Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ตกแต่งภายใน Interior design Thailand

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย
AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

 

 

 

ช่วงนี้ไม่ว่าจะหันมองไปทางไหน เปิดรับสื่อใดๆเรามักจะได้ยิน
ได้ฟังแต่คำว่า “Asian” หรือไม่ก็ “AEC” จนเริ่มที่จะอยากรู้ว่า
กระแสของ Asian และ AEC นั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด
มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน เดิมทีเข้าใจว่าคงจะเป็นเรื่อง
ของภาครัฐในแถบภูมิภาคเอเชียที่ร่วมมือกันระหว่างประเทศ
ปรึกษาหารือกันในเรื่องระบบเศรษฐกิจก็เท่านั้น
ไม่น่าเกี่ยวข้องอะไรกับเราโดยตรง แต่พอนานเข้า
ได้ยินได้ฟังบ่อยขึ้นจนเริ่มรู้สึกว่านี่คงจะไม่ใช่เรื่องเล็กๆ
จะทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ก็กระไรอยู่ โดยเฉพาะคำกล่าว
ประโยคสั้นๆของ CEO ชื่อดังคนหนึ่งที่กล่าวผ่านสื่อโฆษณา
โทรทัศน์ที่ว่า “ประชาคมอาเซียน คือเรื่องของพวกเราทุกคน”
ยิ่งตอกย้ำให้เกิดความสนใจในเรื่องนี้ เอาเป็นว่าเราลองหัน
มาทำความรู้จักกับเรื่องดังกล่าวไปพร้อมๆกันเพื่อจะได้ก้าวทัน


ยุคสมัยที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

 

 


Asean Economics Community หรือ AEC
เป็นการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ อันได้แก่ ประเทศไทย ,
พม่า , ลาว , เวียดนาม , มาเลเซีย , สิงคโปร์ , อินโดนีเซีย ,
ฟิลิปปินส์ , กัมพูชา และบรูไน

 

 

 

AEC

พัฒนามาจากการเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian
Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ
(Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510
โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย
มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527
ประเทศบรูไนก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก และในปี 2538
ประเทศเวียดนามเข้าร่วมสมาชิก ปี 2540 ลาวและพม่า
เข้าร่วม ปี 2542 กัมพูชาเข้าร่วม จนได้สมาชิก10
ประเทศดังกล่าว ทำให้อาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจ
ภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500
ล้านคน จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9
ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค. 2546 ผู้นำประเทศสมาชิก
อาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน
(ASEAN Community) ซึ่งประกอบไปด้วย 3
เสาหลักได้แก่
1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic
Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural
Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security
Pillar)

 

 

คำขวัญของอาเซียน คือ “One Vision, One Identity, One Community” หมายถึง “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์
หนึ่งประชาคม” ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาร่วมด้วย
และต่อไปจะมีการเจรจาอาเซียน+6 โดยจะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดียต่อไป

 

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

 

 

หลักการในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ในปี 2558 คือ

 

1.ให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้าได้อย่างเสรี
2.การเคลื่อนย้ายบริการทำได้อย่างเสรี
3.เคลื่อนย้ายการลงทุนได้อย่างเสรี
4.เคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือได้อย่างเสรี


จากเดิมที่กำหนดเป้าหมายจัดตั้งในปี 2563
แต่ได้มีการตกลงที่จะเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นอีกเป็น
ปี 2558 และจะเริ่มมีผลอย่างเป็นทางการ
วันที่ 1 มกราคม 2558 นับเริ่มจากวันนั้นแล้ว
ต่อไปภูมิภาคแห่งนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ
ด้าน ความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นในวันนั้น
คงจะมีหลายสิ่งเกิดขึ้นอย่างมากมายโดยที่เราเอง
อาจจะนึกไม่ถึงกันเลยทีเดียว การรวมตัวของ 10
ประเทศดังกล่าวเป็นความร่วมมือกันเพื่อประโยชน์
ทางด้านเศรษฐกิจ ให้เกิดผลประโยชน์รวมถึงอำนาจ
ต่อรองต่างๆกับคู่ค้าได้มากขึ้นและการนำเข้าหรือส่ง
ออกสินค้าของชาติในอาเซียนก็จะเป็นไปอย่างเสรี
ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะมีการ
ขอร้องเอาไว้เป็นกรณีพิเศษโดยการไม่ลดภาษีนำเข้า
ซึ่งเป็นสินค้าอ่อนไหว โดยแบ่งให้แต่ละประเทศใน
AEC มีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไปคือ

