Dry Ice Cuisine

อาหารท่ามกลางสายหมอก

หมอกขาวๆ ที่ถูกปล่อยออกมาจากน้ำแข็งแห้ง เมื่อถูกจับมาเข้าคู่กับศิลปะการตกแต่งจานอาหาร ก็ได้กลายเป็นตัวช่วยสร้าง Mood และยกระดับให้กับจานอาหารนั้นๆดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น หรือจะเรียกว่าเป็นการสร้างเสน่ห์ให้กับจานอาหารด้วย Dry ice ก็ไม่ผิด

Art of Cuisine

Credit : concreteplayground .com
นอกจากรสชาติของอาหารที่เป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆแล้ว หน้าตาความสวยงามของอาหารก็มีความสำคัญด้วยเช่นกัน เหมือนกับประโยคที่กล่าวไว้ว่า “The eyes also eat.” จึงทำให้การทำอาหารไม่เพียงแต่จะต้องอร่อยเท่านั้น แต่ต้องตกแต่งอาหารให้สวยงามซึ่งสิ่งนี้เองทำให้ต้องมีศาสตร์แห่งศิลป์เข้ามาแต่งเติมให้อาหารน่ารับประทานยิ่งขึ้นไปอีก
Credit : greatbritishchefs .com
ศิลปะการตกแต่งอาหารที่กล่าวถึง ไม่ใช่แค่เพียงการทำอาหารให้ดูน่ารับประทาน แต่ยังมีความละเมียดละไมมากไปกว่านั้น นั่นคือ “ ความวิจิตรบรรจง ” ในการตกแต่งเข้ามาผสมผสานกับการทำอาหาร โดยส่วนมากแล้วเรามักจะเห็นการตกแต่งจานที่มีการใช้ทักษะขั้นสูงกับอาหารในลักษณะ Fine dining โดยมีแนวทางพื้นฐานในการจัดจานที่จะช่วยเป็นไกด์ในการเริ่มตกแต่งจานอาหาร เช่น การจัดจานแบบดึงดูดสายตาทั้งหมดไปที่ตรงกลาง, การจัดเรียงอาหารเป็นแนวตรง, การเรียงอาหารเป็นรูปวงกลม เป็นต้น
Sup Kambing Betawi ที่ถูกเสิร์ฟมาแบบเทคนิค Deconstruction
Credit : manual .co.id
นอกจากการจัดเรียงแล้วสิ่งที่เป็นที่นิยมในการออกแบบตกแต่งจานอาหารก็คือการใช้เทคนิคพิเศษเข้ามาร่วมด้วยเช่น เทคนิค Deconstruction (การเสิร์ฟแบบแยกส่วนประกอบ) หรือ เทคนิคการใช้ Dry ice ที่เข้ามาช่วยสร้างความตื่นตาตื่นใจขณะทำการเสิร์ฟ
เทคนิคการใช้ Dry ice ในการเสิร์ฟ
Credit : craftandcocktails .co
การใช้น้ำแข็งแห้งเพื่อความงามของอาหารเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในวงการอาหาร เพราะนอกจากจะช่วยสร้างความสวยงามแล้วยังมีอุณหภูมิที่เย็นจัดจนสามารถช่วยรักษาสภาพของอาหารได้เป็นอย่างดี

