Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ตกแต่งภายใน Interior design Thailand

head pattern127 2 asean home top124  
editor  
newproject  
decor  
design  
living  
healthy  
back  
ded124  
youtube124  
facebook124  
               
 

 

      หลังจากเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือที่เรารู้จักกันในนาม AEC ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว Karuntee เชื่อว่าหลายคนพยายามที่จะศึกษาและทำความเข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้านของไทยอีกทั้ง 9 ประเทศกันมากขึ้น


      สำหรับบางคนที่ยังไม่รู้!!! “AEC” หรือ Asean Economics Community คือ การรวมตัวของชาติในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ (Asean) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่ม Euro Zone เพราะการร่วมมือกันของประเทศต่างมุ่งหวังที่จะทำให้มีผลประโยชน์ อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น รวมไปถึงเสรีภาพทางการค้า ทั้งในด้านการนำเข้า ส่งออก แต่ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้านั่นเอง

 

      อ่ะ !! ในเรื่องเศรษฐกิจเอาไว้แฟนๆ บาริโอไปศึกษาเพิ่มเติมกันเอาเองเนอะ ^_^ (มีเว็บที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ AEC มากมาย หนึ่งในนั้นก็มีบาริโอด้วย สาระแน่นเอียดเลยค่ะ) แต่อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ ซึ่งเราควรเรียนรู้และทำความเข้าใจ ก็คือ “ที่อยู่อาศัย” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “บ้าน” นั่นเอง


      ถึงแม้ว่าประเทศในภูมิภาคอาเซียน จะมีหลายอย่างที่คล้ายคลึงกัน เช่น ลักษณะทางภูมิศาสตร์ อากาศ วัฒนธรรม แต่ความเป็นอยู่ บนพื้นฐานของการใช้ชีวิต ก็มีความแตกต่างกันในระดับหนึ่ง ซึ่งถือเป็นเสน่ห์สำคัญของแต่ละประเทศ

 

3291470569 5f485d71e2 b

 

      ลาว

 

       เริ่มจากลาวประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้กับไทยมากที่สุด ลักษณะสำคัญของบ้านเรือนในลาว มีความใกล้เคียงกับพี่น้องชาวไทยในภาคตะวันออกฉียงเหนือ (อีสาน)  โดยที่อยู่อาศัยของชาวลาว  มีจุดเด่นตรงหลังคาที่มีทรงแหลมชะลูด ตัวบ้านเป็นแบบยกพื้น ใต้ถุนสูง นิยมสร้างด้วยไม้ แต่ในปัจจุบันเริ่มสร้างบ้าน 2 ชั้น ซึ่งชั้นบนเป็นบ้านไม้และชั้นล่างเป็นแบบปูน

 

Myanmar

 

      พม่า

 

      ลักษณะบ้านในประเทศพม่านั้น ในชนบทบ้านเรือนจะมีลักษณะยกสูง โดยชั้นบนมักใช้เป็นไม้ไผ่ขัดหรือใบไม้สานมาทำผนัง  ในส่วนของหลังคาจะมุงด้วยใบไม้ท้องถิ่น ที่อยู่อาศัยของชาวพม่าในชนบทมักปลูกติดกับสวนหรือทุ่งนา  มีรั้วกั้นบริเวณโดยใช้เสาไม้ หรือไม้ไผ่สานแบบง่ายๆ สำหรับแบ่งขอบเขตพื้นที่

 

      ทางด้านเมืองหลวง บ้านส่วนใหญ่จะเป็นตึกผสมสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนี่ยล  ประกอบด้วยอาคารพาณิชย์จำนวนมาก ลักษณะโดยทั่วไปของบ้านเป็นแบบ 2 ชั้น เพิงหมาแหงนหรือจั่ว บางครั้งก็ทำด้วยไม้ทั้ง 2 ชั้น บางบ้านอาจออกแบบโดยการนำไม้มาผสมกับไม้ไผ่ขัดเป็นผนัง  สำหรับครอบครัวที่มีฐานะดีขึ้นมาในระดับหนึ่ง จะสร้างบ้านเป็นแบบบ้านปูนชั้นล่างผสมไม้  เป็นต้น

