86 พรรษาองค์ราชันย์
ธันวาคมของทุกๆ ปี อาจเรียกได้ว่าเป็นเดือนที่คนไทยมีความสุขมากที่สุด เพราะนอกจากจะเป็นเดือนส่งท้ายปีแล้ว ยังเป็นเดือนที่มีวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระผู้ซึ่งเป็นกษัตริย์อันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทยอยู่อีกด้วย
พระองค์ทรงงานหนักเพื่อพัฒนาประเทศไทย ทุกโครงการพระราชดำรินานัปการที่พระองค์ได้ทรงริเริ่มล้วนแต่สร้างประโยชน์สุขให้แก่พสกนิกรทั้งประเทศ อีกทั้งพระองค์ยังมีพระปรีชาสามารถหลากหลายในด้านศิลปะวิทยาการ ต่างๆ ตั้งแต่การถ่ายภาพ ไปจนถึงการเล่นดนตรีซึ่งพระองค์รักและชื่นชอบเป็นพิเศษ กระทั่งได้สร้างสรรค์ผลงานมากมายที่ ตรึงตราตรึงใจคนไทยทั้งประเทศและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลตราบจนถึงทุกวันนี้
เนื่องในวโรกาสครบรอบวันคล้ายวันพระราชสมภพ 86 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ขออันเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์อันไพเราะจากพระปรีชาสามารถทางด้านดนตรีของพระองค์ ที่อยู่ในความทรงจำตั้งแต่สมัยเด็กมาให้ได้ชื่นชมกัน
เพลงแรก เป็นเพลงที่เข้ากับบรรยากาศช่วงนี้เป็นอย่างมาก นั่นก็คือ เพลงลมหนาว (Love in Spring) ได้ฟังทีไรก็ไพเราะเพราะพริ้งทุกที เพลงนี้ถือเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ ลำดับที่ 19 ที่ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2497 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริทรงนิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ และได้พระราชทานเพลงนี้ออกบรรเลงครั้งแรกในงานประจำปีของสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศ สวนลุมพินี เมื่อวันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา แต่งคำร้องภาษาไทยถวาย ในจังหวะ Waltz
เพลงนี้เป็นเพลงที่มีลีลาไพเราะและมีเสน่ห์ไพเราะในจังหวะเนิบช้านั้น ฟังแล้วเกิดความอบอุ่น มีความสุขก็ดี หรือบางทีอาจจะฟังแล้วเศร้าๆ เหงาๆ ก็ได้อารมณ์ไปอีกแบบเช่นกัน โดยเนื้อหาของเพลงจะพรรณนาถึงบรรยากาศ ที่แสนจะ ประทับใจยามเมื่อลมหนาวพัดผ่านมาในแต่ละปี ซึ่งทุกอย่างอาจจะดูรื่นรมย์เพราะความรักที่สมหวัง แต่ในเที่ยวกลับ ก็กลับกล่าวถึงธรรมชาติยามลมฝนตกกระหน่ำทำให้ทุกอย่างดูเศร้าหมองเพราะความรักที่แปรเปลี่ยน ได้เช่นกัน
ลมหนาว
ยามลมหนาว พัดโบกโบยโชยชื่น โอ้รักเจ้าเอ๋ย พิศดูสิ่งใด ยามลมฝน พัดโบกโบยกระหน่ำ เหมือนรักผิดหวัง น้ำตาหลั่งริน
|
|
อีกหนึ่งบทเพลงที่มีเนื้อหาชวนฟังอย่าง “ใกล้รุ่ง” ซึ่งก็เป็นบทเพลงที่สามารถส่งต่อกำลังใจให้กับคนที่กำลังท้อแท้ และ เหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี โดยเนื้อหาของเพลงได้สื่อถึงความงามของธรรมชาติยามรุ่งเช้า ซึ่งเปรียบเสมือนความหวัง และ กำลังใจในวันใหม่ ที่ว่า “ท้องฟ้าเมื่อมีมืด ก็จะมีสว่างตามมาเสมอ”
นอกจากนี้ ในบทเพลง “ใกล้รุ่ง” นี้ยังบรรยายและพรรณาให้ผู้ฟังได้เห็นภาพบรรยากาศ ยามเช้าของบ้านเราได้อย่าง ชัดเจนเลยทีเดียว
“ใกล้รุ่ง” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 4 ซึ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2489 ขณะยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์คำร้องภาษาไทย มีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงช่วย ส่วนคำร้องภาษาอังกฤษ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ประพันธ์ขึ้น และพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริทรงช่วยแก้ไข แล้วพระราชทานให้วงดนตรีสุนทราภรณ์นำออกบรรเลงครั้งแรกทางสถานีวิทยุกระจาย เสียงกรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ปัจจุบัน) เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2489
ใกล้รุ่ง
ได้ยินเสียงแว่วดังแผ่วมาแต่ไกลไกล
|
|
เพลงสุดท้ายที่จะขอแนะนำในวันนี้คงเป็นเพลง “แผ่นดินของเรา” ซึ่งเป็นบทเพลงลำดับที่ 35 ในเพลงพระราชนิพนธ์ ซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่า “Alexandra” อันเป็นชื่อแรกของเพลงนี้ โดยเพลงนี้ได้เกิดขึ้นในขณะที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปต้อนรับเจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเคนท์ จากสหราชอาณาจักร ในวาระที่มาเยือนประเทศไทยในปี พ.ศ. 2502 Alexandra
Alexandra
อย่างไรก็ดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาเห็นว่าทำนองเพลง Alexandra มีเพียง 16 ห้องเพลง จึงได้ทรงนิพนธ์เพิ่มเติม โดยมีท่อนกลางและท่อนท้าย จนครบ 32 ห้องเพลง
เนื้อร้องของเพลงแผ่นดินของเรา ได้แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของประเทศชาติของเรา ทั้งในแง่ของ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ล้นเหลือสมดังคำว่า “ทรัพย์จากผืนดิน สินจากนที” และในแง่ของประวัติศาสตร์ และความเป็นมาที่น่าภาคภูมิใจของชาติเราในท่อนที่ว่า
แผ่นดินของเรา
ถึงอยู่แคว้นใด ไม่สุขสำราญ
|
|
เพียงแค่ 3 บทเพลงที่ยกตัวอย่างมา ก็ไม่สามารถจะบรรยายความรู้สึกออกมาเป็นคำพูดอื่นได้ นอกจากคำว่า ไพเราะ ลึกซึ้งกินใจและประทับใจเหลือเกินในทุกๆ บทเพลงพระราชนิพนธ์ พร้อมกันยังเกิดความรู้สึกชื่นชมท่วมท้นกับ พระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประมุขของชาติไทยเรา
“ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ”
|