สถาปัตยกรรมดวงจันทร์

Build the Moon
สถาปัตยกรรมดวงจันทร์

การมองท้องฟ้ายามค่ำคืนเป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลาย เสมือนได้ล่องลอยไปกับความงดงามของธรรมชาติโดยเฉพาะดวงจันทร์ ที่คอยส่องแสงลงมาจนกลายเป็นแรงบันดาลใจ ที่ทำให้นักออกแบบหลายๆท่าน อยากที่จะถ่ายทอดความงดงามเหล่านั้นผ่านผลงานของพวกเขา
ด้วยเอกลักษณ์ของดวงจันทร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามวันและเวลา กลายมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบรูปทรงของอาคาร หรือนำความโค้งในแต่ละช่วงเวลาของข้างขึ้น – ข้างแรมเข้ามาร่วมในงานออกแบบ เรียกได้ว่าเป็นการนำเอาความโดดเด่นเข้ามาร่วมในงานดีไซน์ที่ลงตัวก็ว่าได้

[ Phoenix Observation Tower by BIG ]

สถาปัตยกรรมดวงจันทร์ Phoenix Observation Tower by BIG

Credit : world-architects

Phoenix Observation Tower คือ สถาปัตยกรรมดวงจันทร์ ที่มีลักษณะเป็นหอสังเกตการณ์ลอยฟ้าตั้งอยู่ในใจกลางเมืองฟีนิกซ์ ประเทศอเมริกา เป็นหอคอยที่มีพื้นที่ขนาด 70,000 ตารางฟุต ซึ่งคนในท้องถิ่น โครงการ Phoenix Observation Tower ถูกออกแบบโดย BIG สัญชาติเดนมาร์ก โดยทำการออกแบบหอสังเกตการณ์เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของเมืองฟีนิกซ์ โดยสถาปนิกที่เป็นผู้ดูแลคือ Bjarke Ingels และ Thomas Christoffersen และทำการออกแบบไว้ในปี 2012
สถาปัตยกรรมดวงจันทร์ Phoenix Observation Tower by BIG

Credit : archdaily

Phoenix Observation Tower จะถูกสร้างจากคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีทรงกลมเกลียว เปิดโล่งบริเวณด้านบน เพื่อเป็นจุดชมวิวแบบ 360องศา โดยทาง Bjarke และ Thomas สถาปนิกทั้งสองคนได้เลือกเปลี่ยนทางเดินส่วนกลางให้มีลักษณะเป็นเกลียววนขึ้นไปตามแนวของหอคอย โดยมีความกว้างมากที่สุดช่วงตรงกลาง และแคบที่สุดช่วงด้านบนและด้านล่าง บริเวณแกนกลางถูกออกแบบให้มีแท่นคอนกรีตเป็นจุดรองรับลิฟต์แก้วสามตัวที่ทำหน้าที่เป็นลิฟขนส่งนักท่องเที่ยวขึ้นไปสู่บริเวณจุดชมวิวด้านบนนั่นเอง
สถาปัตยกรรมดวงจันทร์ Phoenix Observation Tower by BIG

Credit : world-architects

หอสังเกตการณ์ Phoenix Observation Tower แห่งนี้ Bjarke และ Thomas สถาปนิกทั้งสองคนมีแนวความคิดเริ่มมาจาก Pin หรือการปักหมุดลงบนแนที่ที่นิยมใช้เป็นสัญลักษณ์ตามสถานที่ต่างๆ สอดคล้องกับแนวคิดที่ต้องการจะทำให้ Phoenix Observation Tower เป็นแลนด์มาร์คของเมืองฟีนิกซ์ และด้วยลักษณะทรงกลมที่หากได้เห็นในยามค่ำคืน พร้อมกับแสงจากตัวอาคารที่จะสาดส่องออกมาโดยรอบ จะทำให้สถาปัตยกรรมแห่งนี้มีลักษณะคล้ายกับดวงจันทร์ยามค่ำคืนเลยทีเดียว

[ Two Moon by Moon Hoon ]

