ได้ แต่ถ้ามีพริกน้ำปลา มันก็จะอร่อยขึ้นอีกแยะ ฉันใดก็ฉันนั้น หากมีถังเก็บน้ำแล้วไม่มีปั๊มน้ำ เราๆ ท่านๆ คงได้อาบน้ำชนิดไหลเอื่อยๆ ไม่สะใจเท่าไร

 

ปั๊มน้ำ
 
 
 

 

พูดก็พูดเถอะ เดี๋ยวนี้ ไอ้เจ้าวิวัฒนาการการอาบน้ำของคนเรามันชักจะไปกันใหญ่ จากเดิม ที่เคยอาบน้ำฝักบัวธรรมดาๆ ก็เป็นอาบแบบฝักบัวใหญ่ เปิดทีเหมือนฝนตก แค่นั้นยังไม่พอ เดี๋ยวนี้มีแบบฉีดโน่นฉีดนี่ แล้วก็ไม่ใช่ฉีดกันเบาๆ นะครับ ฉีดทียังกะล้างรถ ก็อกหัวนึงก็ฉีดที่นึง อะไรจะปานนั้น บางห้องมีฉีดกันแปดจุด สิบจุด สงสัยจะไม่ค่อยมีเวลา ยังงี้อาบแป๊บเดียวสะอาดเลย

สมัยก่อน เคยเห็นในหนังสือต่างประเทศที่ผู้จัดการท่านเอามาให้ดู พวกเรายังขำกันใหญ่ เลยโดนดุกันตามระเบียบ ที่ไหนได้ ผ่านมาห้าหกปี ก็มีคนสั่งเข้ามาใช้กันจริงจัง คราวนี้ล่ะ ขำกันไม่ออก เพราะผมต้องรับหน้าที่ดูแลติดตั้งปั๊มเพิ่มให้สำหรับห้องที่มีหัวฉีดพิเศษแบบนี้ด้วย ไม่งั้น เดี๋ยวน้ำไหลไม่แรง ไม่สะใจกัน ว่างั้นเถอะ

เอาล่ะครับ เรามาเข้าเรื่องของปั๊มน้ำกันดีกว่า เจ้าปั๊มน้ำหรือเครื่องสูบน้ำที่เราๆ ท่านๆ ใช้กันเกือบทุกบ้าน แต่มักจะไม่ค่อยมีใครทราบว่ามันเป็นอย่างไร มันมีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้าง ผมเลยขออนุญาตขยายความให้ฟังบ้างนะครับ

เจ้าปั๊มน้ำ คือเครื่องจักรตัวหนึ่งที่ได้พลังงานจากไฟฟ้า โดยมีกลไกภายในที่ประกอบไปด้วยมอเตอร์เพื่อสร้างแรงดูดและแรงอัดให้กับน้ำ เพื่อให้ไหลได้แรงและเร็วขึ้น และเนื่องจากมันสามารถสร้างได้ทั้งแรงดูดและแรงอัด เราจึงสามารถใช้ปั๊มน้ำได้ทั้งการสูบน้ำเข้า และจ่ายน้ำออกด้วยครับ

แล้วทีนี้ เจ้าปั๊มน้ำที่เราใช้กันภายในบ้านเนี่ย ก็ยังมีสองประเภทใหญ่ๆ คือแบบจังหวะเดียว กับสองจังหวะ แน่ะ..ยังกะมอ’ไซค์ คือที่เราใช้ๆ กันทั่วๆ ไป จะเป็นปั๊มน้ำแบบสองจังหวะ คือมีจังหวะจ่าย และจังหวะหยุด เวลาเครื่องทำงาน เราจะได้ยินเสียง ฟีดยาวๆ สลับกับจังหวะหยุดเป็นระยะๆ แบบนี้ครับ ฟีดดดดดดดดดดดด - - - - - ฟีดดดดดดดดดดดด - - - - -  อย่างนี้ไปเรื่อยๆ (เส้นขีด แทนช่วงจังหวะเงียบนะครับ)

 

 
 
 
ปั๊มน้ำ ปั๊มน้ำ
ปั๊มน้ำ ปั๊มน้ำ
เครื่องปั๊มน้ำแบบยุโรป
 
 
 

 

ส่วนเจ้าปั๊มจังหวะเดียว ก็จะตรงกันข้ามกัน คือมีจังหวะจ่ายจังหวะเดียว จนกว่าจะน้ำจะเต็มหรือหยุดใช้งาน เสียงขณะที่ใช้งาน ก็จะมีเสียงฟีดอย่างเดียวเท่านั้น และจะหยุดร้องเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ซึ่งการทำงานแบบนี้ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย กล่าวคือ น้ำที่ออกจากปั๊มแบบนี้จะมีแรงดันน้ำที่มากกว่าปั๊มแบบสองจังหวะ รวมทั้งในกรณีที่มีคนอื่นมาใช้น้ำเพิ่มขึ้นในเวลาเดียวกัน ปั๊มน้ำที่ดีๆ บางตัวจะปรับแต่งกำลังในการส่งน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชย ทำให้แรงดันน้ำไหลอย่างสม่ำเสมอได้อีกด้วย แต่ในขณะเดียวกัน ปั๊มน้ำจังหวะเดียวนี้ ก็จะมีโอกาสที่เครื่องจะร้อน และเสียได้ง่ายกว่าเช่นเดียวกัน ดังนั้น ปั๊มจังหวะเดียวที่ดีๆ จึงต้องมีกลไกที่ใช้ป้องกันมอเตอร์ไหม้ พร้อมทั้งใช้กลไกหรือวัสดุที่ทนต่อการเสียดสีหรือสึกหรอได้เป็นอย่างดี

