Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ตกแต่งภายใน Interior design Thailand

head pattern130 Untitled 3 top124  
editor  
newproject  
decor  
design  
living  
healthy  
back  
ded124  
youtube124  
facebook124  
               
 

 

      ย้อนอดีตเมื่อช่วงพ.ศ. 2400 เป็นช่วงที่สถาปัตยกรรมของไทยเริ่มปรับตัวตามบริบทตามสังคม วัฒนธรรม และการปกครองที่เปลี่ยนแปลง ทำให้มีการพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์ โดยมีการสร้างวัง วัด สะพานข้ามคูคลอง  ถนน และอนุสาวรีย์ โดยมีนายช่างฝรั่งชาวอิตาเลียนเข้ามาเป็นวิศวกร สถาปนิก โดยได้รับมอบหมายให้สร้างอาคารสำคัญหลายแห่งในกรุงเทพ เพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงของการเข้ายุคใหม่  แม้เวลาผ่านไปนานแค่ไหน สิ่งเหล่านี้ก็ยังคงอยู่ถึงแม้ว่าความงามของมันจะลดเลือนตามกาลเวลาครับ  ไม่ให้เสียเวลามาเริ่มกันที่สถานที่แรก พระที่นั่งอนันตสมาคม ครับ

 

พระที่นั่งอนันตสมาคม

 

1

 

      พระที่นั่งอนันตสมาคมเริ่มก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้นแปดปี เพื่อเป็นที่รับรองแขกเมืองและประชุมปรึกษาราชการแผ่นดิน พระองค์ได้ทรงจ้างช่างจากอิตาลี คือ มิสเตอร์ เอ็ม.ตามานโย (M.Tamango) เป็นผู้ออกแบบ นาย ซี อัลเลกรี เป็นวิศวกร โดยมีเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง แต่การก่อสร้างดำเนินไปได้เพียงสองปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงรับช่วงการก่อสร้างต่อจนสำเร็จลงในอีก 6 ปีต่อมาซึ่งตรงกับ พ.ศ.2458 รวมเวลาทั้งสิ้น 8 ปีเป็นอาคารหินอ่อนแบบโดมคลาสสิกของโรมัน สร้างด้วยศิลปะอิตาเลียนเรอเนอซองส์และแบบนีโอคลาสสิก ภายนอกประดับด้วยหินอ่อนจากเมืองคารารา ประเทศอิตาลีบางส่วนยังแกะสลักเป็นรูปพันธุ์พฤกษา และรูปคนเพื่อประดับอาคารอีกด้วย มี รูปทรงของพระที่นั่งอนันตสมาคมนี้แบบเดียวกับวิหารเซนต์ปีเตอร์แห่งโรม และโบสถ์เซนต์ปอล กรุงลอนดอน และหากมองลงมาจากบนอากาศ ก็จะเห็นผังของพระที่นั่งเป็นรูปไม้กางเขนแบบละติน ลักษณะเด่นของพระที่นั่งอนันตสมาคมก็อยู่ที่ช่วงบนของอาคารซึ่งเป็นรูปโดมซึ่งทำจากทองแดง มีโดมใหญ่อยู่ตรงกลาง และโดมเล็กๆ อยู่รายรอบอีก 6 โดม


      ภายในพระที่นั่งบนเพดานโดมตกแต่งด้วยภาพเขียนเฟรสโก (ภาพเขียนสีบนปูนเปียก) เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑-๖ แห่งราชวงศ์จักรี จำนวน ๖ ภาพ

 

2 1

 

วัดบางขุนพรม หรือพิพิทธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

3 1

 

      กรมโยธาธิการเป็นผู้ดำเนินการออกแบบภายใต้การกำกับดูแลของพระสถิตย์นิมานการ (หม่อมราชวงศ์ชิต อิศรศักดิ์) ซึ่งงานออกแบบก่อสร้างของราชการในกรมโยธาธิการในระยะแรก ทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของ นายมาริโอ ตามาญโญ รับผิดชอบด้านสถาปัตยกรรม และนายคาร์โล อันเลกรี ดูแลด้านวิศวกรรม


      สถาปัตยกรรมวังบางขุนพรหมจึงเป็นโครงสร้างก่ออิฐฉาบปูน ผนังรับน้ำหนัก มีโครงสร้างหลังคาไม้เนื้อแข็ง มุงด้วยกระเบื้องว่าว หลังคาเป็นทรงมังซาร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นหลังคาสองชั้นซ้อนกันโดยมีความลาดของหลังคาแต่ละชั้นไม่เท่ากัน หลังคาชั้นล่างมีหน้าต่างเล็ก ๆ อย่างที่เรียกว่า ดอร์เมอร์ ยื่นออกจากหลังคาห่างกันเป็นระยะเท่า ๆ กัน


