ถ้าเอ่ยถึง “สีทาบ้าน” นั้นนับเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยสร้างสรรค์ให้กับบ้านของเรามีความสวยงามเพิ่มมากขึ้น ไม่แพ้องค์ประกอบอื่นๆแต่เดี๋ยวก่อนที่จะยกหูโทรศัพท์ไปว่าจ้างและโยนงานทั้งหมดไปให้ช่างสีแล้วรอดูผลเมื่องานเสร็จ คุณรู้ไหมว่าการทาสี บ้านนั้นเพียงถ้ารู้หลักของการทาสีบ้านนิดๆ หน่อยๆ คุณก็สามารถทาสีบ้านหลังโปรดนี้ของคุณได้ ไม่แพ้ช่างสีเหมือนกัน แถมยังได้สีที่ถูกใจจนอยากจะกดไลค์รัวๆ และได้ความภาคภูมิใจกับบ้านหลังนี้ว่าฉันทาสีเองมากับมือเชียวนะ!
เทคนิคการทาสีบ้านด้วยตัวเอง
ถึงแม้ว่าไม่ใช่ช่างสี แต่เชื่อสิเพียงคุณอ่านบทความนี้จนจบ ก็สามารถไปช้อปสีมารีโนเวทบ้านให้มีสีแจ่มๆ ได้อย่างไม่ยาก ด้วยตัวเอง เพราะไม่ใช่แต่เพียงตัวโครงสร้างบ้านเท่านั้นที่สร้างความสวยงาม หรือทำบ้านให้น่าสนใจ สีบ้านก็เป็นอีกหนึ่ง ปัจจัย ที่สามารถช่วยให้บ้านของคุณดูโดดเด่นขึ้นมาได้เช่นกัน การทาสีบ้านในแต่ละครั้งต้องมีค่าใช้จ่ายพอสมควร ในการ เลือกสีทาบ้านให้ถูกใจไม่ใช่เรื่องยาก หากแต่เราต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมถึงการใช้งาน สไตล์การตกแต่งบ้าน สีของเฟอร์นิเจอร์ที่เลือกใช้ ลักษณะภูมิประเทศ เช่น บ้านที่อยู่ในโซนสวน หรือภูเขามักใช้สีโทนเขียวเข้ม น้ำตาลอ่อน น้ำตาลแก่ เพื่อเข้ากับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ส่วนบ้านที่อยู่ในแถบชายทะเลมักจะทาสีโทนฟ้า ขาว เขียวน้ำทะเล เพื่อกลมกลืนไปกับบรรยากาศชายทะเล บ้านที่อยู่ในแถบเมืองเก่าที่มีสถาปัตยกรรมโบราณ ก็ควรใช้สีโทนที่ไปในทิศทาง ละแวกนั้นไม่ใช่ใช้สีที่โดดเด่น หรือจัดจ้านจนเกินไปจนไปทำลายทัศนียภาพที่สวยงามของชุมชน
|
เตรียมตัวก่อนเลือกสีทาบ้าน
• เมื่อสีหลังคาบ้านเป็นสีโทนเข้ม สีของตัวบ้านจะเป็นสีอ่อนกว่าเพื่อให้สีของตัวบ้านเข้ากับหลังคา โดยใช้หลักการลงสีแบบหนักเบา เช่น หลังคาสีน้ำเงินตัวบ้านใช้สีฟ้า หรือสีขาว หลังคาสีส้มอิฐตัวบ้านใช้สีเนื้อ หลังคาสีเขียวน้ำทะเล ตัวบ้านใช้สีเขียวอ่อนอีกทั้งเรายังสามารถเพิ่มลูกเล่นให้กับตัวบ้านโดยใช้สีเข้มตัดตามด้านล่างจากพื้นเป็นแนวเพื่อทำให้บ้านดูมีมิติและมีสีสันเพิ่มมากขึ้น
• การใช้สีที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันคือ ทาสีผนังชั้นล่างให้เข้มกว่าผนังชั้นบนเพื่อให้บ้านดูมีลูกเล่นไม่เรียบจนเกินไป เนื่องจากการทาสีเข้มทั้งหลัง อาจทำให้รู้สีกอึดอัดได้
• ควรดูโทนสีของเฟอร์นิเจอร์ที่เราเลือกใช้เป็นหลัก หรือสีที่อยู่ในรายละเอียดต่างๆ นำมาประยุกต์ใช้เป็นเฉดสีหลัก โดยแบ่งโทนตามความเหมาะสม เฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งรอบตัวนั้นมักจะเป็นสิ่งที่ดีไซเนอร์เลือกคู่สีไว้ให้แล้ว
• คิ้วบัว สามารถใช้สีขาว หรือจะเล่นสีก็ได้ แต่อาจต้องระวังไม่ให้เข้มจนเกินไป
• ไม้เชอร่า เชิงชาย และฐานอาคาร ควรเลือกใช้โทนสีเดียวกันหรือใกล้เคียงกับตัวบ้าน โดยเพิ่มระดับความเข้มอ่อนของเฉดสี ให้มีน้ำหนักความโดดเด่น