Two Moon by Moon Hoon สถาปัตยกรรมดวงจันทร์

Credit : archdaily

Two Moon by Moon Hoon เป็นอาคารที่มีรูปทรงแปลกตา ตั้งอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้ Two Moon by Moon Hoon แห่งนี้เป็นอาคารศูนย์วัฒนธรรมที่มีร้านกาแฟ และแกลลอรี่เป็นศูนย์กลาง เป็นพื้นที่ที่มีชีวิตชีวา เต็มไปด้วยอารมณ์ erotically ความสนุกสนาน และบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เพราะจุดเริ่มต้นของโครงการคือภาพยนตร์ชื่อ Two Moon Junction ซึ่งเป็นภาพยนต์แนวอีโรติก ออกแบบโดยสถาปนิกชาวเกาหลีใต้แห่งสตูดิโอ Moon Hoon ในปี 2015 โดยสถาปนิกได้อธิบายไว้ว่า “บางครั้งลูกค้าก็อยากที่จะนำความคิด หรือชื่อสถานที่ที่พวกเขาจินตนาการขึ้นมา มาสร้างให้เกิดขึ้นจริง” ซึ่งความคิดนี้ทำให้หนังเรื่อง Two Moon Junction โผล่เข้ามาในหัวของเขาเมื่อได้พบกับลูกค้าที่ทำการว่าจ้างให้ทำการออกแบบในครั้งแรก
Two Moon by Moon Hoon สถาปัตยกรรมดวงจันทร์

Credit : archdaily

โดยการออกอาคารนั้น รูปทรงของตัวอาคารได้แนวความคิดมาจากดวงจันทร์ โดยตรงตามชื่อของภาพยนต์เลยทีเดียว ซึ่งนักออกแบบได้แยกเป็นสองอาคาร แต่ละอาคารจะมีรูปทรงเป็นครึ่งวงกลม และเมื่อมองจากมุมด้านหน้า จะเห็นว่าทั้งสองอาคารนั้นแนบชิดกันเกิดเป็นรูปทรงกลมของดวงจันทร์ ซึ่งถือว่าโครงสร้างทั้งสองเป็นโครงสร้างฝาแฝดโดยมีด้านหน้าที่เรียงต่อกัน จนมีรูปทรงเหมือนกับดวงจันทร์
Two Moon by Moon Hoon สถาปัตยกรรมดวงจันทร์

Credit : archdaily

นอกจากนี้ หากมองแต่ละอาคารแยกออกจากกัน ก็จะเกิดเป็นรูปทรงของพระจันทร์เสี้ยวสองดวง จึงเป็นอีกหนึ่งแนวคิดของชื่อ Two Moon นอกจากนี้โครงสร้างอาคารยังมีการออกแบบและตกแต่งให้มีดวงไฟวางเรียงกันเป็นรูปกลุ่มดาว เหมือนกับว่าอาคารแห่งนี้คือท้องฟ้ายามค่ำคืน ที่เราจะสามารถพบกับพระจันทร์ 2ดวงและหมู่ดาวได้เสมอ และหากใครมีโอกาสได้ไปท่องเที่ยวที่ประเทศเกาหลี ก็สามารถเดินทางไปด้วยการขับรถยนต์ขึ้นไปทางเหนือของเมืองโกยางประมาณ 1 ชั่วโมง Two Moon by Moon Hoon เปิดให้บริการเป็นคอมมูนิตี้มอลเล็กๆให้กับนักท่องเที่ยวและคนทั่วไปได้เยี่ยมชมค่ะ

[ Sheraton Moon Hotel by MAD Architect ]

สถาปัตยกรรมดวงจันทร์ Sheraton Moon Hotel by MAD Architect

Credit : archipanic

Sheraton Moon Hotel เป็นโรงแรมที่ตั้งอยู่ติดกับทะเลสาบหนานไถในหูโจว เมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเซี่ยงไฮ้ ที่ได้รับการออกแบบโดย MAD Architects ในประเทศจีน ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านของการพัฒนาสถาปัตยกรรมล้ำยุค Sheraton Moon Hotel ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ริมน้ำอย่างเต็มที่ด้วยการผสมผสานสถาปัตยกรรมและธรรมชาติเข้าด้วยกัน ด้วยแนวความคิดในการออกแบบคือต้องการให้ความสำคัญกับความกลมกลืนของมนุษย์และธรรมชาติ จึงออกแบบให้ตัวอาคารที่มีรูปทรงวงแหวน สอดคล้องกับเงาสะท้อนในแม่น้ำ ที่สร้างเงาสะท้อนเป็นจุดเชื่อมระหว่างความจริงกับภาพที่ธรรมชาติสร้างขึ้น
สถาปัตยกรรมดวงจันทร์ Sheraton Moon Hotel by MAD Architect

