Dancheong
ศิลปะสไตล์เกาหลี
เมื่อพูดถึงงานสถาปัตยกรรมและงานศิลปะของเกาหลีแล้ว นอกจากกลิ่นอายและสไตล์ ก็ยังมีอีกอย่างหนึ่งในงานเหล่านั้นที่คล้ายกัน ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ ‘สีสัน’ นั่นเองค่ะ
ตั้งแต่ยุคสมัยสามอาณาจักร (โครกูรยอ แพ็คเจและชิลลา) สีสันที่มักเป็นสีหลักของงานสถาปัตยกรรมและงานศิลปะยุคดั้งเดิมแทบทุกอย่างจะถูกเรียกว่า ศิลปะสไตล์เกาหลี Dancheong ซึ่งประกอบด้วยห้าสีหลักที่มีความหมายในตัวเอง ได้แก่ สีแดง (ทิศใต้) สีฟ้า (ทิศตะวันออก) สีเหลือง (ศูนย์กลาง) สีดำ (ทิศเหนือ) และสีขาว (ทิศตะวันตก) และเมื่อนำไปใช้ในงานศิลปะ สีฟ้าและสีเหลืองจะผสมกันออกมาได้เป็นสีเขียว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสีที่นิยมใช้ และมีความหมายในชื่อ Dancheong ที่แปลว่า ‘สีชาด สีฟ้าและสีเขียว’
จะสังเกตุได้ว่าจริงๆ แล้วสีหลักทั้ง 5 สีก็คือแม่สีทั้งสามและสีขาวดำนั่นเองค่ะ ซึ่งหมายความว่าแม้คนโบราณจะยังไม่รู้จักว่าสีปฐมภูมิคืออะไร แต่ก็มีการเลือกใช้แม่สีหลักได้อย่างถูกต้องแม่นยำ สร้างสรรค์ลวดลายออกมาด้วยทรงเรขาคณิตง่ายๆ อย่างสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม ข้าวหลามตัด เส้นตรง และสัญลักษณ์ 卍 ของศาสนาพุทธ สร้างออกมาเป็น Pattern ที่มีเอกลักษณ์ หรือในงานศิลปะบางชิ้นอาจมีการวาดลวดลายธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ ต้นไม้หรือสัตว์ต่างๆ ใส่ลงไปด้วยตามแต่ความหมายที่ศิลปินต้องการจะสื่อสารออกมา
ลวดลายของงานศิลปะสไตล์ Dancheong จะแบ่งออกเป็น 3 แบบหลักๆ คือ
1. Morucho Dancheong : ใช้ตกแต่งที่บริเวณปลายโครงสร้างหลังคา (จันทัน) ตกแต่งเป็นลวดลายง่ายๆ เช่น ดอกไม้ ดอกบัว ขนนก หรืออื่นๆ ที่ประดิษฐ์จากรูปทรงง่ายๆ
2. Byeoljihwa Dancheong : เป็นงานศิลปะประเภทที่วาดภาพสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เช่น มังกร สิงโต, ภาพดอกไม้มงคล เช่น ดอกกล้วยไม้ ต้นไผ่ หรือภาพที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธ เช่น สัญลักษณ์พระพุทธเจ้า
3. Bidan Munui : งานศิลปะแบบนี้จะตกแต่งด้วยลวดลายเรขาคณิตง่ายๆ และใช้สีหลักห้าสีเพื่อตกแต่งให้งานศิลปะงดงาม
ข้อสังเกตุอีกอย่างของงานศิลปะสไตล์นี้คือจะเป็นงานศิลปะที่ลงสีบนไม้เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นอาคารไม้หรือวัตถุที่ทำจากไม้อื่นๆ (ซึ่งจริงๆ แล้วสาเหตุก็เป็นเพราะการทาสีลงบนไม้จะช่วยรักษาสภาพผิวไม้เอาไว้นั่นเอง) สร้างสรรค์ออกมาเป็นงานศิลปะทรงคุณค่ามากมาย ที่เราจะนำมายกตัวอย่างให้ทุกท่านได้ชมกันในวันนี้ค่ะ
เริ่มกันที่กล่องเกาหลี หรือที่ถูกเรียกกันว่า Buk เลยค่ะ
Cr. travelblog
