Neoclassic Fashion in Art

แฟชั่นในงานศิลปะ

แฟชั่นเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่ไม่ตายตัว มีความสร้างสรรค์ได้อย่างไม่สิ้นสุด และแฟชั่นในแต่ละยุคสมัยก็ยังคงมีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้งานศิลปะอย่างภาพวาดในยุคสมัยต่างๆ ก็ยังมีการนำเอาแฟชั่นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในผลงานอีกด้วย ภาพวาดในศิลปะยุค Neoclassic ก็เป็นหนึ่งในยุคที่โดดเด่น และมีการบ่งบอกถึงแฟชั่นในยุคนั้นๆ  ( Neoclassic Fashion ) อย่างแพร่หลาย
ในปี 1800 ได้ประกาศศตวรรษใหม่และโลกใหม่ แนวแฟชั่นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง วิธีที่ผู้หญิงแต่งตัวในปี 1800 แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการแต่งกายของคนรุ่นก่อน ทั้งรูปแบบที่เข้ากับทรวดทรงของผู้หญิงมากขึ้น และผ้าไหมประดิษฐ์ของศตวรรษที่ 18 หลอมรวมเป็นชุดสไตล์นีโอคลาสสิกที่เผยให้เห็นร่างกายตามธรรมชาติมากขึ้น การฟื้นฟูแบบคลาสสิกไม่เพียงแค่ปรากฏในแฟชั่นเท่านั้น แต่ยังปรากฏในสถาปัตยกรรม วิจิตรศิลป์ และการออกแบบภายในอีกด้วย

Portrait of Madame Récamier

Credit : arthive .com
ภาพวาด Madame Récamier (มาดามเรคามิเย่ร์) เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนผ้าใบ ที่ถูกวาดขึ้นโดย Jacques Louis David (ฌาค หลุย เดวิด) จิตรกรชาวฝรั่งเศษ เป็นนักวาดภาพในสไตล์ Neoclassic ในปี 1800 โดยภาพวาดชิ้นนี้ เป็นภาพที่เสมือนสะท้อนความงามของหญิงสาวในอุดมคติสำหรับชาวฝรั่งเศส ซึ่งมีแบบเป็นหญิงสาวที่ชื่อว่า Madame Récamier (มาดามเรคามิเย่ร์) หรือชื่อเต็มๆว่า Juliette Récamier เธอเป็นสาวสังคมเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในหมู่ชนชั้นสูงของยุคนั้น สตรีที่มีความโดดเด่นจนชื่อเสียงของเธอดึงดูดผู้คนทั้งจากแวดวงวรรณกรรม และการเมืองชั้นนำในกรุงปารีส ทั้งยังขจรไกลไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว
ด้วยความที่ Juliette เป็นหนึ่งในจุดศูนย์กลางของสังคมชั้นสูง จึงทำให้เธอนั้นกลายเป็นไอคอนแห่งความงามแบบ Neoclassic เลยก็ว่าได้ ซึ่งเธอก็ได้ทำให้ความงามในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิมนี้กลายเป็นที่นิยม หรือ เรียกได้ว่าเป็นผู้นำแฟชั่นแห่งยุค
ประจวบกับในยุคนั้นที่ David ก็เป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงอย่างมากเช่นกัน Juliette จึงได้ขอให้ David มาวาดภาพ Portrait ของเธอ ศิลปินอย่าง David จึงได้ถ่ายทอดอารมณ์ของเธอออกมาทางภาพวาดทั้งสีหน้าแววตาที่ดูน่าค้นหา และยังมีอีกสิ่งที่ทำให้ภาพนี้ดูงามสง่าเป็นอย่างมาก ก็คือ การแสดงให้เห็นถึงความสูงส่งของ Neoclassic ที่ถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจนทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ และเฟอร์นิเจอร์
Credit : metmuseum .org / fashionhistory.fitnyc .edu
ภาพวาดของ Juliette ที่นอนเอนกายอยู่บนโซฟาสไตล์ Directoire ที่มีรูปแบบมาจากสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิก ถึงแม้จะแลดูเรียบง่ายแต่แฝงความหรูหราไว้ด้วยแฟชั่นที่เธอสวมใส่ นั่นคือ “ ชุดเดรสแบบเอ็มไพร์ ” ที่นักออกแบบในยุคนั้นเลือกใช้เป็นผ้ามัสลินน้ำหนักเบาและบาง แต่ยังคงทิ้งตัวสวยงาม พร้อมกับเลือกใช้เป็นโทนสีขาวในส่วนใหญ่ ชุดเดรสแบบเอ็มไพร์เป็นสไตล์การแต่งกายที่เน้นตรงส่วนท่อนบน เมื่อเย็บติดกับกระโปรงท่อนล่าง ทำให้เดรสเป็นชุดทรงเอวสูงที่มีกระโปรงพริ้วยาวไปกับพื้น โดยชุดเดรสจะเน้นเป็นทรงหลวมแต่มีเว้าเข้ารูป ซึ่งการออกแบบในลักษณะนี้ จะช่วยให้โครงร่างของหญิงสาวดูเน้นสัดส่วนช่วงบนและดูสง่างามเป็นพิเศษ โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงที่มีรูปร่างทรงลูกแพร์ และต้องการปกปิดบริเวณท้อง หรือเน้นที่หน้าอก นอกจากนี้รูปทรงของชุดเดรสยังช่วยให้ร่างกายดูสูงยาวขึ้นอีกด้วย แฟชั่นในลักษณะนี้ถือได้ว่าเป็นตัวช่วยสำหรับผู้หญิงที่ต้องการเน้นสัดส่วนที่ทำให้รูปร่างดูดีขึ้น รวมไปถึงยังสามารถอวดทรวดทรงตามธรรมชาติได้มากกว่าที่เคย