Dry ice

Dry ice หรือน้ำแข็งแห้งเป็นชื่อสามัญของคาร์บอนไดออกไซด์ในสถานะของแข็ง มีลักษณะคล้ายกับน้ำแข็งธรรมดา แต่มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่ามาก โดยมีอุณหภูมิความเย็นถึง – 79 องศาเซลเซียส และเป็นที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสหกรรมอาหาร ข้อดีของน้ำแข็งแห้ง คือ ไม่ส่งผลต่อรสชาติของอาหารแต่ช่วยให้อาหารยังคงความสดและรักษารสชาติไว้ได้เต็มที่ ซึ่งน้ำแข็งแห้งนั้นหากไม่ได้สัมผัสโดยตรงก็จะไม่มีอันตรายอะไร เพราะน้ำแข็งแห้ง คือ คาร์บอนไดออกไซด์ เราจึงมักจะเห็นกันอยู่บ่อยๆ ในการนำน้ำแข็งแห้งไปใช้ตกแต่งร่วมกับอาหารโดยการทำให้เกิดควัน ซึ่งไม่ได้มีอันตราย (หากไม่ได้เผลอรับประทานน้ำแข็งเข้าไป)
Credit : polarice .co.uk
ถ้าได้กินควันของน้ำแข็งแห้งเข้าไปก็จะเหมือนกับกินโซดา หรือน้ำอัดลม แต่ต้องไม่เป็นการสัมผัสโดยตรงกับผิวหนัง เพราะด้วยอุณหภูมิที่เย็นจัดจะทำให้ผิวหนังไหม้พองได้ หากต้องการใช้งานกับอาหารจะต้องมีการห่อไว้หรือมีอะไรกั้นเพื่อไม่ให้เผลอกลืนลงคอ
ประโยชน์ที่มากไปกว่าความสวยงามคือน้ำแข็งแห้งจะไม่ละลายเหมือนน้ำแข็งธรรมดา แต่จะสลายได้ด้วยการระเหิด ซึ่งการระเหิดของน้ำแข็งแห้งนั้นจะทำให้เกิดฟองดันขึ้นรวมถึงทำให้มีควันที่ลักษณะคล้ายหมอก (เกิดจากคาร์บอนไดออกไซด์ผสมกับไอน้ำจนกลั่นตัวเป็นหมอก) และยังมีการหมุนวนเกิดขึ้นจึงทำให้นิยมนำมาใช้ใส่ในเครื่องดื่ม เพราะมันจะช่วยผสมเครื่องดื่มให้เข้ากันได้เองไม่ต่างจากการคน และด้วยความน่าทึ่งหลายๆ ประการของน้ำแข็งแห้งจึงมักจะได้เห็นเมนูดังที่เหล่าเชฟเลือกใช้น้ำแข็งแห้งมาประกอบการตกแต่งจานของเขา

LA BRUMA by Quique Dacosta

Credit : denia .com
LA BRUMA เป็นหนึ่งในเมนูอาหารของ EL POBLET ร้านอาหารในสเปน ซึ่งเป็นร้านอาหารที่ได้รับดาวจากมิชลินสองดวง ที่นี่โดดเด่นทั้งในด้านของรสชาติและทางด้านของการตกแต่งจานอาหารที่มีสุนทรียศาสตร์ ทางร้านนำเสนอเมนูที่รังสรรค์โดยเชฟชื่อดังอย่าง Quique Dacosta ซึ่ง LA BRUMA เสมือนเป็นตัวแทนของความรู้สึกเมื่อตื่นขึ้นในตอนเช้าพร้อมกับหมอก ที่เกิดจากการเทน้ำร้อนลงไปจะทำให้เกิดเอฟเฟกต์ควันสีขาวฟุ้งกระจาย ซึ่งเกิดมาจากการใช้ Dry ice มาเป็นส่วนประกอบในการออกแบบตกแต่งจาน ภายใน LA BRUMA ประกอบไปด้วยขาหมู ถั่วลันเตา และถั่วเขียว พื้นผิวมีการเลียนแบบกลิ่นอายของดินชื้นในตอนเช้า เรียกได้ว่าเป็นการสร้างอรรถรสให้น่ารับประทานอย่างมากเลยทีเดียว
Credit : orden45 .com