 

Singapore1

 

      สิงคโปร์

 

      ตามนโยบายของรัฐบาลสิงคโปร์ ได้ออกกฎระเบียบว่า “สิงคโปร์จะไม่มีของเก่า ไม่มีบ้านเก่า”  และมีการบังคับให้บ้านทุกหลังทาสีใหม่อยู่เสมอ บ้านในประเทศสิงคโปร์จึงดูเหมือนใหม่ตลอดเวลา  แต่ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีพื้นที่น้อยมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เคยเป็นเกาะมาก่อน และถูกถมที่เพื่อสร้างประเทศขึ้นมา จึงขนาดเล็ก ทำให้ต้องแบ่งสรรการใช้พื้นที่ให้เหมาะสม บ้านพักอาศัยของชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่จึงเป็นจำพวกอาคารชุด อพาร์ตเม้นท์ อาคารสูง เพราะต้องการสร้างในพื้นที่น้อยแต่ประโยชน์ใช้สอยเยอะ และสามารถอาศัยอยู่รวมๆ กันได้หลายครอบครัว ด้วยเหตุนี้บ้านเดี่ยวในสิงคโปร์จึงมีน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมด  ซึ่งทางประเทศสิงคโปร์ได้วางผังเมืองเอาไว้อย่างชัดเจน

 

Cambodia

 

      กัมพูชา

 

      บ้านเรือนในประเทศกัมพูชามักนิยมสร้างด้วยไม้แบบดั้งเดิม โดยจะมีลักษณะแบบยกใต้ถุนสูง มีบันไดยาว ใต้ถุนบ้านเอาไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์ มีความคล้ายคลึงกับบ้านไทยสมัยโบราณ แต่ปัจจุบันก็เริ่มลดความสูงของใต้ถุนลง และแยกสัตว์เลี้ยงออกจากใต้ถุนบ้าน

 

Vietnam1

 

     เวียดนาม

 

      บ้านเรือนในประเทศกัมพูชามักนิยมสร้างด้วยไม้แบบดั้งเดิม โดยจะมีลักษณะแบบยกใต้ถุนสูง มีบันไดยาว ใต้ถุนบ้านเอาไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์ มีความคล้ายคลึงกับบ้านไทยสมัยโบราณ แต่ย้อนไปเมื่อครั้งสงคราม เวียดนามเคยตกเป็นเมืองขึ้นของจีนและฝรั่งเศส ทำให้ได้รับอิทธิพลต่างๆ มามากมาย ทั้งเรื่องอาหารการกิน ภาษา รวมไปถึงสิ่งก่อสร้าง รูปทรงและศิลป์การตกแต่งนับตั้งแต่ตึกรามบ้านช่อง ซึ่งมักมีการผสมผสานรูปลักษณ์ของจีนอยู่มากแต่บางพื้นที่ก็มีศิลป์ของฝรั่งเศส หรือ ญี่ปุ่น อยู่อย่าง เช่น ตึกที่อยู่อาศัยที่ดูทันสมัย เป็นตึกสีเหลืองสไตล์โคโลเนียลที่มีให้พบเห็นมากมาย ปัจจุบันก็เริ่มลดความสูงของใต้ถุนลง และแยกสัตว์เลี้ยงออกจากใต้ถุนบ้าน

 

ce44c0a630ce9ad92bd9c7f3c392dc2d

 

      อินโดนีเซีย

 

      อาคารโบราณสถานบนเกาะชวายุคประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่สร้างด้วยศิลา  มีบางแห่งบนเกาะสุมาตราและเกาะบาหลีที่สร้างด้วยอิฐมรโครงสร้างหลังคาแบบสันเหลื่อม  มักเรียกโบราณสถานเหล่านี้ว่า  “จันทิ”  (Candi)  มีลักษณะเป็นอาคารทรงเหลี่ยมตั้งอยู่บนฐานขนาดใหญ่  และสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์ที่สุด  คือ  พระสถูปบุโรพุทโธ  (Borobudur)  บนเกาะชวา