Josephine de Beauharnais

Credit : notesdemusees.blogspot .com
ภาพวาดเสมือนตัวเต็มของ Josephine de Beauharnais (โฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน) จักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส ที่มีความสำคัญทางปะวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส เนื่องจากเป็น จักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส พระองค์แรก ในจักรพรรดิ์ นโปเลียนที่ 1 ซึ่งภาพวาด Josephine ถูกวาดขึ้นโดย Henri-François Riesener (อ็องรี-ฟร็องซัว รีซีเนร์) จิตรกรชาวฝรั่งเศสผู้เลืองขื่อและเป็นปรมจารย์แห่งการวาดรูปในสไตล์ Neoclassic
Credit : commons.wikimedia
หากสังเกตจะพบว่าตัวเดรสยาวสีขาวที่เธอสวมใส่นั้นคือชุดเดรสแบบเอ็มไพร์ แต่มีความพิเศษที่เนื้อผ้าและเทคนิคที่ใช้ในการตกแต่ง โดยใช้เป็นผ้าไหมฝรั่งเศสที่มีลักษณะเงา เพิ่มเติมด้วยการปักด้วยลูกไม้สีทองที่ทำให้ดูหรูหราโอ่อ่า รวมไปถึงเครื่องประดับแผงคอด้านหลังที่เสริมเข้ามา เสริมให้ใบหน้าของผู้สวมใส่ดูโดดเด่นสง่างามยิ่งขึ้น
แฟชั่นที่ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านภาพวาด Josephine เป็นชุดที่เธอใส่ในพิธีราชาภิเษก (แต่บ้างก็ว่าเป็นคนละชุด แต่มีสไตล์คล้ายคลึงกัน) สะท้อนให้เห็นถึงความผสมผสานระหว่างชุดพิธีที่เป็นทางการ กับ แฟชั่นที่เข้ากับยุคสมัย ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกใหม่และทำให้เกิดทางเลือกแก่ชุดทางการของสุภาพสตรีมากขึ้น สวมเข้าคู่กับเครื่องประดับ Sapphires (แซฟไฟร์) ครบชุดซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของยุคนโปเลียนที่ 1
Credit : fashionhistory.fitnyc .edu
หากได้สวมใส่ชุดทั้งหมดพร้อมกับเสื้อคลุมของจักรพรรดิ จึงทำให้โดยรวมของชุดลงตัวมากยิ่งขึ้น ด้วยชุดของการอ้างอิงทางประวัติศาสตร์นี้เอง ชุดพิธีราชาภิเษกของจักรพรรดินี Josephine จึงกลายเป็นต้นแบบสำหรับเครื่องแต่งกายในราชสำนักสำหรับเจ้าหญิงแห่งจักรวรรดินโปเลียน และสตรีในราชสำนักโดยมี Josephine เป็นหนึ่งในผู้ออกแบบเขาได้รื้อฟื้นความหรูหรา และโอ่อ่าของระบอบการปกครองแบบโบราณ โดยให้มีการแต่งชุดหรูหราในราชสำนักอีกครั้ง และสิ่งเหล่านี้ก็เป็นหนึ่งในความสำเร็จทางด้านแฟชั่นของเธอหลังจากที่ขึ้นเป็นจักรพรรดินีนั่นเอง

