Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ตกแต่งภายใน Interior design Thailand

head pattern113-2 greenroof top113
editor113
newproject113
decor113
design113
living113
healthy113
back113
ded113
youtube113
facebook113

 

 

      

       สำหรับเดือนเมษายนนี้ เข้าสู่หน้าร้อนอย่างเต็มตัว หลายๆคนคงได้ยินข่าวเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศแล้วนะครับ ว่าปีนี้จะเป็นปีที่ร้อนที่สุดในรอบ 55 ปี ร้อนสูงถึง 44 องศากันเลยทีเดียว  ร้อนแบบนี้ก็ทำให้ไม่อยากออกไปไหนกันใช่ไม่ละครับ ฮ่าๆ แต่ก็นะ ประทศไทยเราเป็นเมืองร้อน ก็ต้องปรับสภาพร่างกายปรับที่อยู่อาศัยให้เข้ากับภูมิอากาศกันนะครับ อย่างวันนี้บียอนก็มีเรื่องราวของการคลายร้อนให้บ้านของเราเย็นสวนกระแสสภาพอากาศกันสักหน่อย นั้นคือเรื่องราวของหลังคาสีเขียว หรือ Green roof ครับ

 

      Green Roof , Living Roof  หรือหลังคาสีเขียว หลายคนคงรู้จักหรือเคยเห็นกันมาแล้ว แต่ในเมืองไทยอาจจะไม่แพร่หลายเท่าที่ควร  Green Roof  ได้ถูกทำขึ้นมากว่าศตวรรษแล้วโดยเริ่มทำในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ในลักษณะปลูกหญ้าบนหลังคาบ้าน โดยมีจุดประสงค์เพื่อควบคุมอุณหภูมิภายใน

 

 

 

 

 

 

greenroof1

 

 

       ปัจจุบันเนื่องจากผู้คนเริ่มที่จะตระหนักถึงภัยธรรมชาติ ที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ทำให้หันมาดูแล เข้าหาธรรมชาติกันมากขึ้น อีกทั้งการเพิ่มของจำนวนประชากรในเมืองใหญ่ๆ เป็นผลทำให้ราคาของอสังหาริมทรัพย์พุ่งสูงขึ้น ทำให้ขาดแคลนพื้นที่สีเขียว ดังนั้น Green Roof จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

 

      หลังคาเขียวในยุคแรกหรือหลังคาเขียวในรูปแบบที่เรียบง่ายที่สุด อาจเป็นการวาง ไม้กระถางบนพื้นที่ดาดฟ้า ทั้งเพื่อความสวยงาม ช่วยลดความร้อนและช่วยลดแสงสะท้อนจากแสงแดดได้นั้นเองครับ

 

 

ปัจจุบัน Green Roof นั้นได้ถูกนำมาแยกความหมายได้ 2 แง่ คือ

 

 

1.Green roofs ในแง่ของเทคโนโลยีอาคาร

 

      หลังคาที่เป็นสีเขียวจากการมีพืชพันธุ์ปกคลมอยู่ข้างบน ไม่ว่าจะเป็นพืชพรรณคลุมดิน ไม้เลื้อย หรือลักษณะใดๆก็ตาม ซึ่งจะเน้นถึงการลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยตรง นอกเหนือไปจากการสร้างสภาวะสบายและลดการใช้พลังงานของอาคาร

 

 

2. Green roofs ในแง่ของการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อการประหยัดพลังงาน

 

      โดยเน้นที่วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยลดอุณหภูมิ ลดการใช้พลังงาน สร้างสภาวะน่าสบาย ในรูปแบบของสถาปัตยกรรมสีเขียว เช่น แผง Solar Cell เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งตามการใช้สอยได้อีก 2 แบบคือ

 

      2.1 Intensive Green Roof (หลังคาเขียวที่มีประโยชน์ใช้สอย) คือ สามารถปลูกพืชทั้งชนิดเล็กและชนิดใหญ่ได้จริงๆ และทำกิจกรรมต่างๆได้ เช่น เป็นสวนหลังคา หรือ พื้นที่นันทนาการของอาคาร จึงจำเป็นต้องมีชั้นดินที่หนามากพอ อยู่ที่ราวๆ 30 เซนติเมตรขึ้นไป และต้องการดูแลรักษา รวมถึงค่าใช้จ่ายที่มากกว่า

 

 

greenroof2

 

 

 

 

      2.2 Extensive Green Roof (หลังคาเขียวที่ไม่ได้ใช้สอย) คือ หลังคาเขียวที่เน้นประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นหลังคาที่มีความหนาของดินเพียง 1-5 นิ้ว ใช้พืชพันธุ์ขนาดเล็ก เช่น หญ้า หรือพืชคลุมดินที่ไม่โต และไม่ต้องการดินมากนัก

 

 

3

 

 

 

 

 

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการสร้าง Green roof

      

 

1. น้ำหนัก ต้องมีโครงสร้างที่รับน้ำหนักได้ อย่างน้อย ๑-๒ ตัน/ตรม. เตรียมโครงสร้างไว้ตั้งแต่ก่อนก่อสร้างอาคาร ถ้าไม่เช่นนั้นต้องแก้ปัญหาด้วยวัสดุก่อสร้าง


2. การระบายน้ำ ต้องมีการระบายน้ำที่ดี และมีระบบ overflow เผื่อไว้เสมอ


3. ระบบกันซึมที่พื้นต้องครบถ้วน กันซึมในคอนกรีตอย่างเดียวไม่พอ หากมีการเตรียมกันซึม ตั้งแต่การก่อสร้างอาคารจะดีที่สุด