 

 

 

ไทย : สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน
(ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง ASEAN)
พม่า : สาขาเกษตรและประมง
มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
และสาขาสุขภาพ


อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียน (AEC Blueprint) ซึ่งเป็นแผนบูรณาการงานด้าน
เศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่แผนงานเศรษฐกิจ
ในด้านต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนิน
มาตรการจนบรรลุเป้าหมายในปี 2558
รวมทั้งให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกัน
ล่วงหน้าเพื่อสร้างพันธสัญญาระหว่างประเทศสมาชิก
อาเซียน

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

 

 

 

ยุทธศาสตร์การก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่สำคัญใน
ทิศทาง Blueprint หรือ แบบพิมพ์เขียว 4 ข้อใหญ่ๆได้แก่

 

1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน

 

2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง

 

3.การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน

 

4.การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการให้เข้ากับเศรษฐกิจโลก

 

 

สิ่งดีๆที่จะเกิดแก่ประเทศไทยในอนาคตข้างหน้าเมื่อเปิด
ประตูสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 เมื่อเปิดให้มี
การลงทุนได้อย่างเสรี จะมีผู้ประกอบการรายใหม่เพิ่มมากขึ้น
ประเทศที่มีระบบการศึกษาดีๆจะเริ่มมาเปิดสถานศึกษา
ในบ้านเมืองเรา
และด้วยเหตนี้เองที่อาจจะทำให้โรงเรียนที่มีค่าใช้จ่ายต่อ
เทอมสูงแต่คุณภาพไม่ดี อาจต้องตกอยู่ในภาวะลำบาก
ข้อที่เราจะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้คือประเทศไทยจะเป็นศูนย์
กลางแห่งการท่องเที่ยวเพราะได้เปรียบในเรื่องการคมนาคม
และจะเป็นศูนย์กลางทางการบิน เพราะไทยเป็นประเทศ
ที่อยู่ระหว่างกึ่งกลางของ Asean ผลพลอยได้ที่ตามมาก็คือ
มีการจัดงานประชุมต่างๆ การจัดแสดงนิทรรศการ
เป็นศูนย์กระจายสินค้า
รวมถึงการบริการด้านการแพทย์และสุขภาพที่จะเติบโตเป็น
อย่างมากเนื่องจากค่าบริการทางการแพทย์ในต่างประเทศ
นั้นจะมีราคาค่อนข้างสูง การค้าขายจะมีการขยายตัว
การใช้ภาษาอังกฤษจะเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก
เนื่องจากจะมีคนหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาอยู่ในประเทศ
ไทย และหลากหลายประเทศที่เข้ามาส่วนใหญ่จะไม่สามารถ
สื่อสารกันได้ด้วยภาษาไทย จึงต้องใช้ภาษาอังกฤษ
เป็นภาษากลาง การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคัก
เนื่องจากด่านศุลกากรมีบทบาทน้อยลง อุตสาหกรรมโรงแรม
การท่องเที่ยว ร้านอาหาร รถเช่าจะได้ประโยชน์
เนื่องจากมีการสัญจรมากขึ้น เมืองแถบชายแดนจะพัฒนา
ขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นจุดขนส่ง การขนส่ง logistic ใน AEC
จะพัฒนาไปอีกมาก และจากการที่ไทยเราอยู่ตรงกลาง
ทำให้เราสามารถขายสินค้าได้มากขึ้นเพราะเราจะส่งของไป
ท่าเรือได้หลายฝั่ง ที่ดินในบริเวณดังกล่าวของประเทศไทย
ก็จะมีราคาที่สูงขึ้น