The Bennett Family

Credit : tate .org.uk
The Bennett Family ภาพวาดสีน้ำมันบนผ้าใบที่ถูกวาดขึ้นโดยจิตรกรชาวอังกฤษ Samuel Woodforde ซึ่งในภาพวาดนี้เป็นภาพวาดของครอบครัว Bennett (เบนเน็ตต์) ตระกูลเก่าแก่ ที่เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในช่วงสงครามนโปเลียน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับพวกเขาที่จะสั่งรูปครอบครัวขนาดใหญ่เช่นนี้ นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวนี้ยังเป็นเสมือนเครือญาติกับ Samuel จิตรกรผู้วาดภาพนี้อีกด้วย
ภาพวาดภาพนี้ค่อนข้างหลากหลายในเรื่องของการแต่งกาย จึงทำให้ได้เห็นถึงแฟชั่นที่แตกต่างกันออกไปทั้งในผู้หญิง ผู้ชาย รวมไปถึงเด็ก โดยส่วนหนึ่งของชุดเดรสสตรีสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นนีโอคลาสสิกที่เริ่มปรากฏในแฟชั่น ความสนใจในสมัยโบราณคลาสสิกเพิ่มขึ้นตลอดครึ่งหลังของศตวรรษที่18 ชุดเดรสทรงเอวสูงเป็นแฟชั่นที่แพร่หลายทั่วโลกตะวันตก มีความพยายามที่จะทำซ้ำแฟชั่นของกรีกโบราณ หรือโรมทุกสิ่งอย่าง ตั้งแต่ทรงผมไปจนถึงผ้าคลุมไหล่ รวมไปถึงเส้นแนวตั้งที่เพรียวบางของเสื้อผ้าเป็นตัวสะท้อนถึงความชอบแบบนีโอคลาสสิกสำหรับรูปทรงเรขาคณิตที่สะอาดตา
Credit : fashionhistory.fitnyc .edu
แม้ว่าสีขาวจะเป็นสีที่ทันสมัยที่สุดสำหรับชุดเดรสอย่างไม่ต้องสงสัย แต่มีค่าใช้จ่ายที่สูงตามมาเช่นกัน ในบางครั้งจึงมีการเลือกใช้วัสดุและสีอื่นๆ อย่างผ้าฝ้ายพิมพ์ลาย และผ้าไหมที่มีลวดลายที่แข็งแรงกว่า
Credit : fashionhistory.fitnyc .edu
ในขณะเดียวกันความหรูหราในเสื้อผ้าบุรุษได้แสดงออกผ่านความพอดีขององค์ประกอบแต่ละส่วน โดยองค์ประกอบพื้นฐานสามประการ ได้แก่ เสื้อคลุม เสื้อกั๊ก และกางเกงด้านใน พร้อมกับสวมรองเท้าบู๊ทแบบกระสอบขัดเงา และโดยส่วนมากทั้งสามชิ้นจะไม่นิยมเป็นสีเดียวกัน ความโดดเด่นอยู่ที่เสื้อโค้ดจะถูกออกแบบให้ถูกตัดตรงช่วงเอว โดยมีทั้งตัดแบบตรงและตัดเป็นรูปตัวยูแบบกลับหัว
Credit : fashionhistory.fitnyc .edu
ที่น่าสนใจคือเทรนด์แฟชั่นมากมายในเสื้อผ้าผู้ใหญ่ ได้รับการประยุกต์ให้เป็นเสื้อผ้าเด็ก “กางเกง” เพิ่งจะเป็นที่ยอมรับของผู้ชายมากขึ้น (หมายถึงกางเกงที่มีการตัดเป็นทรงสำเร็จรูป เนื่องจากยุคก่อนหน้านี้ผู้ชายมักจะใส่ชุดยาว หรือกางเกงที่เป็นผ้าผูกและประดับด้วยเข็มขัด เครื่องประดับต่างๆ) ทำให้ชุดเด็กผู้ชายมีกางเกงเป็นส่วนหนึ่งของเสื้อผ้าของเด็กชาย รวมทั้งสวมชุดยาวถึงน่องซึ่งมักเรียกว่าเสื้อโค้ด ส่วนเด็กหญิงก็จะเป็นชุดเดรสที่มักลักษณะคล้ายกับของผู้ใหญ่ เป็นแบบเรียบง่ายและนิยมกันอย่างกว้างขวางสำหรับเด็กสาว ชนชั้นสูงนิยมใช้ผ้าฝ้ายเพราะเป็นวัสดุที่สามารถซักได้ง่าย

