บ้านจะเป็นบ้านที่สมบูรณ์แบบไม่ได้ ถ้าขาดองค์ประกอบสำคัญหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นรั้ว ประตู หน้าต่าง ฯลฯ ซึ่งต่างมีหน้าที่และประโยชน์ที่แตกต่างกัน หลอมรวมกับเป็นบ้านน้อยหลังงามให้เราได้พักอาศัย ฉะนั้นการจะสร้างบ้านสักหลังหนึ่ง จึงไม่ควรละเลย...การเลือกและคัดสรรสิ่งที่ดีและมีประโยชน์เหมาะกับการใช้งาน
และอากาศร้อนๆ แบบนี้ Karuntee จึงหยิบเอาเรื่องราวของ “หน้าต่าง” มาให้คุณทำความเข้าใจและรู้จักประโยชน์ของหน้าต่างให้มากขึ้น (เกี่ยวกันมั๊ย?)
|
ประโยชน์ของ “หน้าต่าง” ที่ควรรู้
ประโยชน์ของหน้าต่าง คือ องค์ประกอบส่วนหนึ่งของบ้านที่เป็นช่องทางหมุนเวียนอากาศภายนอกสู่ภายในบ้าน ทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง เย็นสบาย และยังเป็นช่องทางของแสงสว่างเข้าไปภายในบ้านได้อีกด้วย เมื่อสร้างบ้านจึงให้ความสำคัญกับการติดตั้งหน้าต่างหรือช่องเปิดในจำนวนที่เพียงพอและวางตำแหน่งที่เหมาะสม เพราะจะทำให้อากาศภายในบ้านถ่ายเทสะดวก รู้สึกได้ถึงความสบายน่าอยู่และไม่อึดอัด
มาทำความรู้จัก “หน้าต่าง” กันเถอะ!
ส่วนประกอบของหน้าต่าง มีดังนี้
2.วงกรอบหรือบานกรอบหน้าต่าง นิยมใช้ไม้สักเพราะจะทนทาน สวยงาม น้ำหนักไม่มาก และไม่บิดงอง่าย รวมทั้งยังหดตัวน้อยมาก 3.ลูกฟัก ปัจจุบันนิยม กระจกหรือใช้ไม้และบานเกล็ดรวมทั้งกระเบื้องแผ่นเรียบ
การติดตั้งหน้าต่าง
การสำรวจทิศทางของลมเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงก่อนการติดตั้งหน้าต่าง โดยทั่วไปตำแหน่งของหน้าต่างมักอยู่ใต้แนวทิศเหนือและใต้เนื่องจากเป็นทางลม รวมไปถึงทิศตะวันออกและทิศตะวันตกก็ควรมีหน้าต่างไว้รับแสงแดดเช่นกัน (แต่ไม่ค่อยนิยมมากนักเพราะปริมาณแสงที่ส่องแรง ) ฉะนั้นการติดตั้งหน้าต่างบริเวณ 2 ทิศนี้ ควรทำที่กันแดดไว้ด้วย
ขนาดของหน้าต่าง
หน้าต่างที่มีขนาดเหมาะสมคือ ขนาดประมาณกว้าง 60 ซม. ยาว 90 ซม. ต่อหนึ่งบาน แต่ถ้าต้องการขนาดที่ใหญ่ ควรเลือกใช้หน้าต่างที่เป็นสองบาน การติดตั้งวงกบหน้าต่างควรติดตั้งวงกบด้านล่างอยู่สูงเกิน 2 เมตร สำหรับบ้านไหนที่ต้องการทำช่องแสงสว่างเหนือวงกบก็สามารถทำได้เช่นกัน
ประเภทของหน้าต่างที่ได้รับความนิยม
1.หน้าต่างบานเลื่อน เป็นที่นิยมและพบมากในปัจจุบัน หน้าต่างประเภทนี้ใช้รอกและรางแทนการเปิด-ปิด ให้เลื่อนไปมาทั้งซ้ายและขวา แต่จะสามารถเปิดได้เพียงครึ่งเดียวของความกว้างทั้งหมดเพราะต้องเสียเนื้อที่ซ้อนขนาน หน้าต่างบานเลื่อนไม่ช่วยรับลมแต่ถ้าอยู่ในทิศทางที่ลมผ่านแล้วจะเปิดให้ลมเข้ามากและสามารถรับแสงสว่างจากธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ เพราะมีขนาดใหญ่ ซึ่งมีทั้งลักษณะที่เป็นไม้และอะลูมีเนียม ข้อเสียคือ ถ้าเป็นไม้จะทำได้ยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง โดยหน้าต่างบานเลื่อนมีด้วยกัน 2 แบบ คือ
