Samrong General Hospital

The Next Level of Rehabilitation

Samut Prakarn, Thailand

Patient Rooms

32 Beds

395 Sq.m.

Futuristic Style

About

“มิติใหม่ของห้องพักคนไข้ ที่จะทำให้ประสบการณ์การเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลผ่อนคลายและสะดวกสบายยิ่งขึ้น
ด้วยความใส่ใจทั้งด้านสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจของคนไข้ ทำให้โรงพยาบาลเอกชนชื่อดังในจังหวัดสมุทรปราการ “สำโรงการแพทย์” ตัดสินใจปรับปรุงห้องพักคนไข้บริเวณชั้น 4 เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ของการดูแลผู้ป่วย ให้ได้รับความสะดวกสบายและเพียบพร้อมไปด้วยรายละเอียด และอุปกรณ์ทันสมัยเพื่อตอบสนองต่อการใช้งานในหลายมิติ ทั้งในส่วนของผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย พยาบาล ตลอดจนนาย แพทย์ที่มาดูแล ภายใต้งานออกแบบในสไตล์ Futuristic ที่เรียบหรูและ แปลกตา”

Space

  • ห้องพักคนไข้ขนาด 2 เตียง (7 ห้อง)
  • โถงทางเดิน

  • ห้องพักคนไข้ขนาด 3 เตียง (6 ห้อง)

Space & Style

กว่า 40 ปีแห่งความทุ่มเทของโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ ที่ปรับปรุงและพัฒนาเพื่อรองรับความต้องการของประชาชนเสมอมา ในครั้งนี้ทางโรงพยาบาลได้ตัดสินใจ Renovated โฉมหน้าของโซนห้องพักผู้ป่วยบริเวณชั้น 4 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มาใช้บริการให้มากยิ่งขึ้น
งานออกแบบและตกแต่งภายใน “โรงพยาบาล” นั้นเมื่อใช้สไตล์ Futuristic เข้ามาเป็นสไตล์หลักในการออกแบบทำให้นอกจากจะคำนึงถึงดีไซน์ที่ถูกสุขลักษณะแล้ว ยังเน้นให้ดูทันสมัยและมีชีวิตชีวา ซึ่งช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสุขภาพจิตใจของคนไข้อีกด้วย

Photo

|| โถงทางเดิน ||

หนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อญาติคนไข้ไปโรงพยาบาล คือ ความไม่แน่ใจว่าเรามาถูกชั้นรึเปล่า? และจำเป็นต้องเดินสำรวจว่าชั้นนี้ใช่ชั้นที่เราต้องการจะมาจริงหรือไม่ ? หลายครั้งที่เราตัดสินใจถามเคาน์เตอร์พยาบาลเพื่อความแน่ใจ แต่ก็มีหลายคราเช่นกันที่เวลาที่เราไปประจวบเหมาะพอดีกับช่วงเวลาที่คุณพยาบาลกำลังไม่ว่าง…
ปัญหานี้จะหมดไปด้วยงานออกแบบที่ดีไซน์เนอร์ของเราตัดสินใจแก้ปัญหา โดยให้ตัวเลขแสดงชั้นนั้นเด่นชัดมาแต่ไกล พร้อมการใช้สีเพื่อแบ่งโซนชัดเจน นอกจากนี้เรายังได้ออกแบบให้โถงทางเดินนี้มีแสงสว่างที่เหมาะสมและระบบระบายอากาศที่ถ่ายเท ควบคู่ไปกับการใช้ Pattern ลายเส้นบนพื้นที่ให้ทางเดินที่ทอดยาวดูมีชีวิตชีวามากขึ้น
เมื่อเดินไปตามทางเดินที่ทอดยาว ก็จะพบกับประตูที่นำเข้าไปสู่ห้องพักผ่อนจำนวน 32 เตียงในบริเวณโซนนี้