 

4. ความเหมาะสม สวนหลังคาสูงๆ มักมีลมแรง ซึ่งจะจำกัดชนิดของพืชพรรณที่ใช้ได้ลงไป หรือการวางตำแหน่งต้นไม้ใหญ่ ควรวางให้ใกล้เคียงตำแหน่งคานมากกว่ากลาง sloab ซึ่งรับน้ำหนักเฉพาะจุดได้น้อยกว่า เป็นต้น

 

 

 

 

greenroof4

 

 

 

 

ชั้นที่ 1 - ชั้นที่ไว้สำหรับปลูกวัสดุ จะนิยมใช้พืชคลุมดินที่เรียกว่า sedum เป็นพืชที่โตช้า ระบบรากตื้น และมีความทนทานสูง


ชั้นที่ 2 ชั้นที่ ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็น แผ่นใยสังเคราะห์สำหรับงานดิน(GEOTEXTILES)ที่สามารถให้เฉพาะน้ำไหลผ่านได้
และเพื่อไม่ให้วัสดุปลูกหลุดรอดลงไปอุดตันชั้นระบายน้ำ

 

ชั้นที่ 3 ชั้นตะแกรงพลาสติกระบายน้ำ หรือคอนกรีตชนิดมีรูพรุน(สำหรับสวนดาดฟ้าที่มีโครงสร้างแข็งแรง)


ชั้นที่ 4 เป็นชั้นของแผ่นวัสดุกันน้ำและความชื้น ส่วนใหญ่จะใช้เป็น กระดาษกันความชื้น (Felt Paper) หรือแผ่นพลาสติกปูกันน้ำสำหรับรองก้นบ่อดิน


ชั้นที่ 5 คือชั้นโครงสร้างของหลังคา ทั้ง Green Roof แบบสวนดาดฟ้าที่สามารถเดินเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ และ Green Roof แบบที่ไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ (โดยมากจะใช้แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ปูทับโครงหลังคา) และทาสารกันน้ำเช่น อะคลิลิคกันน้ำทับพื้นผิว

 

Cr : comeongreen.com 

 

 

 

 

ข้อดีของGreen Roof

 

- ลดความร้อน หลังคาเขียวช่วยควบคุม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภายในอาคาร พืชพันธุ์ที่อยู่บนหลังคาทำหน้าที่เป็น เหมือนฉนวนกันความร้อนจากภายนอก และควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารให้อยู่ใน ระดับที่คงที่ 13 และยังสามารถลดแสงสะท้อนจากหลังคาที่มีผลกระทบต่ออาคาร ข้างเคียงได้อีกด้วย


- ลดเสียงรบกวน ปัญหามลภาวะทางเสียง นับเป็นอีกหนึ่ง ปัญหาใหญ่ ในเมืองที่มี ความหนาแน่นสูง การสร้างหลังคาเขียว นอกจากจะช่วยในการจัดการน้ำฝนแล้ว พืชพันธุ์บนหลังคายังทำหน้าที่เป็นเหมือนฉนวนกันเสียงรบกวน ให้กับอาคาร ความหนาของหลังคาที่เพิ่มขึ้นจากดินปลูกและวัสดุพืชพันธุ์ทำหน้าที่ ดูดซับเสียงรบกวนจากภายนอกได้เป็นอย่างด


- กรองฝุ่นที่จะตกสู่ตัวอาคาร พืชพันธุ์บนหลังคาเขียวช่วยเพิ่มออกซิเจนและลด คาร์บอนไดออกไซด์ให้กับเมือง พืชพันธุ์ที่มีชีวิตที่อยู่บนหลังคาสร้างอากาศบริสุทธิ์ ช่วยกรองฝุ่นละอองในอากาศ และลดมลภาวะในเมืองได้ครับ

 

 

 

greenroof5

 

 

 

การดูแลรักษา

      

      เนื่องจากมีข้อจำกัดในด้านโครงสร้าง ดินที่ใช้ในการทำ Green Roof จึงมักมีปริมาณและความลึกน้อยดังนั้นต้องมีการบำรุงดินให้อยู่ในสภาพเหมาะสม ส่วนการตัดแต่งพืชพันธุ์อาจจะไม่ต้องทำบ่อยนักเพราะส่วนใหญ่พืชพันธุ์ที่ปลูกบนหลังคามักจะเติบโตในแนวราบตามความเรียบหรือลาดเอียงของหลังคานั้นเองครับ

 

      ความเหมาะสม การทำ Green Roof ในประเทศไทยนั้นอาจจะถือว่าเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร เพราะประเทศไทยเป็นเขตมรสุม ความร้อนสูง ฝนตกหนัก เพราะฉะนั้นบ้านที่เหมาะสมกับการทำ Green Roof เป็นตึกแถวหรือดาดฟ้าของตามอาคารต่างๆ  โดยบียอนว่าเลือกตกแต่งเป็นสวนกระถางหรือเลือกใช้เป็นพวกไม้เลื่อยน่าจะดีกว่าครับ 

 

 

 

 

      สำหรับร้อนนี้หวังว่า Green roof จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้แฟนบาริโอได้ลองอ่านเป็นไอเดียในการตกแต่งภายในบ้านกันนะครับ เราไม่สามารถปรับสภาพอากาศของโลกได้ในตอนนี้  แต่ถ้าเราช่วยกันรักษาระบบนิเวศ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ได้เยอะๆโลกเราอาจกลับมาเย็นกว่าทุกวันนี้ก็ได้นะครับ^^  สำหรับวันนี้บียอนขอลาไปก่อน สวัสดีครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน Interior design Thailand