กล่องเกาหลีหรือ Buk เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะขนาดใหญ่ที่ใช้ในงานพิธีสำคัญๆ ต่างๆ ของเกาหลี โดยบนตัวกลองนั้นจะตกแต่งด้วยสีสันตามสไตล์ Dancheong และตกแต่งด้วยลวดลายมังกร (Byeoljihwa) ที่คนโบราณเชื่อกันว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ และทุกครั้งที่ตีกลองก็เหมือนกับเป็นเสียงมังกรคำรามเพื่อขจัดภัยต่างๆ
กล่อง Buk เป็นกล่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเครื่องดนตรีตระกูลกลองหนังของชาวเกาหลี เล่นโดยใช้ไม้เพียงแท่งเดียว หรือ ไม้หนึ่งแท่งกับมือเปล่าอีกหนึ่งข้าง ขึ้นอยู่กับจังหวะที่จะตี กลองหนังขนาดที่เล็กลงมาจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป และมีขนาดเล็กแบบที่ผู้เล่นสามารถถือไปไหนมาไหนได้สะดวกเพื่อใช้ในวงดนตรีพื้นบ้าน โดยกลองทุกขนาดมักจะมีการวาดประดับด้วยลวดลายมังกรเช่นเดียวกับกลอง Buk
ต่อกันที่ Gyeongbokgung หรือพระราชวังเคียกบก
พระราชวังเคียงบกเป็นพระราชวังแห่งยุคโชซ็อนอันเป็นที่ประทับของกษัตริย์หลายพระองค์ ถูกสร้างขึ้นตั้งแแต่ปีค.ศ.1394 ปัจจุบันตั้งอยู่ในกรุงโซลประเทศเกาหลีค่ะ
สีสันหลักของพระราชวังเคียงบกเองก็ใช้งานศิลปะสไตล์ Dancheong เป็นหลักตั้งแต่ตัวอาคารไปจนถึงเพดาน โดยเฉพาะบริเวณหลังคาและเพดานของพระราชวังเนี่ย จะตกแต่งด้วยลวดลายและสีสันห้าสีหลักๆ อย่างวิจิตรงดงามจนกลายเป็นหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมทรงคุณค่าที่แสดงถึงศิลปะสไตล์นี้ เพราะนอกจากจะตกแต่งอย่างสวยงามแล้ว พระราชวังเคียงบกยังมีพื้นที่กว้างขวางมากมาย มีตำหนักรวม 10 ตำหนักซึ้งประกอบไปด้วยอาคารกว่า 200 อาคารที่ตกแต่งด้วยสไตล์เดียวกัน
บริเวณหลังคาด้านหน้าที่ตกแต่งลวดลายละเอียดลออที่จันทันหลังคามากมายเป็นลายดอกไม้ (Morucho Dancheong) โดย ณ บริเวณทางเข้าจะใช้สีแดงชาดเป็นสีหลัก แสดงออกพลังพี่จะคอยสนับสนุนกษัตริย์ที่ประทับอยู่ในวัง ในขณะที่ตำหนักกอื่นๆ ของพระราชวังก็จะมีการใช้ดอกไม้ลวดลายหรือสีสันที่ต่างออกไปตามเจ้าของตำหนักหรือวัตถุประสงค์ของตำหนักนั้นๆ นั่นเอง
ส่วนบริเวณใต้โครงสร้างหลักของอาคาร หรือ ตะเข้สัน ก็จะตกแต่งด้วยเส้นตรงและสีสันที่เรียบง่าย (Bidan Munui) เพื่อให้ฌครงสร้างหลังคาเด่นชัดสวยงาม ทั้งยังช่วยตัดกับลวดลายบริเวณจันทันให้เกิดความสบายตาและน่ามองมากขึ้นอีกด้วย
ในพระราชวังอีกแห่งอย่างพระราชวังชางด๊อกกุง (Changdeokgung Palace) เองก็มีอาคารหลังหนึ่งที่เรียกว่า โถง Huijeongdang แรกเริ่มเดิมทีใช้เป็นสถานที่อยู่ของเหล่านางสนม ก่อนจะถูกบูรณะจัดการใหม่ทั้งหมดให้กลายเป็นโถงว่าราชการของกษัตริย์เนื่องจากโถงว่าราชการเดิมอย่าง Seonjeongjeon มีพื้นที่ไม่เพียงพอ การบูรณะครั้งนี้เปลี่ยนแปลงภายในทั้งหมดให้มีกลิ่นอายของตะวันตกแฝงอยู่
Cr. blog.hyosung
มีการประดับตกแต่งด้วยโคมไฟแชนเดอเลียร์ แบบชาวตะวันตก แต่ยังคงใช้ลวดลายการตกแต่งเพดานแบบงานศิลปะ Dancheong อยู่
Cr. commons.wikimedia