เรื่องน่าเป็นห่วงและไม่ควรมองข้ามเมื่อเปิดประตูสู่ประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ ถึงแม้
เมืองไทยจะไม่ขาดแรงงานอีกต่อไปเพราะมีการเคลื่อนย้าย
แรงงานเข้ามาในประเทศกันอย่างเสรี แต่อีกแง่มุม
ที่น่าเป็นห่วงนั่นก็คือ จะมีแรงงานชาวพม่า, แรงงานลาว,
แรงงานกัมพูชา , แรงงานเวียดนาม ที่ต่างพากันเข้ามา
ทำงานในไทยกันอย่างมากมาย และคนเหล่านี้เองที่จะมา
แย่งงานของคนไทยบางส่วน ทำให้แรงงานไทยต้องตก
อยู่ในภาวะวิกฤติ ซ้ำร้ายปัญหาสังคมที่จะตามมา
มีการก่ออาชญากรรมจากแรงงานของประเทศสมาชิก
รวมทั้งการทะเลาะเบาะแว้งกันในหมู่ของแรงงานซึ่งปะปน
อยู่รวมกัน ในเมืองและชุมชนต่างๆจะคับแคบแออัด
บนท้องถนนจะมีรถยนต์มากขึ้น การจราจรในกรุงเทพฯ
จะติดขัดมากกว่าเดิมหลายเท่า สนามบินสุวรรณภูมิจะแออัด
คับแคบและดูวุ่นวาย


ด้านสาธารณูปโภคต้องเตรียมการให้พร้อมและบริหารจัดการ
อย่างรอบคอบ ขยะจำนวนมากที่ต้องกำจัด จะมีแรงงาน
ของสมาชิกบางส่วนที่ทำผิดกฎหมายเนื่องจากไม่รู้กฎหมาย
ไทยคนไทยที่มีความสามารถและมีทักษะในการทำงานสูง
บางส่วนจะไหลออกไปทำงานยังต่างประเทศเนื่องจากมีทาง
เลือกมากขึ้น

 

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

 

อุตสาหกรรมที่ได้เปรียบและเสียเปรีบเมื่อเปิด AEC (ที่มาของข้อมูล
นสพ.ข่าวสด)
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม(สศอ.) คุณอิทธิชัย ยศศรี เปิดเผยว่า สศอ.ได้ศึกษา
ความได้เปรียบทางการค้าสินค้าอุตสาหกรรมของไทยภายหลังการ
เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2558 เทียบกับสินค้า
อุตสาหกรรมอาเซียนกับ 4 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์

 

ประเทศไทยมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่จัดให้อยู่ในประเภทอาการป่วยซึ่ง
ต้องได้รับการรักษา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่

 

 

กลุ่มที่ 1 อาการที่พบความผิดปกติ
จัดอยู่ในเกณฑ์ที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันลดลงกับประเทศ
ในอาเซียนซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อินทรีย์
ผลิตภัณฑ์จากยางพารา กระดาษและกระดาษแข็ง ผลิตภัณฑ์เซรามิก
เครื่องจักร เครื่องกล ลอยเลอร์ อากาศยาน ยานอวกาศ
อาวุธและกระสุน เป็นต้น

 

กลุ่มที่ 2 อาการกำเริบ
มีความสูญเสียความได้เปรียบทางการแข่งขันคือกลุ่มอุตสาหกรรม
เหล็กและเหล็กกล้า เฟอร์นิเจอร์ หนังเฟอร์/เฟอร์เทียม
เยื่อไม้หรือเยื่อที่ได้จากเส้นใยเซลลูโลสอื่นๆ ขนแกะ ผ้าทอ
เส้นใยสิ่งทอจากพืช ด้ายกระดาษ ร่ม ร่มปักกันแดด เป็นต้น
 

กลุ่มที่ 3 อาการป่วยขนาดหนัก
  หรือจัดอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสียเปรียบมากขึ้นคือกลุ่มอุตสาหกรรม
เชื้อเพลิงจากแร่/น้ำมันแร่ ผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม ปุ๋ย เครื่องหนัง
เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ไข่มุกธรรมชาติ/รัตนชาติ ทองแดงและของทำ
ด้วยทองแดง นิกเกิลและของที่ทาด้วยนิกเกิล รองเท้า สนับแข้ง
และของที่คล้ายกัน เครื่องดนตรี เป็นต้น

 

 

