Shodo-art

โชะโด Shodo Art

ศาสตร์การเขียนด้วยพู่กันอีกหนึ่งมนต์เสน่ห์ในแบบฉบับของญี่ปุ่น การประดิษฐ์คิดค้นตัวอักษรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนยุคสมัยที่ผ่านไปทำให้มีการประยุกต์กลายเป็นงานศิลปะ

 

cr. https://www.kusuyama.jp

 

โชะโด (Shodo) คือศาสตร์การเขียนพู่กัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ถูกยกขึ้นให้อยู่ในชั้นศิลปะที่เรียกว่าการเขียนพู่กันแบบญี่ปุ่น โดยจะเสมือนเป็นการถ่ายทอดความคิดภายในออกมาทางพู่กันและหมึกดำเท่านั้น ชาวญี่ปุ่นยังเปรียบการเขียนแบบ shodo ดั่งความงามอย่างแท้จริงที่ซ่อนอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของสีดำเพียงสีเดียว เป็นศิลปะที่แสดงออกซึ่งการเคลื่อนไหวขึ้นลงของอารมณ์ ความเร่าร้อนและความเย็นชาภายในจิตใจ

 

ความเป็นมา

การประดิษฐ์ตัวอักษรกำเนิดขึ้นในประเทศจีน และมีการเผยแพร่ทั่วประเทศญี่ปุ่นในสมัย Nara (710-794) ซึ่งรวมถึงการใช้เทคนิคพู่กัน ,หมึก และกระดาษ การเขียนด้วยพู่กันและหมึกเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาขั้นพื้นฐานของซามูไรและชนชั้นสูงในสมัยนั้น ต่อมามีการขยายสู่สาธารณะชนทั่วไป  ในช่วงแรกนั้น จะให้ความสำคัญกับการใช้งานจริง โดยเน้นไปที่การเขียนตัวอักษร แต่เมื่อเวลาผ่านไปวิวัฒนาการของวัฒนธรรมมีมากขึ้น จึงเกิดเป็นวิธีการเขียนในเชิงศิลปะขึ้นมา

 

https://www.weddingpark.net

 

ไม่เพียงแต่จะเป็นการชื่นชมในฐานะงานศิลปะเท่านั้น แต่มันได้มีการผสมผสานเข้าไปอยู่ในการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่นไปแล้ว ปัจจุบันการเขียนด้วยพู่กันและหมึกสามารถเห็นได้ทั่วไปในงานต่างๆ เช่น งานแต่งงานและงานศพ และการเขียนครั้งแรกของปีใหม่ (kakizome) เป็นการต้อนรับสิ่งใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้ามาในชีวิต

 

cr.http://student.blog.dinus.ac.id

พื้นฐานที่ต้องรู้ก่อนการเขียน

การเขียนตัวอักษรญี่ปุ่นต้องมีเครื่องมืออย่างน้อย4อย่าง หรือที่คนญี่ปุ่นเรียกกันว่าของมีค่า 4 อย่าง ซึ่งได้แก่ หินแป้นฝนหมึก(suzuri),พู่กัน (fude), หมึก (sumi) และกระดาษ (washi) ถ้าหมึกแห้งจนเหนียวเกินไป เราต้องใช้น้ำเป็นตัวช่วยทำละลาย  แต่ในปัจจุบันเพื่อความสะดวกสบายในการเขียนมากขึ้น จึงอาจจะมีเครื่องมือเพิ่มเติมเข้ามาอำนวยเช่น แผ่นรองกระดาษ ที่ทับกระดาษ เป็นต้น

อุปกรณ์ในการใช้เขียน

 

cr.https://japanische-kalligraphie.at

 

กระดาษของญี่ปุ่น(Washi) เป็นกระดาษที่มีการผลิตโดยกรรมวิธีดั้งเดิมของญี่ปุ่น โดยทำมาจากวัตถุดิบที่เป็นพืช อาทิเช่น กัญชง(อะสะ) ใบหม่อน (โคโซะ) และ Mitsumata(มิทสึมาตะ) เป็นต้น

 

cr. http://japanart-masumi.fudejiya.com

 

พู่กัน (fude) โดยด้ามจะทำมาจากไม้ไผ่ ส่วนขนแปรงนิยมเป็นขนสัตว์ อย่างพังพอน แกะ และม้า เป็นต้น ขนที่มีความอ่อนนุ่มเช่นขนแกะ ก็จะใช้สำหรับการเขียนที่แสดงออกถึงความนุ่มนวล ในทางกลับกันขนของพังพอนและม้านั้น จะแสดงออกถึงความดุดัน เข้มแข็ง

 

cr.https://articulo.mercadolibre.com.ar

 

แป้นฝนหมึกและแท่งฝนหมึก

 