|| ห้องพักแบบ 2 เตียง ||

ในการออกแบบห้องต่าง ๆ ในโรงพยาบาลทุกครั้ง Interior Design Team ของบาริโอ จำเป็นต้องทำการศึกษาการใช้งานของ User ทุกประเภทให้ครบถ้วน จากนั้นจึงทำการวางแนวคิดในการออกแบบคร่าว ๆ เพื่อให้ตอบสนองต่อโจทย์ต่าง ๆ อย่างครบครัน
สำหรับครั้งนี้ เป็นการออกแบบห้องพักผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นห้องรวมแบบ 2 เตียง และ 3 เตียง ทำให้โจทย์ค่อนข้างซับซ้อนกว่าห้องพักเดี่ยวมาก ดังนั้นทีมออกแบบร่วมกับทางโรงพยาบาลจึงได้ปรึกษากันเพื่อสรุปผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานภายในห้องพักทั้งหมด อันได้แก่
  1. ผู้ป่วย หรือ ผู้ที่มาพักฟื้น
  2. ญาติผู้ป่วย
  3. พยาบาล
  4. นายแพทย์ประจำตัวผู้ป่วย
  5. พนักงานรักษาความสะอาด
  6. พนักงานซ่อมบำรุง หรือช่าง
โดยในการพักฟื้น หรือดูแลผู้ป่วยนั้น ความสำคัญอันดับแรกคือความสะอาด ปราศจากฝุ่น และเชื้อโรค ดังนั้น ห้องพักจำเป็นที่จะต้องเรียบง่าย ไม่มีจุดกักเก็บฝุ่น เช่น หลืบไฟ หรือซอกมุมต่างๆ ที่ไม่สามารถเข้าถึง รวมทั้งงานออกแบบจำเป็นจะต้องไม่มีเหลี่ยมมุมคม ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน รวมทั้งจะต้องเลือกใช้วัสดุที่ง่ายต่อการทำความสะอาด ทนทาน ตลอดจนสะดวกในการบำรุงรักษา
จากผลการวิเคราะห์ ทำให้ทีมออกแบบตัดสินใจเลือกใช้งานออกแบบในสไตล์ Futuristic ที่เรียบง่าย แต่สวย แปลกตา รวมไปถึงทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้เวลาในห้องพักชุดนี้ได้อย่างมีความสุข

“The purpose of the hospital is to improve the healthcare and living conditions of people”
– Dikembe Mutombo –