อุตสาหกรรมไทยที่มีความได้เปรียบคือ ยานยนต์
และส่วนประกอบ พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก
หนังดิบและหนังฟอก เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ
แก้วและเครื่องแก้ว ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเหล็ก
และเหล็กกล้า พรมและสิ่งทอปูพื้นต่างๆ
เส้นใยสั้นประดิษฐ์ ฝ้าย เป็นต้น
อุตสาหกรรมซึ่งเมื่อเข้าสู่AEC แล้วจะได้เปรียบมีอยู่ 3
กลุ่มอุตสาหกรรมได้แก่
เสื้อผ้าและของใช้แล้วที่ทำด้วยสิ่งทอ สังกะสีและ
ของที่ทำจากสังกะสี หัวรถจักรของรถไฟหรือรถราง
ส่วนอุตสาหกรรมที่จะมีความเสียเปรียบลดลงมี 16
กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น หนังสือ/อุตสาหกรรมการพิมพ์
เครื่อง จักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า ไม้ก๊อกและของทำ
ด้วยไม้ก๊อก ตะกั่วและของที่ทาด้วยตะกั่ว โลหะสามัญ
สินแร่ ไหม ของเล่นและอุปกรณ์การกีฬา ศิลปกรรม
ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด เป็นต้น (ที่มาของข้อมูล
นสพ.ข่าวสด)

 

 

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

จุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นที่น่าสนใจของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน

 

1.ประเทศสิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง
ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ
เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู
4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)
โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็น
หัวหน้าฝ่ายบริหาร


ข้อควรรู้

- หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.
-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการ
ระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
-การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพขายบริการผิดกฎหมาย
จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
-การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ
จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต

 

จุดแข็ง รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดของอาเซียนและติดอันดับ
15 ของโลก การเมืองมีเสถียรภาพ เป็นศูนย์กลางทางการเงิน
ระหว่างประเทศ แรงงานมีทักษะสูง ชำนาญด้านการจัดการ
ทรัพยากรบุคคลและธุรกิจ มีที่ตั้งเอื้ออำนวยต่อการเป็นศูนย์กลาง
เดินเรือ

 

จุดอ่อน พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจค่อนข้างสูงประเด็นที่น่าสนใจของประเทศ
สิงคโปร์คือ พยายามขยายโครงสร้างเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น
เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้า

 

 

 

2.ประเทศอินโดนีเซีย
  ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า
583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข
และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

ข้อควรรู้
- ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ
หรือรับประทานอาหารคนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
- ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
- การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร
มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษ
ถึงประหารชีวิต
- บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200
ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ

 

จุดแข็ง ขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตลาดขนาดใหญ่ประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลกและมากที่สุด
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลาย
จำนวนมาก โดยเฉพาะถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะต่างๆ
ระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแกร่ง

 

จุดอ่อน
ที่ตั้งเป็นเกาะและกระจายตัวสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนา
เท่าที่ควรโดยเฉพาะการคมนาคมและการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
ประเด็นที่น่าสนใจของประเทศอินโดนีเซียคือการลงทุนส่วนใหญ่
เน้นใช้ทรัพยากรในประเทศเป็นหลัก

 

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

 

3.ประเทศมาเลเซีย
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ
รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%,
ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
 

ข้อควรรู้
ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุน
ทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตร งานแต่งงาน
และงานศพ
-มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ
ชาติพันธ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40
ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ
อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว

 

จุดแข็ง รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน
มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 และก๊าซธรรมชาติ
มากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก ระบบโครงสร้างพื้นฐาน
ครบวงจร แรงงานมีทักษะ

 

จุดอ่อน จำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดแคลนแรงงาน
โดยเฉพาะระดับล่างประเด็นที่น่าสนใจของประเทศมาเลเซียคือ
ตั้งเป้าหมายเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” ในปี 2563
มีฐานการผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญที่คล้ายคลึงกับไทย
มีนโยบายพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง

 

4.ประเทศบรูไน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ
รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
 

ข้อควรรู้
- ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่
ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ มีระยะเวลาอยู่ในบรูไนฯได้ 2 สัปดาห์
-ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลืองเพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
- การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
- การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือ
ชี้แทน
-จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
-สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือ
หัวเราะดัง

 

จุดแข็ง รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 2
ของอาเซียนและอันดับ 26 ของโลก การเมืองค่อนข้างมั่นคง
เป็นผู้ส่งออกน้ำมัน และมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4
ของอาเซียน

 