• วงกบหน้าต่าง ประตู ปัจจุบันมักเป็นกรอบวงกบอะลูมิเนียมเคลือบสีขาว แต่หากเป็นไม้สามารถเลือกใช้ได้ทั้งสีขาว สีโทนไม้ธรรมชาติ เช่น สีน้ำตาล หรือสีโทนเดียวกับตัวบ้านแต่เข้มข้น
เฉดสีนั้นสำคัญไฉน
สีนั้นมีพลังต่ออารมณ์และความรู้สึกของคนเรา ดังนั้นเฉดสีต่างๆ ที่จะนำมาทาบ้านจึงให้อารมณ์แตกต่างกันไปตามแต่ละเฉดสี บางสีอาจจะทำให้รู้สึกปลอดโปร่งสบายตาสบายใจ บางสีทำให้ดูอบอุ่น หนักแน่นหรือบางสีก็ทำให้รู้สึก กระปรี้ กระเปร่า ตื่นเต้นซึ่งการเลือกเฉดสีที่จะทาตัวบ้านหรือภายในห้องนั้นต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้อยู่อาศัยด้วย เช่นกัน เช่น ตัวบ้านควรใช้โทนสีที่เข้ากับสภาพแวดล้อมบริเวณนั้นๆ ห้องอ่านหนังสือ ห้องน้ำควรเป็นโทนสว่าง ห้องนอน ห้องนั่งเล่นใช้สีโทนอบอุ่น หรือห้องที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอเราก็สามารถใช้สีเฉดสว่างเพิ่มความสว่างให้กับห้องนั้นๆ ได้ เป็นต้น
|
สีทาบ้านเลือกอย่างไรให้ถูกโฉลก
ปัจจุบันการเลือกสีของสิ่งต่างๆ ให้ถูกโฉลกกับผู้ใช้ทั้งรถยนต์ หรือว่าบ้านได้รับความนิยมใช้ความเชื่อเรื่องการเลือกสีตามวันเกิด ซึ่งช่วยสร้างความสบายใจในการอยู่อาศัยในบ้านหลังนั้นๆ จะประกอบกิจการ หรือพักผ่อนก็รู้สึกปลอดโปร่ง อยู่เย็นเป็นสุข
การเลือกสีทาบ้านสีต่างๆ ตามวันเกิด
วันอาทิตย์ สีที่ถูกโฉลกคือ สีเขียว / สีที่เป็นกาลกิณีคือ สีฟ้า วันจันทร์ สีที่ถูกโฉลกคือ สีเทา สีดำ สีน้ำตาล / สีที่เป็นกาลกิณีคือ สีแดง วันอังคาร สีที่ถูกโฉลกคือ สีส้ม / สีที่เป็นกาลกิณีคือ สีขาว สีครีมสีเหลือง วันพุธ สีที่ถูกโฉลกคือ สีเหลือง / สีที่เป็นกาลกิณีคือ สีชมพู หรือสีม่วง วันพฤหัสบดี สีที่ถูกโฉลกคือ สีเแดง / สีที่เป็นกาลกิณีคือ สีเทา สีดำสีน้ำตาล วันศุกร์ สีที่ถูกโฉลกคือ สีชมพู่หรือ สีม่วง / สีที่เป็นกาลกิณีคือ สีเหลือง วันเสาร์ สีที่ถูกโฉลกคือ สีฟ้า / สีที่เป็นกาลกิณีคือ สีเขียว
ชนิดของสีทาบ้าน
1.สีน้ำมันหรือสีเคลือบเงา ใช้สำหรับทางานไม้หรือโลหะ จะเพิ่มความเงางามอีกทั้งยังสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ใช้น้ำมันหรือทินเนอร์เป็นตัวผสมทำให้สีเจือจาง
2. สีย้อมไม้ การใช้งาน เหมาะสำหรับใช้กับงานไม้ภายนอกและภายในทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น วงกบ ประตู หน้าต่าง รั้วบ้าน ผนัง ราวบันได เฟอร์นิเจอร์สนาม เฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน ช่วยรักษาเนื้อไม้และขับเน้นให้สีไม้สวยงามขึ้น