-หน้าต่างชนิดบานเลื่อนขึ้นลง
-หน้าต่างชนิดบานเลื่อนด้านข้าง
2.หน้าต่างบานกระทุ้ง เป็นหน้าต่างประเภทที่มีบานพับอยู่ด้านบนของบาน การเปิดก็ต้องใช้ดันขึ้นไปจากด้านล่างและเมื่อเปิดแล้ว นอกจากจะทำหน้าที่ในการรับลมเข้ามาภายในบ้านแล้วยังจะทำหน้าที่เป็นกันสาดไปในตัว รวมทั้งช่วยกันแสงสะท้อนจากด้านบน แต่ควรเปิดบานหน้าต่างให้สูง เพื่อพ้นการสัญจรของคนทั่วไป ตัวบานมีทั้งลูกฟักที่เป็นกระจกหรือเป็นไม้ทั้งบาน แต่ข้อเสียของหน้าต่างประเภทนี้ก็คือ ถ้าเป็นบานพับธรรมดาก็ต้องมีขอสับถ้าใช้บานพับประเภทที่มีความแข็งแรงมาก ๆ มิฉะนั้นอาจจะทนน้ำหนักของบานหน้าต่างไม่ได้
3.หน้าต่างบานเฟี้ยม เป็นหน้าต่างที่มีวิธีเปิด-ปิด ด้วยการพับไปมา โดยบานพับจะอยู่ด้านข้างของบานหน้าต่างเล็ก ๆ แต่ละบานเมื่อพับแล้วจะกินที่น้อย แต่การปิด-เปิด ค่อนข้างลำบาก ทำให้ในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้กันมากนัก แต่ยังสามารถพบเห็นได้ตามบ้านพักตากอากาศหรือห้องครัว เพราะสามารถเปิดรับลมได้เกือบ 100 % จึงทำให้อากาศถ่ายเทสะดวก
4.หน้าต่างบานเปิด ลักษณะการใช้งานค่อนข้างคล้ายคลึงกันกับหน้าต่างบานกระทุ้ง แต่หน้าต่างบานเปิดจะเป็นการผลักออกไปด้านข้าง (เปิดซ้ายหรือขวา) โดยแบ่งเป็นบานเปิดเดี่ยว (Casement window) และบานเปิดคู่ (2-panel Casement Window) ในปัจจุบันหน้าต่างบานเปิดเดี่ยวที่เรียงกันหลายบานกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะให้ความรู้สึกเรียงกันสวยงาม หรูหรามีสไตล์และสามารถเปิดรับลมได้มาก
5.หน้าต่างช่องแสง/บานตาย หน้าต่างช่องแสงหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบานตาย ถือเป็นหน้าต่างประเภทที่ประกอบและติดตั้งได้ง่ายถ้าเทียบกับชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ราคาต่อตารางเมตรยังต่ำกว่าแบบหน้าต่างบานเลื่อนและบานเปิด เพราะไม่จำเป็นใช้อุปกรณ์ใดๆ เพิ่ม แต่เนื่องจากไม่สามารถเลื่อนหรือเปิดบานหน้าต่างได้ แบบหน้าต่างช่องแสงจึงเหมาะสำหรับจุดที่ไม่จำเป็นต้องมีการระบายอากาศเท่านั้น
ส่วนเล็กๆ น้อยๆ ของบ้าน เมื่อมารวมตัวกัน ย่อมก่อสร้างบ้านให้สมบูรณ์และแข็งแรงได้ ฉะนั้นอย่าละเลยที่จะให้ความสำคัญกับองค์ประกอบอื่นของบ้าน เช่น หน้าต่าง ประตู เป็นต้น และเรื่องของการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ รวมไปถึงการตกแต่งภายในบ้าน ทุกอย่างล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น ถ้าไม่อยากให้บ้านของคุณ สร้างได้เพียงไม่กี่ปีก็สึกหรอ ต้องเลือกและคัดสรรคุณภาพดีๆ เท่านั้นนะคะ
ภาพประกอบจาก pinterest |
|
|
|