      สถาปนิกใช้สถาปัตยกรรมแบบบาโรกและโรคโกโกเป็นอิทธิพลหลักในการออกแบบ ดังจะเห็นได้จากรูปลักษณะหน้าบ้านและผนังภายนอกอาคาร หอกลมทางด้านทิศใต้ที่มีลักษณะโค้ง และผนังด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นเส้นโค้งเว้าเข้า และนูนต่อเนื่องกัน สำหรับการวางผังเป็นไปในลักษณะสถาปัตยกรรมแบบ บาโรกและใช้ต่อเนื่องมาจนปลายสมัยศตวรรษที่ ๑๙ ส่วนองค์ประกอบที่ใช้ในการตกแต่งภายในห้องต่าง ๆ มีความคล้ายคลึงกัน โดยมีการใช้ปูนปั้นเป็นเส้นนูนตามกรอบประตูและช่องแสง ที่โดดเด่นที่สุดคือ บานประตูไม้แกะลายเส้นบนกึ่งกลางของลูกฟักไม้ ช่องแสงเหนือประตูปิดด้วยแผ่นไม้ฉลุลาย และฝ้าเพดานตกแต่งด้วยแผ่นไม้ฉลุลายและเน้นลวดลายด้วยการเขียนสีทอง พื้นภายในห้องต่าง ๆ เป็นพื้นไม้สักปูเข้าลิ้น ขัดมัน

 

สะพานมัฆวานรังสรรค์

 

4

 

      สะพานมัฆวานรังสรรค์ เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างถนนราชดำเนินนอก ซึ่งเป็นถนนขนาดใหญ่ แบบที่เรียกว่า Avenue ของทวีปยุโรป อยู่ในพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ผู้ออกแบบคือนายการ์โล อัลเลกรี นายช่างชาวอิตาลี สร้างตามสถาปัตยกรรมอิตาลีและสเปน ใช้เวลา 3 ปี ลักษณะเป็นสะพานโครงสร้างคานเหล็กพื้นคอนกรีต ส่วนประดับคือรางสะพานที่เป็นเหล็กหล่อและดวงตรารูปช้างเอราวัณ ที่กลางสะพานมีเสาหินอ่อน มุมสะพานรองรับด้วยโคมไฟสำริด ผนังเชิงลาดสะพานประดับด้วยหินอ่อน สะพานแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นสะพานที่สวยงามสะพานหนึ่งในกรุงเทพฯ รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดเมื่อ พ.ศ. 2446 และพระราชทานนามว่า สะพานมัฆวานรังสรรค์

 

สะพานมหาดไทยอุทิศ

 

5

 

      สะพานมหาดไทยอุทิศมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและก่อสร้างตามวิธีสมัยใหม่ กลางราวสะพานด้านขวามีภาพประติมากรรมนูนต่ำเป็นรูปสตรีอุ้มเด็ก ในมือมีช่อดอกซ่อนกลิ่น ด้านซ้ายเป็นรูปผู้ชายยืนจับไหล่ของเด็ก เป็นภาพแสดงถึงความโศรกเศร้าอาลัยรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครับ แต่หากดูจากป้ายที่จารึกชื่อและปี พ.ศ. ที่สร้างแล้ว จะเห็นได้ว่าปีที่สร้างคือ พ.ศ. 2467 เป็นปีที่ 15 ในรัชกาลที่ 6 คือ ห่างจากปีที่พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 สวรรคตไปแล้วถึง 15 ปี อันที่จริงสะพานนี้บรรดาข้าราชกาลในกระทรวงสมัยนั้น ได้ร่วมกันบริจาคสร้างขึ้นในโอกาสที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพ้นจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นการแสดงความอาลัยถึงพระองค์ท่าน


      สะพานเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กที่แตกต่างจากสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กอื่น ๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยนั้น กล่าวคือ โครงสร้างรองรับสะพานเป็นโค้งตันทั้งแท่ง ไม่มีคาน ลูกกรงสะพานอันเป็นรูปหรีด ซุ้มย่อยมีลายนูนรูปราชสีห์ อันเป็นสัญลักษณ์ของกระทรวงมหาดไทย และซุ้มใหญ่มีรูปประติมากรรมนูนต่ำแสดงผู้ใหญ่และเด็ก แสดงความกำสรดล้วนออกแบบและสรรค์สร้างได้อย่างงดงามประทับใจมาก จึงเป็นสะพานที่มีผู้รู้จักสะพานหนึ่งของกรุงเทพฯครับ

 

ตึกไทยคู่ฟ้า

 

6

 