3.สีพลาสติกหรือสีอะคริลิค เป็นสีน้ำพลาสติก ใช้น้ำเป็นตัวผสมทำให้สีเจือจาง แต่เมื่อสีแห้งแล้วจะไม่ละลาย หรือหลุด ลอกไปตามน้ำ สีชนิดนี้เหมาะสำหรับทาผิวพื้นปูนหรือคอนกรีตทั่วไปรวมทั้งอิฐและกระเบื้องแผ่นเรียบด้วย ซึ่งแบ่งได้ 2 ชนิด ตามลักษณะการใช้งานคือ สีทาภายในและสีสำหรับทาภายนอก สีพลาสติกสำหรับทาภายนอกจะมีคุณสมบัติในการทนแดดและฝนได้ดีกว่าสีชนิดทาภายใน นอกจากนี้สีพลาสติกต่างยี่ห้อก็ยังมีคุณสมบัติและความคงทนของสีแตกต่างกันออกไปด้วย ขึ้นอยู่กับส่วนผสมและปริมาณของเนื้อสีที่มีอยู่ทั้งนี้ระดับราคาก็แตกต่างกันไปด้วย ทั้งนี้ขั้นตอนในการเลือกใช้สีก็มีส่วนช่วยให้บ้านของคุณดูสวยงามและคงทนด้วย โดยเริ่มจากการเลือกใช้สี ควรเลือกตามสเป็คหรือเบอร์สี สีขาวหม่นและสีธรรมชาติจะเหมาะสมที่สุดเพราะจะช่วยปิดบังรอยมือหรือความสกปรกได้ดีกว่าสีอื่นๆ ห้องแต่ละห้อง อาจใช้สีที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความชอบของแต่ละคน แต่ละบริษัทผู้ผลิตสีจึงผลิตสีออกมาให้เลือกกันหลากหลาย เราจึงไม่ควรนำสีต่างๆ มาผสมเองเพราะมีโอกาสที่สีอาจผิดเพี้ยนไปได้ง่ายและไม่ควรนำสีเก่าหรือด้อยคุณภาพมาใช้ด้วย
- สีน้ำพลาสติกทาภายใน เหมาะกับการทาสีภายในบ้าน ห้องต่างๆ ภายในบ้าน สำหรับพื้นที่ที่ไม่โดนแดดโดนฝน ไม่ควร ทาสีในขณะที่พื้นผิวชื้อเพราะจะทำให้ขึ้นรา หรือสีหลุดร่อน บวมออกมาได้
|
การเลือกชนิดสีทาอาคาร
สำหรับบ้านที่มีสีเก่าอยู่
- สำหรับพื้นผิวเหล็ก ให้ขูดสีเก่าที่ติดอยู่ และขูดสนิมออกถ้ามี เสร็จแล้วทาสีรองพื้นชนิดกันสนิม เสร็จแล้วจึงทาสีน้ำมัน
- สำหรับพื้นผิวปูนซีเมนต์ ขูดทำความสะอาดสีเก่าออกให้สะอาด แล้วทาสีรองพื้นสำหรับปูนเก่า เสร็จแล้วจึงทาสีน้ำอะครีลิคบนผิวหน้าสำหรับบ้านใหม่ที่ยังไม่ได้ทาสี - หากภายในอาคารเป็นวัสดุเหล็ก ก็ควรเลือกใช้สีน้ำมัน โดยการใช้สีรองพื้นกันสนิมก่อนทำการลงสีบนพื้นผิวหน้าวัสดุ
- หากภายในอาคารเป็นวัสดุปูนซีเมนต์ ก็ควรเลือกใช้สีน้ำหรือ สีน้ำอะคริลิค โดยทาสีรองพื้นผิวสำหรับปูนใหม่ ก่อนทำการทาสีที่บนพื้นผิวหน้าวัสดุ
เทคนิคการทาสีบ้าน
- ควรมีการเตรียมพื้นผิวที่ดีว่าพื้นที่จะทานั้น แห้งสนิทไม่มีสภาพเป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะ ควรเป็นผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตกร้าวการทาสีทุกประเภทจะทาประมาณ 2 – 3 รอบและไม่ควรทาสีเกิน 5 รอบ เพราะจะทำให้ชั้นของสีมีความหนาเกินไป และหลุดร่อนได้ง่าย
- การทาสีทับหน้า สีทับหน้าหรือสีชั้นนอก มีเฉดสีต่างๆ ให้เลือกมากมาย ควรทาทับหน้า 2-3 ครั้ง โดยทิ้งระยะให้สีที่ทาครั้งแรกแห้งสนิทเสียก่อนจึงทาทับครั้งต่อไป
- สีรองพื้น คือ สีที่ใช้ทาบนพื้นผิวก่อนทาสีจริงทับหน้า เพื่อช่วยให้สีทับหน้ายึดเกาะกับพื้นผิวได้ดีและป้องกันความเสียหาย จากปฏิกิริยาเคมีระหว่างสีทับหน้ากับพื้นผิว
- เมื่อจะเริ่มทาสีต้องคนสีให้เข้ากันเสียก่อน เพราะสีที่ถูกทิ้งไว้นานๆ จะนอนก้นใช้น้ำมันสนผสมเล็กน้อยเพื่อให้มี ความหนืดพอดี กวนสีและน้ำมันสนให้เข้ากัน
- ใช้แปรงทาสีจุ่มลงไปแค่ปลายๆแปรง แล้วเริ่มทาจากขอบชิ้นงานด้านใดด้านหนึ่ง โดยเมื่อทาแนวแรกแล้วให้ทาแนวที่สองให้เกยทับแนวแรกเล็กน้อยตลอดชิ้นงาน
*ขอขอบคุณข้อมูลจาก TOA
|