 

      บ้านเรือนโดยทั่วไปของชาวอินโดนีเซียจะใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นมาเป็นอุปกรณ์ในการก่อสร้าง  มีลักษณะคล้ายกับบ้านเรือนในประเทศอื่นๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ที่อินโดนีเซียเรียกบ้านเหล่านี้ว่า “บ้านทรงบาตัก” และเรียกแตกต่างกันไปตามพื้นที่ต่างๆ

 

      - เกาะบอร์เนียวกลาง เรียกว่า บ้านยาว (The Longhouse of the Dayak)  

      - เกาะสุมาตราตะวันตก เรียกว่า บ้านทรงเขาควาย (The Houses of the Minangkabau)   

      - เกาะสุมาตราตอนเหนือ เรียกว่า บ้านทรงบาตัก  (The Houses of the Batak)  

 

Malay

 

      มาเลเซีย

 

      เดิมทีสถาปัตยกรรมแต่โบราณของมาเลเซียมีความซับซ้อนและเหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้นมาก โดยลักษณะการออกแบบบ้านเป็นแบบใต้ถุนสูง ประกอบด้วยหลังคาสูงและหน้าต่างขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดี ช่วยให้บรรยากาศภายในบ้านปลอดโปร่งและเย็นสบาย ในขณะเดียวกันมาเลเซียยังให้ความสำคัญในการออกแบบบ้านเพื่อลดความเสี่ยงจากน้ำท่วม ทั้งยังเน้นในเรื่องลวดลายจากธรรมชาติที่ประณีตสวยงามอีกด้วย

 

     ส่วนปัจจุบันบ้านของชาวมาเลเซียหรือชาวอิสลามหลายแห่ง ได้นำแรงบันดาลใจของรูปแบบบ้านแบบแขกมัวร์มาผสมผสานเข้าด้วยกัน เช่น อาคารพิพิธภัณฑ์ศิลปะอิสลาม และอาคารจำนวนมากในรัฐปุตราจายา (ที่ตั้งรัฐบาลแห่งใหม่) และสุเหร่าหลายแห่งทั่วประเทศ

 

brunei color sheds

 

      บรูไน

 

      ถึงจะเป็นประเทศเล็กๆ แต่ชาวบรูไนกลับมีรายได้เฉลี่ยต่อคนค่อนข้างสูง บ้านเรือนส่วนใหญ่จึงมีขนาดใหญ่และทันสมัย โดยมีรูปแบบที่แตกต่างไปตามความชอบของแต่ละบุคคล จุดเด่นของบ้านในบรูไนคือ การดีไซน์ห้องรับแขกให้มีพื้นที่กว้างขวาง พร้อมทั้งการตกแต่งที่สวยงาม เพื่อรองรับแขกหรือญาติที่มาเยี่ยมเยือนในพิธีการหรือเทศกาลต่างๆ รวมไปถึงอาณาเขตภายนอกบ้านที่มีพื้นที่กว้างเช่นเดียวกัน  เพราะชาวบรูไนมักจัดงานมงคล งานแต่งงานภายในบริเวณนั่นเอง ที่สำคัญประชาชนบรูไนนิยมสร้างบ้านเรือนตามริมน้ำ จึงทำให้เกิดหมู่บ้านริมน้ำ “กำปงอัยร์” ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันตับต้นๆ ของประเทศ

 

      ปัจจุบันการจัดสรรที่อยู่อาศัยในบรูไนเป็นไปทางที่ดีและมีสุขลักษณะมากขึ้น โดยเฉพาะการที่รัฐบาลได้ออกนโยบายในการสร้างบ้านจัดสรรให้ในพื้นที่กัมปงไอเยอร์ให้กับประชาชน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

032e0973c373a4f6021129e38df208e0

 

      ไทย

 

      ประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาคใหญ่ๆ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งแต่ละภาคมีวัฒนธรรม ความเชื่อที่แตกต่างไป ส่งผลต่อการดำรงชีวิตในด้านต่างๆ รวมไปถึงลักษณะของบ้านเรือนที่อยู่อาศัย  แต่ในปัจจุบันไทยได้รับอิทธิพลการสร้างที่อยู่อาศัยมาจากหลากหลายแห่ง โดยเฉพาะทวีปยุโรป ตัวบ้านจึงมีความเรียบหรูและสวยงามเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น

 

      ได้เห็นลักษณะบ้านของแต่ละประเทศในอาเซียนไปแล้ว เรียกได้ว่ามีเสน่ห์ที่แตกต่างกันออกไป จริงมั๊ยคะ?  สำหรับใครที่อ่านแล้วชื่นชอบ Karuntee มีวิธีการตกแต่งบ้านสไตล์อาเซียน ซึ่งได้รวบรวมเอกลักษณ์ วัฒนธรรม การใช้ชีวิตของชาวอาเซียน มาเป็นกิมมิคหลักในการออกแบบและตกแต่งภายใน 

 

75320a7bba239eb1e38b304a02e440f8

 

การแต่งบ้านสไตล์อาเซียน

 

      โครงสร้างของบ้านต้องออกแบบโดยการเน้นให้ดูโปร่งโล่ง

 

      เพราะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น บ้านเรือนส่วนใหญ่จึงเน้นการสร้าง Space ที่โปร่งโล่ง รวมไปถึงการเส้นสายในการออกแบบที่ดูเรียบง่าย สบายตา และสามารถเชื่อมต่อภายในและภายนอกให้ประสานกันได้อย่างกลมกลืนกลมกลืน โดยสร้างช่องทางให้ลมไหลผ่านเพื่อระบายความร้อน ในขณะเดียวกันยังช่วยเปิดรับแสงสว่างได้ ด้วย Fin แผงบังแดดระแนงไม้ หรือออกแบบให้บ้านมีการยื่นชายหลังคายาวและกันสาดกว้าง เพื่อกันแดดและลมฝน

 

      ปลูกต้นไม้เขียวขจี

 

      ด้วยความที่ภูมิประเทศในอาเซียนมีอากาศที่ร้อนถึงร้อนมาก ประเทศต่างๆ จึงมักปลูกต้นไม้หรือตกแต่งสวนภายในบ้าน เพื่อช่วยลดทอนบรรยากาศให้ผ่อนคลาย ซึ่งพรรณไม้ที่นำมาปลูกจะต้องทนต่อแสงแดด ส่วนมากจะเป็นไม้ประดับที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้น เช่น ต้นมอนสเตอร่า หมากเหลือง มรกตแดง วาสนา หรือว่าที่มีใบสีสันสวยงามอย่างโกสน เป็นต้น รวมไปถึงไม้ยืนต้นชนิดต่างๆ ที่สามารถบังแดด เรียกลมเข้ามาภายในบ้านได้

 

      การใช้สีเอิร์ธโทน

 

      เพราะอุณหภมิที่สูง การใช้สีโทนร้อนจึงไม่เหมาะกับการตกแต่งบ้านในภูมิภาคอาเซียน  อาจลดทอนมาใช้แนวเอิร์ทโทน ที่มอบความสว่าง สดใส แต่ไม่ดูฉูดฉาดมากไป  ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มสีเบจ ครีม น้ำตาลอ่อน โดยโทนสีเหล่านี้ล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ หรือจะเน้นการตกแต่งที่โชว์เนื้อสีของวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ไม้โอ๊คย้อมสี เส้นหวาย สอดแทรกด้วยความเขียวขจีของใบไม้ ดอกไม้เขตร้อนพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งช่วยเติมความสดชื่นมีชีวิตชีวาให้กับบ้านได้อย่างดี

 

      ตกแต่งด้วยวัสดุจากธรรมชาติ

 