Credit : archipanic

ด้วยรูปทรงวงแหวนของอาคาร ทำให้เกิดความท้าทายอย่างมากต่อการออกแบบโครงสร้างของอาคาร โดยทาง MAD เลือกใช้ท่อแกนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่ที่มีความจุสูง น้ำหนักเบา และทนต่อแผ่นดินไหวได้ดีเยี่ยม มาใช้เพื่อนเป็นโครงสร้างหลักของตัวอาคาร ส่วนด้านหน้าของโรงแรมถูกปกคลุมด้วยชั้นของวงแหวนอะลูมิเนียมสีขาว และกระจกโค้ง ที่มีการแบงพื้นผิวออกเป็นชั้นๆ ทำให้เกิดมิติของตัวอาคารที่ทับซ่อนกันของแสงและเงาอีกด้วย
สถาปัตยกรรมดวงจันทร์ Sheraton Moon Hotel by MAD Architect

Credit : archipanic

ด้วยลักษณะของตัวอาคารที่โค้งมน เมื่อตกกลางคืนอาคารทั้งหลังจะสว่างไสวด้วยแสงไฟจากภายในและภายนอกอาคาร ซึ่งแสงไฟที่ส่องออกมาจากบริเวณโดยรอบของโรงแรมที่ตกกระทบลงบนพื้นน้ำ คล้ายกับดวงจันทร์ที่ส่องแสงเหนือทะเลสาบจึงเกิดเป็นงานออกแบบที่เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ ไม่ดูโดดเด่นจนทำลายธรรมชาติที่งดงาม

[ Crescent Moon Tower by AECOM ]

Crescent Moon Tower by DSA Architects สถาปัตยกรรมดวงจันทร์

Credit : koltayfacades

Crescent Moon Tower by DSA Architects คือ สถาปัตยกกรมดวงจันทร์ ที่เป็นสัญลักษณ์รูปพระจันทร์เสี้ยวกลับหัว ตั้งอยู่บริเวณชาบฝั่งของเมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน เป็นอาคารศูนย์รวมการใช้งานแบบผสมผสานอันทรงเกียรติใจกลางเมืองหลวงของอาเซอร์ไบจาน ซึ่งประกอบด้วยอาคารที่พักอาศัย หอการค้าที่มีร้านค้าปลีก และโรงแรม
ได้รับการออกแบบโดยบริษัท AECOM ที่เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านการออกแบบด้านสถาปัตยกรรม โครงสร้าง และวิศวกรรมอาคาร ไปจนถึงการบริหารโครงการและการก่อสร้างทั้งบนบกและนอกชายฝั่ง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความไม่สมบูรณ์แบบของดวงจันทร์ในช่วงข้างแรมมาเป็นรูปแบบหลักในงานออกแบบอาคาร
Crescent Moon Tower by DSA Architects สถาปัตยกรรมดวงจันทร์

Credit : koltayfacades

ความโดดเด่นของตัวอาคารอยู่ที่ด้านโค้งมน ซึ่งทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของอาคารแห่งนี้ เรียกได้ว่าเป็นความท้าทายที่น่าตื่นเต้นสำหรับวิศวกรและนักออกแบบ เนื่องด้วยแรงบันดาลใจที่นำรูปพระจันทร์มาเป็นโครงหลักของตัวอาคาร ความลาดเอียงของกระจกที่ต้องใช้ในการก่อสร้างจะต้องเปลี่ยนไปทีละชั้น อีกทั้งข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและอื่นๆ ซึ่งสถานที่แห่งนี้ยังคงอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ยังไม่แล้วเสร็จที่จะสามารถเข้าชมได้ แต่ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโปรเจ็คที่น่าติดตามเป็นอย่างมากเลยทีเดียวค่ะ
ดวงจันทร์ดวงเดียวกัน ที่คนทั้งโลกคอยเฝ้ามองถึงความสวยงามยามค่ำคืน ได้ถูกนำมาถ่ายทอดได้อย่างแตกต่าง และมีมุมมองที่น่าสนใจในแบบฉบับของตนเอง เรียกได้ว่า สถาปัตยกรรมดวงจันทร์ ป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจอยู่ไม่น้อยเลยค่ะ
สามารถติดตามผลงานต่าง ๆ ของทาง Bareo ได้ที่ช่องทางเว็บไซต์ของ Bareo หรือทาง Facebook : Design by Bareo ที่จะคอยอัพเดทข่าวสาร งานดีไซน์ และผลงานการออกแบบตกแต่งภายในมากมาย ให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้ และความสนุกตลอดทั้งปี
หรือหากสนใจจะออกแบบตกแต่งภายในกับทาง Bareo ทางเราก็มีบริการออกแบบภายในครบวงจร โดยสามารถอ่านรายละเอียดการให้บริการของเราได้ที่นี่ คลิ๊ก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
designindaba
zingyhomes
archdaily
brandinginasia
archipanic
koltayfacades

CONTENT RELATED

NEW CONTENT

PORTFOLIO