WARM PICKLED OYSTER by Martín Berasategui

Credit : chefspencil .com
Warm Pickled Oyster เป็นเมนูที่ถูกออกแบบทั้งรสชาติและหน้าตาโดยเชฟ Martín Berasategui ชาวสเปน ผู้ถือครองดาวมิชลิน มากถึง 8 ดวง เพราะเขามีร้านอาหารระดับดาวมิชลินเป็นของตัวเองอยู่หลายแห่ง อีกทั้งยังเป็นเจ้าของสูตรหอยนางรมดองอุ่น ๆ กับแตงกวาเย็น เสิร์ฟพร้อมโฟมแอปเปิ้ล โดยลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของมื้ออาหารนี้ คือควันที่ฟุ้งกระจายล้อมรอบไปด้วยกลิ่นของวัตถุดิบในจานได้อย่างครบถ้วน ซึ่งสิ่งนี้ยังเป็นการแสดงออกถึงความชำนาญในการจัดทิศทางควันของเชฟ โดยควันมาจากการใช้น้ำแข็งแห้งนั่นเอง อาหารจานนี้ทำให้เห็นว่าศิลปะการประกอบอาหารที่มีทั้งความงดงาม และการเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสม เป็นตัวช่วยสำคัญที่ส่งเสริมอาหารให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น

Meritage’s Peruvian scallops by Keith Bombaugh

Credit : boston .com
Meritage’s Peruvian scallops เมนูนี้ถูกสร้างสรรค์โดยเชฟดัง Keith Bombaugh แห่งร้านอาหาร Meritage ในชิคาโก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องอาหารสมัยใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจ โดย Meritage’s Peruvian scallops จานนี้เรียกได้ว่าเป็นเมนูที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่เปิดประสบการณ์ใหม่สำหรับผู้ที่ได้ลิ้มลอง เพราะ ควันที่พวยพุ่งขึ้นมาตีจมูกนำพาเอากลิ่นหอมของหอยเชลล์ขึ้นมาด้วยอย่างเต็มปอด ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้น้ำแข็งแห้งเข้ามาช่วยให้คล้ายกับมีเวทมนต์เลยทีเดียว ซึ่งควันที่เกิดขึ้นนั้นถึงแม้จะเป็นคาร์บอนไดออกไซด์แต่เกิดขึ้นในที่โล่งแจ้ง และเป็นเวลาไม่นานจึงทำให้ไม่มีอันตราย เมื่อจมูกได้รับกลิ่น ลิ้นก็ตามมาด้วยรสสัมผัสของหอยเชลล์ที่ถูกคิดค้นรสชาติให้มีความสดชื่นเมื่อรับประทานเข้าไป

Candy Cap Magic cocktail by The Botanist

Credit : liquor .com
Candy Cap Magic cocktail เป็นหนึ่งในเมนูเครื่องดื่มภายในร้านอาหารและบาร์ The Botanist ซึ่งอยู่ภายในโรงแรม Fairmont Pacific Rim ในนิวยอร์ก บาร์แห่งนี้มีทั้งค็อกเทลบาร์ เลานจ์แชมเปญ เมนูทั้งหมดได้รับแรงบันดาลใจจากหลักการทางพฤกษศาสตร์ มีการใช้วัตถุดิบมาจากพืชพรรณหลายชนิด ซึ่งจะต้องมีการศึกษาทดลองเกี่ยวกับพืชมาเป็นอย่างดีก่อนจะนำมาใช้ทำค็อกเทล โดยจะเลือกใช้พืชพรรณในท้องถิ่นมาเป็นส่วนผสมหลัก และจำเป็นต้องเลือกตามฤดูกาล เพื่อรสชาติที่ดีที่สุดในแต่ละช่วงเวลา รวมไปถึงศิลปะในการตกแต่งอาหารของแต่ละเมนู จะมีการออกแบบด้วยการยกพฤกษศาสตร์มาประดับตกแต่ง เช่นการเสิร์ฟค็อกเทลในลักษณะของสวนขวดที่ถูกจัดแต่งมาอย่างลงตัว เป็นต้น เป้าหมายของทีม The Botanist คือการดื่มเพื่อให้ดูมีศิลปะแต่ยังมีรสชาติที่ยอดเยี่ยม โดยมีเมนูที่โด่งดังอย่าง Candy Cap Magic cocktail และถูกตกแต่งในคอนเซ็ป cocktail bar and lab เป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างความฮือฮาให้กับบาร์แห่งนี้
Candy Cap Magic cocktail เป็นเมนูที่นำเสนอข้าวไรย์ผสมลูกกวาด และน้ำเชื่อมรูตเบียร์โฮมเมด Candy Cap Magic เป็นอาหารสไตล์เอิร์ธโทน ตกแต่งด้วยการเสิร์ฟ น้ำแข็งแห้งใต้มอสซึ่งมีค็อกเทลตั้งอยู่ จะถูกกระตุ้นกับไอน้ำให้มีควันหมอก และกระจายกับน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีกลิ่นหอมที่ชวนให้นึกถึงกลิ่นฝน เรียกได้ว่าเป็นการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้กับอาหารได้อย่างน่าประทับใจ

