kintsugi-banner

Kintsugi (Art & Culture)

ทุกอย่างบนโลกนี้ล้วนไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่ในทุก ๆ อย่างก็มักจะมีคุณค่าในตัวของมันเอง เสมือนกับศิลปะแบบ Kintsugi ที่เรียกได้ว่าเป็นศิลปะแห่งการแตกร้าว ความไม่สมบูรณ์แบบแต่ยังคงมีความสวยงามในตัวของตัวเองที่น่าทึ่ง

 

cr. pontofinalmacau.wordpress.com

 

ความเป็นมา

จุดเริ่มต้นแท้จริงแล้วศิลปะแบบ Kintsugi นั้นพัฒนามาจากการต้องการซ่อมแซมภาชนะเซรามิกที่แตกให้กลับมาใช้ได้ดังเดิมในสมัยโจมงของญี่ปุ่น ซึ่งเทคนิคการซ่อมแซมก็มีการพัฒนาจนเกิดเป็นศิลปะแบบ Kintsugi โดยเริ่มต้นขึ้นในสมัยมุโรมาจิที่เป็นยุคสมัยเดียวกับวัฒนธรรมการชงชา มีการพบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นภาชนะสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่ถูกซ่อมแซม

 

cr. theschooloflife.com

 

แนวความคิด

ศิลปะแบบ Kintsugi นั้น มีแนวคิดที่สะท้อนถึงนิกายเซ็น ในวิถีแห่ง วะบิ-ซะบิ (wabi-sabi) วิถีแห่งความไม่สมบูรณ์แบบ ความเรียบง่าย และการยอมรับตัวตนและความผิดพลาด เป็นศิลปะที่ทำให้เรามองเห็นถึงความสวยงามจากสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ การที่สิ่งๆหนึ่งแตกสลายไปแล้วแต่ถูกนำกลับมาซ่อมแซมใหม่ให้แลดูมีชีวิตชีวาอีกครั้งจึงกลายเป็นเสน่ห์ของศิลปะ “Kintsugi (คินสึงิ)” 

 

cr. kyotojournal.org

 

วิธีซ่อมแซมแบบ Kintsugi

cr. kyotojournal.org

 

วิธีการหลักๆ คือการนำรักมาผสมกับแป้งสาลีให้มีลักษณะเหนียวเหมือนกาวเพื่อใช้เชื่อมชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน และเหตุผลที่เลือกใช้ยางรักมาใช้ในการซ่อมแซมก็เพราะว่า ยางรักมีความทนทานและปลอดภัยในการใช้งานเกี่ยวกับอาหารนั่นเอง หลังจากนั้นจะมีการผสมรักเข้ากับดินให้เหลวแล้วนำมาอุดช่องว่างของภาชนะ โดยก่อนที่จะแห้งก็จะนำผงทองมาทาไว้ที่ผิวเพื่อความสวยงามนั่นเอง วัสดุที่ใช้ในการเชื่อมภาชนะแบบคินสึงิจึงประกอบด้วยรักเป็นสัดส่วน 99% นอกจากทองแล้วจึงมีการตกแต่งด้วย เงิน ดีบุก และทองเหลืองอีกด้วย

 

cr. bbc.co.uk

 

cr. bbc.co.uk

 

นอกเหนือจากการซ่อมแซมภาชนะที่แตกมาจากชิ้นเดียวกันแล้ว ยังมีการนำภาชนะจากคนละชิ้นส่วน ต่างสีสัน ต่างลวดลายแต่มีความเข้ากันได้ มาซ่อมแซมด้วยศิลปะแบบ Kintsugi จนกลายเป็นผลงานชิ้นใหม่ที่มีความสวยงามแปลกตา และมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง รวมไปถึงยังมีการใช้ทองเพ้นท์เป็นลวดลายต่างๆที่นอกเหนือจากแค่นำมาปิดยางรักเท่านั้น

 

cr. mymodernmet.com

 

cr. mymodernmet.com

 

งานศิลปะที่ต่อยอดมาจากเทคนิคแบบ Kintsugi

ความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่เคยหยุดนิ่งของมนุษย์ มีการนำงานศิลปะแบบเทคนิค Kintsugi มาต่อยอดที่นอกเหนือจากแค่การซ่อมแซม กลายเป็นงานประติมากรรมที่โดดเด่น และปรับเปลี่ยนไปในรูปแบบต่างๆที่ไม่ใช่แค่ภาชนะอีกต่อไป

 

cr. publicdelivery.org

 

YEESOOKYUNG by Michael Young
cr. artasiapacific.com

 

cr. thisiscolossal.com

 

และสิ่งที่มากไปกว่างานศิลปะ ก็คือการนำมาใช้ประโยชน์นั่นเอง Tomomi Kamoshita ผู้สร้างสรรค์ชิ้นงานที่เลือกนำเศษจากการแตกสลายของเซรามิก มาซ่อมแซมด้วยเทคนิค Kintsugi และประยุกต์ใช้ให้กลายเป็นที่วางช้อน ส้อม ตะเกียบ ที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร

 

cr. thisiscolossal.com

 

ความไม่สมบูรณ์แบบเมื่อถูกผนวกเข้ากับแนวคิดในการใช้ชีวิตที่อยู่บนหลักของความเข้าใจ กลายมาเป็นความสวยงามทางศิลปะแบบ Kintsugi และเรียกได้ว่าความงามจากความไม่สมบูรณ์นี่เอง ที่เป็นเสน่ห์ที่ทำให้ศิลปะแบบ Kintsugi ยังคงถูกสืบทอดมาอย่างยาวนาน จนหลายๆคนสามารถนำแนวคิดไปเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
themomentum.co
marumura.com
anngle.org
jpninfo.com
thisiscolossal.com