ในสมัยก่อน ปั๊มจังหวะเดียวมักจะมาจากทางยุโรป ในขณะที่ปั๊มสองจังหวะนั้น ทางญี่ปุ่นเป็นเจ้าตลาด เพราะมีราคาที่ถูกกว่าปั๊มจังหวะเดียวค่อนข้างมาก แต่ในปัจจุบัน ทางญี่ปุ่น ก็หันมาออกปั๊มน้ำจังหวะเดียวกันหลายรายแล้ว ลองๆ ไปหาดูได้ที่ร้านขายวัสดุก่อสร้างทั้งหลาย หรือที่ Home Pro, Home Work ก็มีให้เลือกจนจุใจเชียวครับ

 ทีนี้ เราจะเลือกซื้อปั๊มแบบไหนถึงจะเหมาะสม ซึ่งผมก็ขอแนะนำแบบมาตรฐานไว้ก่อน กล่าวคือ หากคุณต้องการใช้งานภายในบ้านพักอาศัยธรรมดา มีห้องน้ำที่ใช้น้ำพร้อมๆ กัน ไม่เกิน 3 ห้อง และไม่ต้องการน้ำที่ไหลแรงมาก ให้เลือกใช้ปั๊มน้ำสองจังหวะก็เหลือเฟือแล้วครับ แต่ถ้าต้องการน้ำที่มีแรงดันสูง และไหลสม่ำเสมอ ใช้ร่วมกันหลายห้อง แรงก็ไม่ตก ก็ให้เลือกใช้ปั๊มน้ำจังหวะเดียวจะดีกว่าเยอะครับ

 

 
 
 
fruits
ปั๋มน้ำแบบญี่ปุ่น
 

สำหรับขนาดของปั๊มน้ำ เรามักวัดแรงดันกันเป็นบาร์ แต่เพื่อให้ง่ายๆ สำหรับผู้อ่าน จะได้ไม่ต้องไปแปลอีกว่าอะไร ผมแนะนำให้ดูที่ฉลากที่ติดข้างปั๊มว่ามีระยะ Head เท่าไร จะทำให้ชีวิตง่ายขึ้นเยอะเชียวคุณ โดยไอ้เจ้า Head นี่ มันหมายถึงระยะส่งน้ำขึ้นสูงสุดได้เท่าไร (หากใช้ในการสูบน้ำ ก็จะหมายถึงระยะลึกสุดที่ปั๊มนี้สามารถดูดน้ำขึ้นมาได้) โดยปกติ บ้านเราจะมีความสูงของแต่ละชั้นประมาณสามเมตร

 
 
 
 

 

ดังนั้นหากบ้านของคุณเป็นบ้านสองชั้น ก็จะมีความสูงประมาณหกเมตร ให้เลือกปั๊มน้ำที่มีระยะ Head ที่สูงกว่า 6 เมตร โดยทางที่ดี เราอาจจะเผื่อไว้อีกสักหน่อยก็ได้ อย่างเช่นในกรณีนี้ เราอาจจะเลือกซื้อปั๊มน้ำที่มีระยะ Head สัก 9 เมตร เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว เรายังต้องดูในเรื่องของปริมาณน้ำที่ปั๊มจะจ่ายได้อีกด้วย โดยปั๊มน้ำทุกตัว จะบอกปริมาณน้ำที่สามารถจ่ายได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยมากมักเป็นลิตร/นาที หรือลิตร/ชั่วโมง โดยตัวเลขยิ่งเยอะ เจ้าปั๊มน้ำตัวนั้นก็ยิ่งมีแรงส่งปริมาณน้ำได้มาก เหมาะกับบ้านที่ต้องการใช้ห้องน้ำพร้อมๆ กันมากๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งสำหรับบ้านพักอาศัยขนาดกลาง ไม่เกิน 6 คนเลือกใช้ปั๊มน้ำที่สามารถจ่ายน้ำได้สัก 1,000 – 2,000 ลิตรต่อชั่วโมง ก็เหลือเฟือแล้วครับ

สำหรับการต่อตัวปั๊มน้ำเข้ากับระบบเพื่อจ่ายน้ำภายในบ้าน เราไม่ควรจะต่อปั๊มน้ำเข้ากับมาตรวัดน้ำโดยตรง เพราะมีสาเหตุสำคัญหลายประการดังนี้ครับ