New Summer Cocktail Menu by The Botanist

Credit : nwtc .uk.com
The Botanist บาร์แห่งพฤกษศาสตร์ ยังได้เปิดตัวเครื่องดื่มค็อกเทลชุดใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวิทยาศาสตร์แห่งพืช มีชื่อคอลเลคชั่นของค็อกเทลชุดใหม่นี้ว่า New Summer Cocktail Menu โดยเครื่องดื่มในคอลเลคชั่นใหม่นี้ประกอบด้วยเครื่องดื่มค็อกเทลเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสด้วยกลิ่นของพฤกษศาสตร์ และการใช้น้ำแข็งแห้งเพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่น่าดื่มด่ำ ได้แก่ Passionfruit & Basil Crush, Lemon & Jasmine Collins, Blueberry & Passionfruit Martini, Poppy & Pomegranate Fizz และ Elderflower & Lavender Fizz แต่ที่น่าสนใจพอๆ กับรสชาติของค็อกเทลก็คือ Presentation ของทางร้าน ที่นำเสนอออกมาในรูปแบบของการทดลองทางวิทยาศาสตร์ และเลือกใช้ Dry ice มาเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะคอยเล่าสตอรี่ต่างๆ ที่ทางร้านต้องการสื่อถึง มีทั้งการเสิร์ฟในรูปแบบของกาน้ำชา หรือแม้กระทั่งการเสิร์ฟในหลอดทดลอง ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกใหม่เป็นจุดสร้างความสนุกสนานให้กับผู้ที่มาใช้บริการ
Dry ice จะเรียกได้ว่าเป็นตัวเอกของวงการตกแต่งจานอาหารเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อถูกนำมาผสมผสานกับความสร้างสรรค์ก็ยิ่งช่วยยกระดับจานอาหารได้มากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ และนอกจากจะช่วยในเรื่องของความสวยงามแล้วยังมีส่วนนำพากลิ่นของตัวอาหารไปสู่ผู้ชิมให้ได้รับอรรถรสอย่างเต็มที่อีกด้วย
สามารถติดตามผลงานต่าง ๆ ของทาง Bareo ได้ที่ช่องทางเว็บไซต์ของ Bareo หรือทาง Facebook : Design by Bareo ที่จะคอยอัพเดทข่าวสาร งานดีไซน์ และผลงานการออกแบบตกแต่งภายในมากมาย ให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้ และความสนุกตลอดทั้งปี
หรือหากสนใจจะออกแบบตกแต่งภายในกับทาง Bareo ทางเราก็มีบริการออกแบบภายในครบวงจร โดยสามารถอ่านรายละเอียดการให้บริการของเราได้ที่นี่ คลิ๊ก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Nwtc .uk.com
liquor .com
boston .com
manual .co.id
Continentalcarbonic .com
digital.modernluxury .com
chefspencil .com

CONTENT RELATED

NEW CONTENT

PORTFOLIO