      ทำเนียบรัฐบาล เดิมชื่อ “บ้านนรสิงห์” พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อพระราชทานแก่ พลเอก พลเรือเอกเจ้าพระยารามราฆพ  เป็นผลงานของ อันนิบาลเล ริก๊อตติ และเออรโคเล แมนเฟรดิ ชาวอิตาลี   เป็นอาคารสูงสองชั้น สถาปัตยกรรมเป็นแบบฟื้นฟูกอทิกแบบเวเนเชียน (Neo Venetain Gothic) ที่มีศิลปะของไบเซนไทน์ผสม ถอดแบบมาจากพระราชวัง Ca’ d’Oro Palace ที่สง่างามริมแกรนด์คาแนลของเมืองเวนิส  สังเกตุจากผนังนกเจาะช่องโค้งปลายแหลมทรงสูง ประดับลวดลายปูนปั้น บางส่วนเขียนสีแบบปูนแห้ง (Fresco Secco) มีบันไดขึ้นด้านหน้า สู่ห้องโถงกลาง โดยบนระเบียงด้านหน้าหลังคา ชั้นดาดฟ้าตึก ซึ่งเป็นจุดเด่น หากมองจากหน้าตึกครับ

 

สถานีรถไฟหัวลำโพง

 

7

ภาพโดย : Wuttipong Charoensub

 

      สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด สร้างในสมัย รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในปัจจุบันสถานีรถไฟหัวลำโพง มีทางเชื่อมต่อที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ดูกลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานครหรือรถไฟฟ้าใต้ดินบริเวณถนนพระรามที่ 4


      สถานีรถไฟหัวลำโพง ออกแบบโดย มิสเตอร์ มาริโอ ตามานโญและของ อันนิบาลเล ริก๊อตติ สถาปนิกชาวอิตาเลียน ซึ่งเข้ามารับราชการอยู่ที่กระทรวงโยธาธิการ ในราชสำนักสยาม


      การก่อสร้างมีรูปแบบการมช้งานคล้ายคลึงกับสถานีรถไฟเมือง Frankfurt ประเทศ Germany โดยออกแบบโถงกลางสถานีด้วยการใช้โดมตามรูปแบบสถาปัตยกรรมอิตาเลียนในแบบเรอเนสซองซ์และนีโอคลาสสิกด้วยตัวอาคารประดับด้วยหินอ่อน และเพดานมีปั้นลายนูนต่างๆ มีมุขด้านหน้าอาคารเป็นระเบียงยาว ช่วยบังแดดและฝนให้ทางเดินชั้นล่าง


      ส่วนจุดเด่นของสถานีกรุงเทพอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งติดตั้งไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคารครับ

 

ตำหนักพรรณราย หรือตึกพรรณราย

 

8

 

      เป็นอาคารแสดงงานศิลปะ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยศิลปากรในปัจจุบัน เดิมเคยเป็นตำหนักประทับของหม่อมเจ้าหญิงพรรณราย พระมารดาของเจ้าฟ้ากรมพระยานริศราวัดติวงศ์โดยมีนายช่างกราสสิ (Signor Grassi) สถาปนิกชาวอิตาลีเป็นผู้รับผิดชอบการปรับปรุงท้องพระโรงและการสร้างตำหนักพรรณราย เน้นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเรอเนสซองซ์ ที่มีรูปแบบและสัดส่วนการวางผังแบบพาลลาเดียน (Palladian Style) โดยชั้นล่างจะมีทางเดินเลียบไปกับแนวเสาที่เป็นทรงโค้งในแบบสถาปัตยกรรมโรมัน ชั้นบนมีระเบียงหันเข้าหาสวน ซึ่งแทรกอยู่ระหว่างอาคาร ปัจจุบันอาคารหลังนี้ถูกบูรณะให้ยังอยู่ในสภาพดี เป็นอาคารที่อยู่ติดกับสวนแก้ว ซึ่งเป็นสวนประติมากรรมที่มีกลิ่นอายผสมผสานระหว่างไทยกับศิลปะอิตาลีครับ


      เป็นยังไงกันบ้านสำหรับกลิ่นอายความเป็นอิตาลีที่มีอยู่ในเมืองไทย หลายๆคนก็อาจจะยังไม่ทราบแต่ถ้าได้อ่านบทความนี้รับรองว่าได้ความรู้กลับไปอย่างแน่นอนครับ สำหรับเดือนนี้บียอนต้องขอตัวลาไปก่อน ไว้พบกันเดือนหน้า สวัสดีครับ

 

 

 


ขอบคุณข้อมูลจาก


นิตยสาร Elle Decoration
hapra.lib.su.ac.th
era.su.ac.th

ขอบคุณภาพถ่ายบางส่วนจาก
Facebook : Boy Photography

 

 

 
Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน Interior design Thailand