จุดอ่อน ตลาดขนาดเล็ก มีประชากรประมาณ 4 แสนคน
ขาดแคลนแรงงานประเด็นที่น่าสนใจของประเทศบรูไนคือ
มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับสิงคโปร์ มาเลเซีย
และอินโดนีเซีย การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพึ่งพาสิงคโปร์
เป็นหลัก ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารค่อนข้างมาก

 

5.ประเทศฟิลิปปินส์
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ
รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์
มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย
10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83%
คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง :
ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่าย
บริหาร

 

ข้อควรรู้
-การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น
การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูล
ให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี
และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น

 

จุดแข็ง ประชากรจำนวนมากอันดับ 12 ของโลกคือจำนวน
100 ล้านคน แรงงานทั่วไปมีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้

 

จุดอ่อน ที่ตั้งห่างไกลจากประเทศสมาชิกอาเซียนระบบโครงสร้าง
พื้นฐาน และสวัสดิภาพทางสังคมยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
ประเด็นที่น่าสนใจของประเทศฟิลิปปินส์คือ
สหภาพแรงงานมีบทบาทค่อนข้างมากและมีการเรียกร้อง
เพิ่มค่าแรงอยู่เสมอ การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการรองรับ
ความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก

6.ประเทศเวียดนาม
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม
โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว

 

ข้อควรรู้
- หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข
เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น.
ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
- เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
- หากนำเงินตราต่างประเทศติดตัวเข้ามามากกว่า 7,000
ดอลลาร์สหรัฐ
ต้องแจ้งให้ศุลกากรเวียดนามทราบการนำเงินตราออกประเทศมาก
กว่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งชาติ
หรือธนาคารกลางในท้องถิ่นก่อน มิเช่นนั้นจะถูกยึดเงิน
-บทลงโทษของเวียดนามในคดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของ
รัฐมีโทษประหารชีวิต

 

จุดแข็ง ประชากรจำนวนมากอันดับ 14 ของโลกคือจำนวน 90
ล้านคน มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก
มีแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,200 กิโลเมตร การเมืองมีเสถียรภาพ
ค่าจ้างแรงงานเกือบต่ำสุดในอาเซียนรองจากกัมพูชา

 

จุดอ่อน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
ต้นทุนที่ดินและค่าเช่าสำนักงานค่อนข้างสูงประเด็นที่น่าสนใจ
ของประเทศเวียดนามคือมีรายได้และความต้องการสูงขึ้นจาก
เศรษฐกิจที่โตเร็ว

 

7.ประเทศกัมพูชา
ภาษาที่ใช้ : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ,
ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

 

ข้อควรรู้
- เมื่อเดินทางถึงท่าอากาศยานกรุงพนมเปญ โดยกรอกแบบฟอร์ม
Visa on Arrival พร้อมยื่นรูปถ่ายและค่าธรรมเนียม 20 ดอลลาร์
สหรัฐ
- ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะ
เวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์และไวรัสเอและบี

 

จุดแข็ง มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์โดย
เฉพาะน้ำ ป่าไม้ แร่ชนิดต่างๆค่าจ้างแรงงานต่ำสุดในอาเซียน
(1.6 USD/day)

 

จุดอ่อน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
ต้นทุนสาธารณูปโภคอย่างน้ำ ไฟฟ้า และการสื่อสารค่อนข้างสูง
ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะประเด็นที่น่าสนใจของประเทศกัมพูชา
คือประเด็นขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาอาจบั่นทอนโอกาสการ
ขยายการค้า-การลงทุนระหว่างกันในอนาคต

 

8.ประเทศลาว
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง
9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า
ระบบประชาธิปไตยประชาชน)

 

ข้อควรรู้
-ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทยทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาว
ได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
-ลาวขับรถทางขวา

 

จุดแข็ง มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์
โดยเฉพาะน้ำและแร่ชนิดต่างๆการเมืองมีเสถียรภาพ
ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.06 USD/day)

 

จุดอ่อน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา การคมนาคมไม่สะดวก
ไม่มีทางออกสู่ทะเลประเด็นที่น่าสนใจของประเทศลาวคือ
การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานน้ำ
และเหมืองแร่

 

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

 

 

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

 

9.ประเทศพม่า
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8
เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%,
กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย
2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม
3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหารปกครองโดย
รัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

 

ข้อควรรู้
- (ยังไม่มีบันทึกข้อมูลในส่วนนี้)

 