 

http://japanart-masumi.fudejiya.com

 

หมึกดำ

 

แผ่นรองเขียนพร้อมกับที่ทับกระดาษ

นอกจากการเรียนรู้ในการกำหนดทิศทางการเขียนที่ถูกต้องแล้ว การจับพู่กันก็เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญในการเขียนตัวอักษรด้วยเช่นกัน

 

วิธีจับพู่กัน

 

 

ใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้และนิ้วกลางจับพู่กัน สามนิ้วนี้เป็นนิ้วหลักเวลาเขียน นิ้วนางกับนิ้วก้อยอยู่ด้านล่าง คอยประคองพู่กัน จับพู่กันช่วงกลางด้าม ให้ตัวพู่กันตั้งตรงเป็นเส้นฉากกับโต๊ะเสมอเวลาเขียน

 

 

ขณะเขียนสามารถใช้มืออีกข้างช่วยรองรับ หรือจะยกข้อมือสูงก็ได้ตามความถนัดของผู้เขียน โดยวิธีเขียนจะแยกออกเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ค่ะ

1. จุ่มปลายพู่กันในน้ำจนขนนุ่มพอ

2. รินน้ำลงในแป้นฝนหมึก แล้วฝนแท่งฝนหมึกจนได้น้ำหมึกสีดำเข้ม

3. กางกระดาษวางบนแผ่นรองเขียน แล้วนำที่ทับกระดาษมาวางบนขอบด้านบนเพื่อทำให้กระดาษไม่ขยับ

4. จุ่มพู่กันในน้ำหมึกให้ชุ่ม แล้วเล็มปลายพู่กันให้แหลมด้วยการกดลงแป้นฝนหมึกเบาๆ

5. เขียนคำที่เป็นสิ่งดีๆ หรือเป็นสิริมงคลลงบนกระดาษ

6. เมื่อหมึกที่เขียนบนกระดาษแห้ง นำพู่กันขนาดกลางเขียนชื่อไว้ที่ด้านซ้ายของตัวอักษร

 

Shodo art กับการออกแบบแขนงต่างๆ

     ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปการเขียนอักษรญี่ปุ่น ไม่เพียงใช้เขียนตามงานมงคลหรืองานทางวัฒนธรรมต่างๆ แต่ยังถูกนำมาประยุกต์เข้ากับศิลปะหลากหลายแขนง

 

cr. http://www.sho-jp.com

 

ผลงานศิลปะที่ร่วมสมัย ด้วยการนำวิธีเขียนตัวอักษร Shodo มาควบคู่ไปกับผลงาน Abstract ซึ่งสื่อออกมาได้เป็นอารมณ์ที่หลากหลายและน่าสนใจ

 

cr.https://www.tokyo-sticker.com

 

รวมไปถึงศิลปะการตกแต่งภายในก็ได้มีการนำเอกลักษณ์วิธีการเขียน และลายเส้นของตัวอักษรมาเป็นส่วนหนึ่งในการตกแต่งเช่นกัน มนต์เสน่ห์ของ Shodo คือกลิ่นอายสไตล์ญี่ปุ่นที่สามารถเข้าได้กับการออกแบบตกแต่งบ้านหลากหลายสไตล์ ดังเช่นในภาพที่มีการเลือกใช้ Shodo เข้ามาเติมรายละเอียดทางความรู้สึกให้กับห้องที่ถูกตกแต่งไว้อย่างเรียบง่าย ทำให้บริเวณนี้เกิดมิติทางอารมณ์จากเส้นเบา-หนักที่ใช้เขียนอักษรนั่นเอง

 

cr.http://www.sho-jp.com

 

cr.https://designmag.fr

 

https://www.remodelista.co

 

ไม่ใช่เพียงแค่บ้านพักอาศัย แต่สำนักงานต่างๆก็ยังมีการนำอักษรแบบญี่ปุ่นมาตกแต่งภายในอาคารซึ่งได้ทั้งในเรื่องของความเป็นสิริมงคลแล้ว ยังได้ความสวยงามในสไตล์แบบญี่ปุ่นอีกด้วย

ความคลาสสิกที่มีเสน่ห์ในตัวของตัวเองอย่าง Shodo Art แน่นอนว่าจะสามารถประยุกต์เข้ากับยุคสมัยได้อีกยาวนาน และผลงานทางศิลปะที่เรียกได้ว่าไม่มีข้อกำหนดที่ตายตัว ก็พร้อมจะเข้ามาทำหน้าที่ผสมผสานศาสตร์ทางวัฒนธรรมอย่าง Shodo ให้มีหลากหลายเส้นทางมากยิ่งขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://japanart-masumi.fudejiya.com
https://www.japanhoppers.com
https://matcha-jp.com
https://www.marumura.com