สำหรับเมืองร้อนอย่างเช่นประเทศไทยของเรา “เครื่องปรับอากาศ” นับเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้ายอดนิยมที่ทุกบ้านมีติดบ้านกัน ไม่ว่าจะเป็นภายในห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น หรือแม้กระทั่งห้องนอน ซึ่งเครื่องปรับอากาศในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายชนิด หลายขนาด และมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยให้เครื่องปรับอากาศมีประสิทธิภาพในการทำความเย็นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้มีราคาแพงตามไปด้วย ดังนั้นการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศจึงต้องพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมของสภาพห้อง หรือบ้านที่เราจะนำไปติดตั้งเพื่อให้คุ้มค่าคุ้มราคาไปกับเทคโนโลยีที่ได้กลับมา นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงการประหยัดไฟฟ้าในระยะยาวด้วย
เครื่องปรับอากาศได้รับความนิยมในประเทศเขตร้อน อย่างเช่นประเทศไทยเรา จึงมีผู้ผลิตได้พัฒนาเทคโนโลยีของเครื่องปรับอากาศมาอย่างหลากหลาย ซึ่งเทรนด์ของเครื่องปรับอากาศในปัจจุบันจึงถูกพัฒนาให้มีความสามารถด้านอื่นๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น เช่น มีระบบกรองอากาศ กำหนดเวลาเปิดปิด กำหนดอุณหภูมิ
1. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสารทำความเย็นหรือน้ำยา (Refrigerant) ในระบบ โดยทำให้สารทำความเย็นมี อุณหภูมิและความดันสูงขึ้น 2. คอนเดนเซอร์ (Condenser) ทำหน้าที่รับสารทำความเย็นที่มีสภาวะเป็นแก๊สร้อนความดันสูงมาระบายความร้อนออก 3. ดรายเออร์ ฟิลเตอร์ (Dryer Filter) ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกและความชื้นออกจากสารทำความเย็น ก่อนส่งไปยังเอ็กแพนชั่นวาลว์ต่อไป 4. เอ็กแพนชั่นวาลว์ (Expansion Valve) ทำหน้าที่รับสารทำความเย็นที่มีสภาวะเป็นของเหลวความดันสูงมาลดความดันและฉีดออกเป็นละอองสารทำความเย็นที่มีความดันต่ำ 5. อีวาพอเรเตอร์ (Evaporator) ทำหน้าที่รับละอองสารทำความเย็นเข้ามาเดือดกลายเป็นสารทำความเย็นที่มีสภาวะเป็นแก๊สร้อนความดันต่ำ
|
ชนิดของเครื่องปรับอากาศ
1. เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง
2. เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน
เครื่องปรับอากาศแบแยกส่วนมักนิยมใช้ในห้องนอน ห้องทำงาน หรือออฟฟิศ สำนักงานต่างๆ เนื่องจากมีระบบการทำงาน ที่เงียบ ติดตั้งสะดวก ไม่ต้องรื้อถอนผนัง เพียงแค่เจาะผนังเป็นรูสำหรับร้อยท่อและสายไฟเท่านั้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ
2.1 แบบติดผนัง เป็นแบบที่ประหยัดเนื้อที่ ดูแลรักษาง่าย แต่มีข้อจำกัดจะต้องติดตั้งกับผนังด้านที่ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
2.2 แบบตั้งพื้น เป็นเครื่องปรับอากาศที่มีการใช้งานที่สะดวก ง่ายต่อการซ่อมแซมและบำรุงรักษา แต่เนื่องจากเป็นเครื่องปรับอากาศที่ติดตั้งบนพื้นจึงมีฝุ่นละอองเข้าเครื่องได้ง่าย จึงต้องทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศบ่อยๆ แต่เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่กว้างขวาง เช่นห้องนั่งเล่น โถงอาคาร ภัตตาคาร เป็นต้น
2.3 แบบมีระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์มาควบคุมการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศให้ทำงานโดยอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพสูงที่สุดตลอด จนควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในห้องเหมาะสำหรับ ห้องนอน ห้องนั่งเล่น
2.4 มีระบบฟอกอากาศ (Plasma cluster) ระบบแผ่นฟอกหรือตะแกรงประจุที่อยู่ภายในเครื่องจะดีสำหรับการดักจับฝุ่น ควัน เพราะจะถูกดูดเข้ามาในเครื่องแต่ก็จะไม่ได้ ผลในกรณีที่ผู้ใช้ไม่ยอมเปลี่ยนแผ่นฟอก
|
BTU คือค่าอะไร
BTU (British Thermal Unit) คือ ขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ มีหน่วยดังนี้ 1 ตันความเย็น เท่ากับ 12000 BTU/hr. เราควรเลือกขนาด BTU ให้เหมาะสมกับขนาดของห้อง ที่จะทำการติดตั้ง
1. ควรรู้ขนาดห้องเสียก่อน เพื่อให้ได้ความเย็นที่เหมาะสม
ตารางการเปรียบเทียบ BTU ของเครื่องปรับอากาศ |
ทำไมต้องเลือกค่า BTU
BTU สูงไป เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่เกินไป การทำความเย็นจะมากเกินไป การควบคุมความชื้นไม่ดี (เนื่องจาก เครื่องต้องเดิน-หยุดบ่อย) ราคาเครื่อง และค่าติดตั้งก็จะสูงตามไปด้วย สิ้นเปลืองพลังงาน BTU ต่ำไป การทำความเย็นก็ไม่เพียงพอ และเครื่องก็ต้องทำงานตลอดเวลา อายุการใช้งานสั้นลง
800 ห้องที่ใช้ในเวลากลางวัน มีความร้อนสะสม มีเพดานสูง
ค่าประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศคืออะไร
ประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ (EER: Energy Efficiency Radio) จะเท่ากับ ปริมาณความเย็นของเครื่องปรับอากาศ / กำลังไฟฟ้าที่ใช้ ดังตัวอย่างเช่น เครื่องปรับอากาศขนาด 18,000 บีทียู / ชั่วโมง ใช้กำลังไฟฟ้า 1,800 วัตต์ EER = 18,000 / 1,800 = 10 บีทียู / ชั่วโมง / วัตต์ ซึ่งก็คือ ใช้กำลังไฟฟ้า 1 วัตต์ จะให้ความเย็น 10 บีทียู / ชั่วโมงโดยสามารถกำหนดระดับประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ ได้ดังนี้
|
การใช้เครื่องปรับอากาศอย่างถูกวิธี
• ควรเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) เพราะมีประสิทธิภาพเต็มบีทียู นอกจากนี้ควรพิจารณาประกอบกับผู้ผลิตที่มี ความน่าเชื่อถือ
• เลือกแบรนด์ที่ไว้วางใจได้ และมีบริการหลังการขายที่ดี มีช่างที่ชำนาญในการติดตั้ง ดูแลรักษา และซ่อมแซม
• ปรับตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ประมาณ 25 องศาเซลเซียส
• ปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเลิกใช้อย่างน้อย 30 นาที – 1 ชั่วโมง เพื่อเป็นการประหยัดไฟ
• ไม่ควรนำอุปกรณ์ทำความร้อนต่างๆ มาใช้ภายในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศ ไม่ว่าจะเป็น เตารีด เตาไฟฟ้าไดร์เป่าผม
• ปิดประตูและหน้าต่างให้สนิทก่อนเปิดใช้เครื่องปรับอากาศ เครื่องจะได้ไม่ทำงานหนัก
• อย่านำสิ่งของไปวางกีดขวางทางลมเข้า/ออกของคอนเดนซิ่งยูนิต
ขอบคุณข้อมูลจาก:
|