จุดแข็ง มีทรัพยากรธรรมชาติน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
จำนวนมาก มีพรมแดนเชื่อมโยงจีนและอินเดีย
ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.5 USD/day)

 

จุดอ่อน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่
ควร ความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบายประเด็น
ที่น่าสนใจของประเทศพม่าคือการพัฒนาโครงข่าย
คมนาคมในประเทศเชิงรุกทั้งทางถนนรถไฟความเร็วสูง
และท่าเรือ

 

10.ประเทศไทย


จุดแข็ง เป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้า
เกษตรหลายรายการรายใหญ่ของโลกที่ตั้งเอื้อต่อการ
เป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ
สาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วถึงระบบธนาคารค่อนข้าง
เข้มแข็ง แรงงานจำนวนมาก

 

จุดอ่อน แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ เทคโนโลยี
การผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นขั้นกลางประเด็นที่น่าสนใจ
ของประเทศไทยคือตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาเซียน
ในหลายด้าน อาทิ ศูนย์กลางโลจิสติกส์และศูนย์กลาง
การท่องเที่ยวดำเนินงานตามแผนปรับตัวสู่ AEC
ปี 2553-2554 ได้ 64สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของอาเซียน
ที่ 53% สะท้อนการเตรียมความพร้อมอย่างจริงจัง

 

ได้ทำความรู้จัก Asian และ AEC
ทำให้ต้องอ้าปากค้างผิดคาดที่มันช่างเป็นเรื่องใกล้
ตัวเสียจริงๆนี่ก็ใกล้จะสิ้นปีแล้วเวลาผ่านไปอย่าง
รวดเร็ว ความเปลี่ยนแปลงในอนาคตก็เริ่มประชิด
ตัวมากขึ้น สำคัญที่เราจะปรับตัวและรับมือกับสิ่งที่
จะเกิดขึ้นอย่างไร

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

 

พูดคุยสนทนากับเพื่อนใหม่ด้วยภาษาอังกฤษจนน้ำลายแตก
ฟอง ไม่แน่ว่า ต่อไปแม้แต่พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอย
ก็อาจต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคของ Asian และ AEC
ด้วยการหัดพูดและฟังภาษาอังกฤษเพื่อจะได้ขายของให้ลูกค้า
ที่ไม่ได้มีแค่คนไทย ป้ายประกาศ สิ่งพิมพ์ สื่อต่างๆ ที่จะต้อง
มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษร่วมด้วยต่อไปจะมีโรงเรียนสอน
ภาษาเต็มไปหมดและหลากหลายหลักสูตร เรื่อง AECจึงถือเป็น
เรื่องใหญ่ ที่ภาคธุรกิจและประชาชนคนไทยทุกคนต้องปรับตัว
และเตรียมพร้อม ต่อไปไม่แน่อาจจะมีการสร้างชุมชนขึ้นใหม่
คล้ายๆเยาวราชที่เต็มไปด้วยคนไทยเชื้อสายจีน แต่ชุมชนที่
เกิดขึ้นใหม่นี้จะเป็นชุมชนเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติอย่าง
กัมพูชาทาวน์, ลาวทาวน์ , พม่าทาวน์, เวียดนามทาวน์
และไม่นานคนไทยคงได้ลิ้มรสอาหารนานาชาติโดยฝีมือเจ้า
ของตำรับตัวจริง คนไทยบางคนอาจได้เพื่อนเกลอต่างชาติ
มาเป็นซี้ หรือไม่ก็เกิดตำนานรักคู่กรรมภาคพิสดารข้ามแดน
มาเป็นเนื้อคู่ ตกร่องปล่องชิ้นแต่งงานกันไปเลยก็เป็นได้


อย่างไรก็ดีผลที่ออกมาในด้านบวกซึ่งเกิดจากการรวมตัวของ
สมาชิกทั้ง 1ประเทศที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันเพื่อจะนำพาความ
เจริญก้าวหน้ามาสู่ภูมิภาค เป็นการยกระดับและพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตของประเทศสมาชิกให้แข็งแกร่ง


เราเองเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสมาชิกจึงไม่ควรมองข้าม
ต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
เพื่อจะก้าวไปสู่อนาคตด้วยกันได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ที่มาของข้อมูล... http://www.thai-aec.com

 

 

 

Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน Interior design Thailand