สวัสดีแฟนๆชาวบาริโอทุกท่านครับ เป็นอย่างไงกันบ้างเอ่ย อากาศร้อนๆแบบนี้ไปเที่ยวไหนกันบ้างครับ ^^ บียอนขอเดาว่า ช่วงนี้หลายๆคนคงอยู่แต่บ้าน ตากแอร์เย็นๆ สบายๆ หรือไม่ก็ไปเดินห้างอย่างแน่นอน ก็แหมม!!! อากาศช่วงนี้มันช่างร้อนเสียเหลือเกิน เดินย่างกรายออกจากบ้านไปได้สัก 10 ก้าว เหงื่อก็แตกโชกเต็มหลังไปหมด และในเมื่ออากาศเป็นแบบนี้สิ่งเดียวที่บียอนจะทำก็คงหนีไม่พ้น หาอะไรเย็นๆ ให้ได้ชื่นใจมากิน ^^ เผื่อจะได้ดับความร้อนรุ่มทั้งกายและใจอารมณ์ไม่เสียตามสภาพอากาศนั้นเองครับ ฮ่าๆ
ถ้าจะพูดถึงอาหารคลายร้อนในช่วงฤดูร้อนนี้ หลายๆคนคงนึกถึงอาหารจำพวก น้ำแข็งใส สลัด น้ำผลไม้ปั่นเย็นๆ หรือไอศกรีม แต่คงลืมนึกถึง ข้าวแช่ อาหารเย็นๆที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสำหรับเดือนนี้บียอนก็มีบทความดีๆ แสนสดชื่นมาส่งท้ายความร้อนนี้ด้วยการแนะนำเมนูอาหารคลายร้อน แบบชาววัง นั้นคือ “ข้าวแช่” มาฝากชาวบาริโอทุกคนครับ
ข้าวแช่ เป็นอาหารในสมัยโบราณของชาวมอญ ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ใช้ถวายพระ บูชาเทวดา และคนเฒ่าคนแก่ที่เป็นที่เคารพนับถือ เพื่อความเป็นศิริมงคล ข้าวแช่หรือข้าวสงกรานต์ของคนมอญ เรียกว่า “เปิงด้าจก์” แปลว่า ข้าวน้ำ
ประวัติข้าวแช่ของชาวมอญนั้น กล่าวว่า จากการสอบถามชายไทยเชื้อสายมอญ ที่ชุมชนวัดม่วง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ได้กล่าวถึงวันสงกรานต์ซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์โคจรจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษเป็นวันปีใหม่ เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” ซึ่งเล่าว่าเป็นวันที่เทวดาที่รักษาโลกเสด็จกลับสู่สวรรค์เป็นวันสิ้นปีเก่า วันที่ ๒ เป็น “วันเนา” หรือ “วันว่าง” ซึ่งวันนี้จะไม่มีเทวดาที่รักษาโลกอยู่หรือเรียกวันนี้ว่า “วันกระหนาบ” เพราะอยู่ระหว่างกลางระหว่าง สิ้นปีเก่าและวันขึ้นปีใหม่ ส่วนวันที่ ๓ จัดเป็น “วันขึ้นปีใหม่” หรือ “วันเถลิงศก” ซึ่งเป็นวันที่เทวดาองค์ใหม่เสด็จมารักษาโลกมนุษย์ก่อนวันสงกรานต์ ๑ วัน ชาวมอญจะบวงสรวงเทวดาที่ลานดิน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้านด้วยการสร้างศาลซึ่งทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก ประดับด้วยผ้าขาวและกาบกล้วยและประดับศาลด้วยดอกสงกรานต์ (ดอกราชพฤกษ์หรือดอกคูน) กางร่มบนศาล (ซึ่งในปัจจุบันแต่ละบ้านจะทำศาลที่เรียกว่าบ้านสงกรานต์ ไว้ที่หน้าบ้านของตนเอง) สำหรับอาหารที่ใช้ในการบวงสรวงจะมีข้าวแช่ ประกอบด้วยอาหาร ๗ อย่าง ได้แก่ กะปิทอด ปลาป่นหวาน กระเทียมดองผัดไข่ ผักกาดหวานผัด ยำขนุนอ่อน ยำปูเค็มกับมะม่วงดิบ และก๋วยเตี๋ยวผัด (คือผัดไทย) มีขนมปัง กะละแมและข้าวเหนียวแดง สำหรับวิธีการหุงข้าวแช่เพื่อใช้ในพิธีบวงสรวง จะทำโดยหุงกลางแจ้งมีราชวัติฉัตรธง เมื่อหุงแล้วเทลงในผ้าขาวบางบนกระบุง ใช้น้ำเย็นราดข้าวให้เย็นแล้วใช้มือขัดข้าวแล้วล้างยางออก ๗ ครั้ง จึงนำไปใช้ได้ วิธีดังกล่าวเรียกว่าข้าวพิธี นอกจากนี้ยังมีวิธีการหุงข้าวแช่อีกหนึ่งวิธีที่มาจากคำบอกเล่าของชาวบ้านคือ ใช้ข้าวสารหุงจนเป็นตาปลาไม่ให้ข้าวบาน จากนั้นเทใส่ในกระบุงล้างน้ำจนเย็นแล้วจึงใส่หม้อดิน ก่อนจะใส่หม้อดินมีวิธีอบหม้อดินให้หอมด้วยการใช้แกลบเผาไฟ โดยตะแคงหม้อให้ควันไฟเข้าไปอบหม้อดิน อบ ๑ วัน ๑ คืน หรือบางคนก็อบ ๓ วัน ๓ คืน แล้วแต่ความชอบ นำข้าวใส่หม้อและเทน้ำลง จะไม่มีการอบควันเทียนหรืออบน้ำดอกไม้เลย จากหนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม ๒ ของมูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
และต่อมาคนไทยได้รับเอาวัฒนธรรมข้าวแช่ของชาวมอญมาใช้ แต่ในประวัตินั้นไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด บางก็สันนิษฐานว่า น่าจะมีขึ้นในแผ่นดินไทยช่วงระยะเวลาที่ชาวมอญบริเวณประเทศพม่าตอนล่างพ่ายแพ้สงครามตั้งแต่ พ.ศ. 2082 – 2300 และเริ่มอพยพโยกย้ายเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในช่วงดังกล่าว ตามที่ราบลุ่มภาคกลาง อาทิ อยุธยา นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี นนทบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ เพชรบุรี ปทุมธานี เป็นต้น โดยช่วงแรกเริ่มนั้น ข้าวแช่ เป็นเมนูอาหารที่ไม่ได้เป็นที่แพร่หลายนัก เพราะเมนู ข้าวแช่ นี้จะมีอยู่แค่ในวังในช่วง รัชกาลที่ 5 และเมื่อสิ้นรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 ข้าวแช่ก็ได้เป็นที่รู้จักในสังคมนอกวังมากขึ้นนั้นเองครับ
เอาล่ะๆ พอรู้ประวัติความเป็นมาพอสังเขปแล้ว บียอนเองขอยอมรับเลยว่าหาข้อมูลไป ดูรูปไป น้ำลายมันก็สอเต็มปาก วันนี้เลยขออาสาพาไปชิม ข้าวแช่ร้านโปรดของบียอน ร้านนี้ตั้งอยู่แถวซอยเทศบาลนิมิตใต้นั้นคือ ร้าน บ้านประชาชื่น นั้นเองครับ ร้านนี้มีข้าวแช่เป็นเมนูเด่น หาทานได้ทั้งปี บรรยากาศทั้งภายในและนอกร้าน ก็ดูเย็นสบายตา ร้านจะเปิดรอบกลางวัน 11.00-15.00 น. รอบเย็น 17.00-21.00 น. *หยุดวันจันทร์* |