      โดยทั่วไปการตกแต่งบ้านของชาวอาเซียนมักนำวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ในการตกแต่งหรือสร้างบ้าน (ดังจะเห็นได้จากหลายๆ ประเทศที่ยังอาศัยอยู่ในบ้านไม้ ) ส่วนวัสดุที่นิยมใช้ คือ การนำไม้มาใช้ประกอบเป็นในโครงสร้างของตัวบ้าน หลังคา และเสริมด้วยผนังปูน (สำหรับบ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน)  เพื่อให้บ้านแข็งแรง ทนทานมากขึ้น ในส่วนของวัสดุไม่ที่ยังนำมาใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ไม้ไผ่ ที่นำมาทำเป็นม่านบังแสง กำแพงรั้ว ผนังอาคาร ตลอดจนในส่วนของโครงสร้างการรับน้ำหนักหลัก  รวมถึงการกรุพื้นผนังด้วยวัสดุสานจากธรรมชาติ เช่น ไม่ไผ่ พื้นกระเบื้องซีเมนต์ กระเบื้องดินเผา ทั้งแบบเรียบและลวดลายสีสันที่มีกลิ่นอายพื้นเมืองเพื่อสร้างลูกเล่นที่สวยงาม



องค์ประกอบสำคัญที่มักนำมาตกแต่งบ้านสไตล์อาเซียน ได้แก่...

 

cace80e336ce5f1ad425eb6425dbe3b2

 

      1. บ้านสไตล์อาเซียนมักตกแต่งด้วย “โซฟา” ซึ่งผลิตจากวัสดุธรรมชาติ เช่น โซฟาสานจากผักตบชวา โซฟาหวาย โซฟาไม้ไผ่

 

da18cb0b856435812a9a04fe3d407f7c

 

      2. ตกแต่งด้วยผ้าพื้นเมือง ประเทศในอาเซียนถือเป็นแผ่นดินแห่งวัฒนธรรม รวมไปถึงอุดมไปด้วยวัสดุผืนผ้าที่ผลิตจากธรรมชาติลวดลายสวยงาม สามารถนำมาตัดเป็นเสื้อผ้า รวมไปถึงใช้ตกแต่งบ้านตามมุมต่างๆ  นำไปแขวน ปูพื้น  ใช้เป็นปลอกหมอน  ประดับโต๊ะอาหาร สร้างบรรยากาศเก๋ๆ ให้ภายในบ้าน

 

33604756f6c5133cd93dd822c306b7f9

 

      3. เฟอร์นิเจอร์รูปร่างแปลกตาที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางของ  เป็นต้น

 

f04b88c2be50e8a32e1f91843d0068c8

 

      4. โคมไฟสไตล์อาเซียน ซึ่งมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และหาได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟสาน หรือโคมไฟกระดาษสา

 

b056f7cfe3b6d8b858ded692492a748e

 

      5. ตกแต่งด้วยไม้ประดับพื้นถิ่น ไม้ประดับที่ขึ้นได้ดีในโซนเขตร้อนชื้น นอกจากช่วยทำให้บ้านดูสวยงามขึ้น ยังสร้างบรรยากาศให้สดชื่นและผ่อนคลายได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น  มอนสเตอร่า หมากเหลือง เฟิร์น ฯลฯ

 

d23f37c798e1be97c64b5f08f09b0a40

 

      6. แต่งบ้านด้วยกลิ่นหอม ถิ่นอาเซียนขึ้นชื่อในเรื่องของเครื่องหอม เห็นได้จากการประกอบธุรกิจสปา โดยเฉพาะประเทศไทย เมื่อนำบรรดาเครื่องหอม ทั้งธูปหรือเทียนหอม เพิ่มบรรยากาศให้ดูชิลได้อีกเป็นกอง

 

      เมื่อได้รู้จักประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนของไทย หลายคนคงได้ไอเดียในการแต่งบ้านให้ทันสมัยเข้ากับยุค AEC บ้างแล้ว หรือใครที่อยากดึงเอาเสน่ห์ของแต่ละประเทศมารวมกันอยู่ในที่เดียว ก็ลองทำดูนะคะ Karuntee เชื่อว่าเสน่ห์ของชาวอาเซียนไม่แพ้ที่ไหนๆ แน่นอนค่ะ

 

 

 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก

pinterest.com

 

 
     

 

ลาว

Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน Interior design Thailand