นกยูง Peacock gate ประตูนกยูง

Peacock Gate
พระราชวังแห่งชัยปุระ

จัยปูร์ หรือ ชัยปุระ (Jaipur) เมืองแห่งมนต์เสน่ห์ของสถาปัตยกรรมอินเดียโบราณ ที่รวมรวมสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามต่าง ๆ ไว้มากมาย และหนึ่งในนั้นก็คือ พระราชวังแห่งชัยปุระ (City Palace of Jaipur) พระราชวังที่รวมศิลปะอันโดดเด่นของอินเดีย ถูกสร้างด้วยรูปแบบผสมระหว่าง “ราชปุต” ที่มีรูปแบบของลวดลายที่ชดช้อยเป็นเอกลักษณ์ของอินเดีย และรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบ “โมกุล” ที่เป็นรูปแบบหนึ่งของสถาปัตยกรรมอินโด – อิสลาม (Indo-Islamic architecture) ที่มีความโดดเด่นด้วยโดมขนาดใหญ่ และทางเข้าที่เป็นหลังคาทรงโค้งนั่นเอง
Peacock Gate พระราชวังชัยปุระ ประตูนกยูง

Cr. Micato

พระราชวังแห่งชัยปุระ ถูกสร้างขึ้นในราชสมัยของ มหาราชา ไสว จัน ซิงห์ ที่ 2 (Maharaja Sawai Jai Singh II) ปัจจุบันพระราชวังแห่งชัยปุระเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน
ส่วนที่ 1 ส่วนของพระราชวัง
ส่วนที่ 2 พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงฉลองพระองค์ของกษัตริย์แห่งชัยปุระ
ส่วนที่ 3 พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงอาวุธ และชุดออกรบของชาวชัยปุระ
ส่วนที่ 4 พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงภาพวาด ภาพถ่าย และพรมโบราณ
ซึ่งหนึ่งในไฮไลท์ของพระราชวังแห่งชัยปุระก็คือ ประตูนกยูง (Peacock Gate) ซึ่งเป็นหนึ่งในประตูทั้ง 4 ของพระราชวังแห่งชัยปุระ ซึ่งประตูนกยูงเป็นประตูที่แทนของฤดูฝน นอกจากนี้ยังมีประตูอื่นๆ ที่น่าสนใจอีก 3 ประตูนั่นก็คือ ประตูดอกบัว (Lotus Gate) แทนฤดูร้อน, ประตูกุหลาบ (Rose Gate) แทนฤดูหนาว และ ประตูสีเขียว (Leheriya Gate หรือ Wave Gate) แทนฤดูใบไม้ผลิ
Peacock Gate พระราชวังชุยปุระ ประตูนกยูง
Peacock Gate พระราชวังชุยปุระ ประตูนกยูง

Cr. Remotetraveler

แต่ประตูที่สำคัญที่สุดในสี่ประตูนี่ก็คือประตูนกยูง ซึ่งตามความชื่อของอินเดียแล้ว นกยูงเป็นตัวแทนของสัตว์บนสวรรค์เป็นสิ่งทีมีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชา อีกทั้งยังเป็นเครื่องหมายของพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือว่ากษัตริย์คือตัวแทนของเทพเจ้าด้วยเช่นกัน
Peacock Gate ประตูนกยูง พระราชวังชัยปุระ

Cr. Fineartamerica

อีกหนึ่งความสำคัญของประตูนกยูงก็คือ การเป็นตัวแทนของฤดูฝน ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นฤดูเพาะปลูกของอินเดีย ถ้าสังเกตตัวประตูให้ดี จะเห็นรูปสัญลักษณ์นกยูงที่มีพืชออกมาจากปาก ซึ่งถือเป็นความเชื่อที่ว่า นกยูง หรือกษัตริย์เป็นผู้ประทานมาซึ่งฝน ความอุดมสมบูรณ์ และชีวิตนั่นเอง
ทั้งนี้ประตูนกยูงยังเป็นประตูที่สร้างมาขึ้นเพื่อระลึก และสักการะพระวิษณุ หรือพระนารายณ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ ที่มีความสำคัญที่สุดของชาวอินเดียอีกด้วย
นอกเหนือจากประตูทั้ง 4 ทีมีความสำคัญแล้ว พระราชวังแห่งชัยปุระยังมีสถานที่สำคัญอีกอย่างนั้นก็คือ จันทรา มาฮาล หรือในภาษาบ้านเราคือ ที่พระทับของพระมหากษัตริย์นั่นเอง
Sukh Niwas Peacock Gate

Cr. Flickr

ห้องแรก สุขนิวาส (Sukh Niwas) ห้องนี้เป็นห้องสำหรับพักผ่อนของกษัตริย์ รวมถึงทำกิจกรรมพักผ่อนพระวรกายต่างๆ รวททั้งทำกิจกรรมโล้ชิงช้าอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันชิงช้าได้ถูกนำออกไปแล้ว เหลือไว้เพียงห่วงยึดชิงช้าด้านบนเพดานเท่านั้น
Sri Niwas Peacock Gate

Cr. Rajasthantourpackage

ห้องที่ 2 คือ ศรีนิวาส (Sri Niwas) ห้องนี้คือห้องบรรทมของกษัตริย์ ซึงจะถูกปิดทุกด้านด้วยประตูไม้รอบด้าน เพื่อป้องกันแสงที่ส่องเข้ามาภายในห้องบรรทม นอกจากนี้ยักประดับด้วยกระจกขนาดเล็กมากมาย ซึ่งเมื่อปิดประตูทุกด้านและจุดเทียน แสงเทียนจะสะท้อนกับกระจกนับพันเสมือนนอนอยู่ท่ามกลางดวงดาวนับล้านดวงเลยทีเดียว
Shobha Niwas Peacock Gate

Cr. Flickr

และห้องสุดท้าย โชบานิวาส (Shobha Niwas) ห้องนี้ใช้สำหรับต้องรับแขกบ้านแขกเมือง หรือ อาคันตุกะของกษัตริย์ ภายในห้องถูกตกแต่งได้อย่างวิจิตร สวยงามเป็นอย่างมาก ภายในห้องถูกตกแต่งด้วยสีทองเพื่อแสดงถือว่ารุ่งเรื่องแห่งราชวงศ์ชัยรุปะ
ไม่ธรรมดาเลยใช่ไหมครับสำหรับ City Palace of Jaipur ที่มีเรื่องราวและความสำคัญ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับความเชื่อในเรื่องของนกยูง และกษัตริย์อีกด้วย หายเป็นไปได้ก็อยากจะขอเชิญชวนผู้อ่านทุกท่านได้ไปเที่ยวพระราชวังแห่งชัยปุระแห่งนี้สักครั้ง ไปถ่ายรูปคู่กับประตูนกยูง และมาอวดกันบางนะครับ 🙂
สามารถติดตามผลงานต่าง ๆ ของทาง Bareo ได้ที่ช่องทางเว็บไซต์ของ Bareo หรือทาง Facebook : Design by Bareo ที่จะคอยอัพเดทข่าวสาร งานดีไซน์ และผลงานการออกแบบตกแต่งภายในมากมาย ให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้ และความสนุกตลอดทั้งปี

CONTENT RELATED

NEW CONTENT

PORTFOLIO