Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ตกแต่งภายใน Interior design Thailand

home head
head1

 

 

 

หลากหลายเรื่องราวความรักมากมายที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นรักไม่มีพรมแดนกั้นคนต่างชาติ ต่างภาษา รักไม่มี การแบ่งชนชั้น วรรณะหรือแม้กระทั่งรักไม่มีคำจำกัดความเรื่องแพศเข้ามาเกี่ยวข้อง ขึ้นชื่อว่าความรักแล้วนั้น ย่อมสร้าง ความสุข ความมีชีวิตชีวา ขณะเดียวกันความรักก็ได้ได้สร้างความทุกข์และความเสียใจไปพร้อมๆ กัน แต่ก็ยังมีความรัก อีกหนึ่งรูปแบบ ที่ไม่ว่ายังไงก็ไม่เคยจางหายหรือลบเลือนไป จนตราบสิ้นลมหายใจของทุกๆ คน นั่นก็คือ ความรักที่มีต่อ “แม่” หรือ “มารดา” คนที่เลี้ยงและดูแลเรามาเป็นอย่างดีตั้งแต่ยังไม่ทันลืมตาดูโลก ถ้าให้เปรียบว่าแม่คืออะไร? หลายๆคน คงบอกว่า

 

 

“แม่” เป็นพระประจำบ้าน คนที่คอยอบรมสั่งสอนให้เราเป็นคนดีและทำในสิ่งที่ถูกต้อง
“แม่” คือผู้ให้โดยไม่หวังอะไรตอบแทน ให้ได้ทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิตของตัวเอง
“แม่” คือคนที่เจ็บกว่าเรา เมื่อเราหกล้มและผิดหวัง

 

 

นั่นคือตัวอย่างคำนิยามของ “แม่” มากมายที่แต่ละคนสื่อออกมา แต่เอ...เคยสงสัยกันมั๊ยว่าทำไมคนไทยจึงเรียกคนที่ให้ กำเนิดว่า “แม่” ? คำสั้นๆ แต่มีความหมายมากมาย (พูดไปวันนี้ก็คงจะอธิบายไม่หมด) เหตุผลง่ายๆ จากนักภาษาศาสตร์ที่ได้ตั้งข้องสังเกตว่าเพราะว่า ม.ม้า เป็นพยัญชนะที่เป็นหน่วยเสียงที่ออกเสียงได้ง่าย(นอกจากนี้ยังมีพยัญชนะ พ , ป ,บ ) ไทยเรียกฐานที่เกิดเสียงนี้ว่า ฐานโอษฐชะ คือเสียงที่ขณะเปล่งออกมาจะมีการเม้มริมฝีปาก แล้วเปล่งเสียง ซึ่งเป็นการเปล่งเสียงตามธรรมชาติได้อย่างง่ายๆ ในเด็กเเรกเกิดนั่นเอง เอ...แล้วอย่างนี้คนต่างชาติต่างภาษากับเรา เขาก็ต้องใช้พยัญชนะที่ขึ้นต้นด้วย ม.ม้า เหมือนกันกับประเทศเราหรือเปล่าน่ะ  มาดูกันว่าคำว่า “แม่ในแต่ละภาษานั้นแต่ละประเทศเรียกอย่างไรกันบ้าง

 

 

 

เริ่มกันที่ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน มาเรียนรู้คำง่ายๆ เพื่อต้อนรับ AEC กัน

 

ลาว เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "อีแม"

 

พม่า เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “อะเหม่”

 

เวียดนาม เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "แม๊"

 

กัมพูชา เรียกผู้ให้กำเนิดว่า ว่า "กุนแม"

 

มาเลเซีย เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "เมาะ,แมะ"

(หมายเหตุภาษามาเลเซียและภาษาบรูไนใช้ภาษาเดียวกัน)

 

อินโดนีเซีย เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “อีบุ”

 

ฟิลิปปินส์ เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “อินา”

 

จีน เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "ม่าม้า"

(แต้จิ๋ว) จีนกลางอ่านว่า "มาหมะ"

(สิงคโปร์เรียกเหมือนกันกับจีน เพราะใช้ภาษาเดียวกัน)

 

1

 

 

2

 

 

 

 

รู้คำว่า “แม่” จากประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงเราแล้ว มาดูกันว่าประเทศต่างๆ เขาเรียกว่าอะไรกันบ้างมาดูกันที่ทวีปเอชียกันก่อนค่ะ

 

ญี่ปุ่น จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "โอกาซัง"

 

เกาหลี เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "ออมม่า”

 

ทางด้านฝั่งทวีปยุโรป

 

อย่างประเทศอังกฤษ เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "มาเธอร์ (Mother)"

หรือ "มัม (Mom)"

 

เยอรมัน เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "มุสเธอร์ (Mutter)
หรือ มาม้า(Mama)"

 

ฝรั่งเศส จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มามอง (Maman)"

 

อิตาลี จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มาเดร (Madre)"

 

โปรตุเกส เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "แมะ (Mae)"
รวมทั้งแถบสแกนดิเนเวีย (เดนมาร์ก, นอร์เวย์, สวีเดน)

จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มัวร์ (Mor,Moder)"

 

ส่วนภาษาที่ประเทศไทยยืมมาใช้อย่างภาษาสันสกฤต เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มารดา" (ซึ่งไทยมักจะใช้เรียกเป็นภาษาทางการ)

 

บาหลี เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มาตา"

 

คนชนเผ่าปกากะญอ เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "โม่"

 

ชนเผ่าอาข่า เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "อะมา"

 

 

หลายคนคงสังเกตว่า คำส่วนใหญ่ที่เรียกผู้ให้กำเนิดของแต่ละประเทศนั้นจะขึ้นต้นด้วย ม.ม้า แต่ก็ยังมีบางประเทศที่เรียกแตกต่างกันออกไป เช่นประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า “โอกาซัง” ( ความจริงแล้วคำแรกที่เด็กญี่ปุ่นเรียก “แม่” ก็คือม๊าหรือมัมก่อน ที่จะเรียกว่า โอกาซัง ,But first word of Japanese's baby is MA or MOM) ซึ่งเป็นการกล่าวถึง “แม่” อย่างสุภาพ รวมทั้งในปัจจุบันเด็กญี่ปุ่นจะเรียกแม่ของตัวเองว่า "มาม่า”

 

ถึงจะมีคำเรียกมากมาย แทน “ผู้ให้กำเนิด” ในแต่ละประเทศแตกต่างกันออกไป แต่เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าคำเหล่านั้นต่างมีคุณค่าและความหมายลึกซึ้ง เพื่อใช้เรียกแทนผู้หญิงที่ลูก “รัก” มากที่สุด ขณะเดียวกันก็เป็นผู้หญิงที่รักลูกมากที่สุดเช่นเดียวกัน วันแม่ปีนี้อย่าลืมบอกรักและเป็นคนดีของคุณแม่กันนะคะ ^_^

 

 

 

 

 

Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน Interior design Thailand