||
|
ข้าวแช่นี้ที่เสริฟ์ 1 ชุด รับประทานได้ 2 ท่าน มีส่วนประกอบ คือ ข้าวขาวสะอาด ,น้ำลอยดอกมะลิให้ความรู้สึกชื่นใจ ดับกระหาย ,เครื่องเคียงมีทั้งลูกกะปิทอด, หมูฉีกฝอยผัดหวาน, ไชโป๊วผัดไข่, หอมทอด, พริกทอดยัดไส้, และพริกหยวกยัดไส้ที่หุ้มด้วยหรุ่มอย่างสวยงาม อีกทั้งยังมีผักเคียงที่มีทั้งขมิ้นขาว มะม่วงเปรี้ยว ราคาต่อชุดก็ 220 บาท ข้าวแช่ที่นี่จะไม่อบควันเทียน เนื่องจากทางร้านบอกว่ากลิ่นมันจะฉุนเกินไป เลยขอใช้ความหอมจากดอกมะลิอ่อนๆแทนครับ
การกินข้าวแช่ถือเป็นวัฒนธรรมการกินที่ทั้งประณีตและละเมียดละไม นอกจากนี้แล้วยังถือเป็นอาหารที่ย่อยง่าย คลายความร้อน สร้างความสมดุลภายในร่างกาย ผิวพรรณชุ่มชื่น ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บไข้ เช่น ปากแตกจากอาการร้อนใน ผิวแห้ง ช่วยในเรื่องการขับถ่าย หรือท้องผูก เป็นต้น
จริงๆแล้วข้าวแช่ก็ยังมีอีกหลายที่ ที่มีเปิดขายนะครับ แต่เนื่องด้วยมาอยากกินเอาช่วงปลายเดือน พ.ค. มันก็เลยจะหายากอยู่หน่อย เพราะบางร้านก็จะทำเฉพาะช่วงฤดูร้อน และก็ด้วยเหตุบ้านการเมืองที่ไม่ค่อยจะปกติดีเท่าไร ร้านก็อาจจะเปิดบ้างไม่เปิดบ้าง ยังไงแล้วบียอนขอแนะนำว่าควรโทรสอบถามที่ร้านก่อนนะครับ ว่าเปิดร้านหรือเปล่า แล้วเปิดช่วงเวลาไหนบ้าง จะได้ไปไม่เสียเที่ยว
นอกจากร้านที่บียอนแนะนำกันไปแล้ว ก็ยังมีอีกหลายร้านเด็ดๆ ที่ขายข้าวแช่ อีกเหมือนกันนะครับ อาทิเช่น |
|
|
|
|
Cr: www.dailynews.co.th |
ข้าวแช่ "แม่ศิริ" ที่อยู่: ตรอกไกรสีห์ ถนนพระสุเมรุ บางลำพู กรุงเทพฯ โทร. 02-281-7996 และ 081-448-9924
|
|
|
ข้าวแช่ "กลางซอย" ที่อยู่: ซอยอมร 2 ถนนสุขุมวิท 49/7 คลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพ โทร. 0-2391-4988 |
Cr :news.edtguide.com |
|
|
cr:news.edtguide.com
|
ข้าวแช่ "กัลปพฤกษ์
“ข้าวแช่วังประมวญ” ที่โดดเด่นด้วยเครื่องเคียงอย่าง ลูกกะปิทอดที่ต้องใช้แรงคนกวนหลายชั่วโมงกว่าจะเข้าที่ ก่อนจะนำมาปั้น ที่อยู่: 27 ถนนประมวญ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ |
สำหรับเดือนนี้แล้วก็ขอฝากเรื่องราวของ “ข้าวแช่” ไว้ให้คุณผู้อ่านได้ไปลองติดตาม ลองชิมกันดูนะครับ เมนูที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่าจะอนุรักษ์
สวัสดีครับ ^^
|