Bonaparte Crossing the Grand Saint-Bernard Pass

Credit : arthistoryproject .com
ภาพวาดสไตล์นีโอคลาสสิกที่แสดงภาพวีรบุรุษของกรีกโบราณและโรม เป็นภาพวาดที่มีเส้นสายที่ชัดเจน ความแม่นยำในเรื่องของโครงสร้าง ศิลปินที่เป็นแบบอย่างของยุคปฏิวัติ คือ Jacques Louis David เป็นผู้วาดภาพนี้ขึ้นมาด้วยเช่นกัน ถ้าพูดในเรื่องของแฟชั่นจากภาพนี้นั้น จะเห็นได้ชัดเจนในส่วนของชุดบุรุษที่มีความ Luxury ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง
Credit : metmuseum .org
เสื้อคลุมที่ใช้ใส่คลุมนั้นทำมาจากขนแกะเนื้อละเอียด ซึ่งสามารถปั้นให้เข้ากับตัวเสื้อได้ ในโทนสีเข้ม อย่างน้ำเงิน ดำ น้ำตาล แดง และเขียว และยังมีการปักลวดลายสีทองที่ช่วยเสริมความโอ่อ่ามากยิ่งขึ้น กระดุมด้านนอกจะใช้เป็นกระดุมแถวเดียวและผ่าตรงช่วงเอว จะทำให้สามารถมองลอดใต้เสื้อคลุมที่ปิดสนิท ด้านบนก็ยังสามารถมองเห็นเสื้อด้านในที่มีปกของคอเสื้อตั้งเด่นเป็นสง่า
แฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากรูปแบบของคนรุ่นก่อนมาสู่ยุคของ Neoclassic ทำให้การแต่งกายในยุคนี้ค่อนข้างน่าสนใจ มีเอกลักษณ์และจดจำได้ง่าย เราจึงมักจะพบเห็นงานศิลปะในยุคนั้นเด่นชัดในเรื่องของการแต่งกาย และเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้แฟชั่นมีการพัฒนาก้าวหน้าไปได้ไกล
สามารถติดตามผลงานต่าง ๆ ของทาง Bareo ได้ที่ช่องทางเว็บไซต์ของ Bareo หรือทาง Facebook : Design by Bareo ที่จะคอยอัพเดทข่าวสาร งานดีไซน์ และผลงานการออกแบบตกแต่งภายในมากมาย ให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้ และความสนุกตลอดทั้งปี
หรือหากสนใจจะออกแบบตกแต่งภายในกับทาง Bareo ทางเราก็มีบริการออกแบบภายในครบวงจร โดยสามารถอ่านรายละเอียดการให้บริการของเราได้ที่นี่ คลิ๊ก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
fashionhistory.fitnyc .edu
tate .org.uk
journals.openedition .org
ssztajer.wordpress .com
arthive .com
journals.openedition .org
.
“THE EMPRESS OF THE FRENCH.
ICONOGRAPHY OF JOSÉPHINE DE BEAUHARNAIS”
Page 241-264
By TERESA LLÁCER VIEL

CONTENT RELATED

NEW CONTENT

PORTFOLIO