  1. ทำให้มาตรวัดน้ำเดินเร็วกว่าปกติ และจะเสียค่าน้ำโดยไม่จำเป็น
  2. จะสร้างความเดือดร้อนให้กับเพื่อนบ้านใกล้เคียง เพราะปริมาณน้ำจะถูกแย่งมาทางเราซะหมด
  3. ในกรณีที่มีท่อแตกรั่ว สิ่งสกปรกภายในท่อจะเข้ามาเจือปนกับน้ำที่เข้ามาหาเรา
  4. ผิดข้อบังคับของการประปา อาจมีโทษปรับย้อนหลัง และอาจถูกสั่งงดใช้น้ำได้นะครับ

 

 
 
  ปั๊มน้ำ  
 
 

 

ดังนั้น วิธีการที่จะต่อปั๊มน้ำให้ถูกต้องที่สุด เราควรจะต่อปั๊มน้ำอยู่หลังถังเก็บน้ำภายในบ้านของเรา เพื่อให้ถังเก็บน้ำได้ทำการสำรองน้ำจากการประปาให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วจึงดูดผ่านปั๊มน้ำมาจ่ายไว้ใช้ภายในบ้านครับ

ปั๊มน้ำในปัจจุบัน มีความสามารถมากขึ้นเยอะ บางตัวมีไมโครโปรเซสเซอร์คอยควบคุมการทำงาน โดยหากไฟดับ ไฟตก เครื่องก็จะหยุดทำงาน น้ำไม่ไหล เครื่องก็จะหยุดทำงานด้วยเช่นกัน ดังนั้น ในตอนแรกที่ติดตั้ง บางครั้ง เราจำเป็นต้องล่อน้ำในช่องที่ใส่น้ำตามคู่มือที่ระบุไว้ เพื่อให้ปั๊มน้ำเข้าใจว่ามีน้ำแล้ว และยอมทำงานได้ ดังนั้น ในกรณีที่ปั๊มน้ำไม่ยอมทำงาน ภายหลังจากที่น้ำจากการประปาไม่ไหล อาจเป็นเพราะไม่มีน้ำอยู่ภายในปั๊มก็ได้ ให้เราลองล่อน้ำตามคู่มือการติดตั้งอีกครั้งหนึ่ง ปั๊มก็น่าจะกลับมาทำงานได้ตามปกติครับ

อันที่จริง คนไทยกับน้ำ เรียกได้ว่าเกิดมาคู่กัน เพราะบ้านเรานั้นมีน้ำมีท่าอุดมสมบูรณ์ มาตั้งแต่สมัยผมยังเป็นเด็กๆ แต่ปัญหาน้ำแล้ง น้ำขาด ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มักจะเกิดจากที่คนเราเองนั่นแหละที่ใช้น้ำกันสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น ดังนั้น ผมอยากจะขอคุณๆ ทุกท่านว่าจะใช้น้ำใช้ท่า ก็ช่วยๆ กันประหยัดหน่อยเถอะครับ อย่าคิดว่าน้ำประปามีราคาถูก อีกหน่อย พอใช้น้ำกันเยอะเข้า หลวงท่านก็ต้องสร้างโรงประปาใหม่ ก็เงินใครอีกหละ ถ้าไม่ใช่ภาษีของพวกเรา นอกจากนี้ ปัญหาน้ำทิ้งก็ตามมาอีก ระบบกำจัดน้ำเสียของเรา ก็ใช่ว่าจะพอซะเมื่อไร เดี๋ยวสุดท้าย เค้ามาเก็บเงินค่าบำบัดน้ำเสียตามครัวเรือน เราก็จะมีภาระกันอ่วมเท่านั้นเองครับ..

สำหรับเดือนนี้ ผมอาจจะส่งต้นฉบับล่าสักหน่อย อย่าถือคนแก่เลยครับ เอาไว้เดือนหน้าจะรีบเขียนก่อน จะได้ไม่เป็นแบบนี้อีก..ขอบคุณมากๆ ครับ..

 

ช่างแม่น พูดมาก

 

 
 

 

 
บทความอื่นๆ ในหมวด
 
 
ตกแต่งภายใน

ตอนที่ 1 ระบบประปาภายในบ้าน

ตกแต่งภายใน ตอนที่ 2 ถังเก็บน้ำ
ตกแต่งภายใน ตอนที่ 3 ปั๊มน้ำ
ตกแต่งภายใน ตอนที่ 4 สีทาบ้าน new
 
 
     

 

 
Home | About Bareo | News & Events | Art of Design | Decor Guide | The Gallery | Living Young | Talk to Editor | Links
 
บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 Tel. 66 2881 8536-7 Fax. 66 2881 8538
house servic, decoration design home architect architecture interior design designer homeplan residential furniture family decorat building build planning cost news information structure arch drawing apartment idea bangkok develop foreman เฟอร์นิเจอร์ การซ่อมแซมบ้าน วัสดุแต่งบ้าน ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องอาหาร ออกแบบ ตกแต่งภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ บ้านสวย มัณฑนากร สถาปัตย์ ตกแต่ง บารีโอ บริการ ปรึกษา รับสั่งผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามแบบ รับเหมาตกแต่ภายใน วรวุฒิ ธรรมกุลางกูร มยุรี ธรรมกุลางกูร