ห้องพักแบบ 2 เตียง

เป็นห้องพักที่ค่อนข้างท้าทาย เนื่องจากเป็นห้องพักผู้ป่วยที่มาพักรวมกัน ดังนั้น Designer จึงได้วาง Planning แยกเป็น 2 ส่วนโดยมีกล่องเก็บผ้าม่านกั้นที่ยื่นออกมาราว 60 เซนติเมตร เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ป่วยแต่ละราย โดยกล่องเก็บผ้าม่านนี้ ยังติดตั้งป้ายเลขที่เตียง ตลอดจนมีช่องสำหรับการติดคำเตือนประเภทต่างๆ สำหรับคนไข้แต่ละรายโดยเฉพาะ ทำให้แพทย์และพยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
หัวเตียงของห้องพักแบบ 2 เตียงนี้ ได้รับการออกแบบให้เรียบง่ายแต่หรูหรา โดย Designer ได้เลือกใช้ Artificial Quatz หรือ Acrylic Solid Surface สี Emerald ของ LG Hausys ซึ่งเป็นเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ที่เกิดจากการนำหินจริงมาบดละเอียด และเทลงบนแม่พิมพ์โดยผสมกับสารประกอบอื่นๆ ที่ช่วยเสริมความแข็งแรง ลดปัญหาการบิ่น แตกหรือร้าว ทนทานต่อสารเคมี รวมไปถึงมีค่าการดูดซึมน้ำต่ำมาก ทำให้เป็นวัสดุที่ง่ายต่อการทำความสะอาด และทนทานต่อการใช้งานในโรงพยาบาล
ด้วยคุณสมบัติที่ง่ายต่อการขึ้นรูปของวัสดุ ทำให้ Designer สามารถออกแบบหัวเตียงที่โค้งมนโดยไม่มีรอยต่อ จึงไร้ปัญหาเรื่องฝุ่นตกค้างหรือสะสม รวมถึงความโปร่งแสงของเนื้อวัสดุช่วยกระจายแสงของไฟ LED ทำให้ผู้ที่มาพักฟื้นสามารถเลือกเปิดเป็นแสงสลัว ในกรณีที่ต้องการพักผ่อน แต่ไม่ต้องการให้มืดเกินไปได้อีกด้วย
หัวจ่ายอากาศที่จำเป็นต้องใช้ในโรงพยาบาลทั้ง 3 ชนิด ถูกติดตั้งไว้บริเวณด้านบนของ Headboard นี้ และในแถบสเตนเลสเดียวกัน ยังติดตั้งปลั๊ก สวิชท์ไฟ และไฟอ่านหนังสือเพื่อให้ตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้งานทุกประเภทด้วย
ในห้องพักแบบ 2 เตียงนี้ ยังมีตู้เสื้อผ้าติดตั้งไว้ที่มุมทั้งสองด้านของห้อง เพื่อให้ผู้มาพักฟื้นและญาติ สามารถเก็บของใช้ส่วนตัวได้อย่างเป็นสัดส่วน
อีกจุดหนึ่งที่ทางโรงพยาบาลได้คำนึงและตัดสินใจปรับปรุงเพื่อคนไข้นั้นก็คือ “ห้องน้ำ” เนื่องจากประตูห้องน้ำแต่เดิมนั้นเป็นประตูบานเปิดทำให้ผู้ใช้รถเข็นเข้าออกไม่สะดวก ดังนั้นในงานปรับปรุงใหม่นี้ Designer จึงได้เลือกใช้ประตูบานสไลด์ที่จะซ่อนบานประตูเข้าไปในผนังได้ทั้งบาน เพื่อแก้ปัญหาการเปิด-ปิดประตูไม่สะดวกเมื่อต้องนั่งรถเข็น อีกทั้งบานประตูนั้นยังติดตั้งด้วยอุปกรณ์ Hardware พิเศษที่สามารถสไลด์กลับเองได้ ทำให้หมดปัญหาต้องคอยปิดประตูเมื่อเข้าไปหรือหลังออกมาจากการใช้ห้องน้ำนั่นเอง
และจุดเด่นพิเศษอีกอย่างของห้องพักนี้คือการนำวัสดุ “ลามิเนตลายไม้” และ Wallpaper ลายใบไม้หน้าห้องน้ำ ที่บริเวณทีวีที่ปลายเตียง โดย Natural Pattern & Materials นั้นจะช่วยให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลายและใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจิตวิทยาด้านจิตใจที่จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย

|| ห้องพักแบบ 3 เตียง ||

ห้องพักผู้ป่วยรวมแบบ 3 เตียง จะเป็นห้องพักที่จำเป็นต้องออกแบบให้ประหยัดพื้นที่มากที่สุด แต่ต้องยังตอบโจทย์การใช้งานเช่นเดียวกับห้องแบบ 2 เตียง ดังนั้น Designer จึงได้ออกแบบหัวเตียงให้โค้งขึ้นไปถึงเพดาน เพื่อสร้างอาณาเขตของผู้ป่วยแต่ละคน และด้วย Design ของหัวเตียงที่โค้งขึ้นไปเป็นฝ้าเพดาน ยังทำให้สามารถติดตั้งแถบ Function ต่างๆ บนหัวเตียง ไปจนถึงไฟ LED ที่ซ่อนในฝ้าเพดานได้อย่างลงตัว
การเลือกใช้วัสดุในการตกแต่งหัวเตียงนี้ Designer ยังคงเลือกใช้ Artificial Quatz เช่นเดียวกับห้อง 2 เตียง แต่มีจุดเพิ่มเติมที่เหนือ Headboard จะมีบานเปิดขนาดเล็กที่ด้านขวา ซึ่งสามารถเปิดเพื่อให้ทีมช่างบำรุงรักษาอาคาร ทำการดูแลระบบท่อและสายไฟต่างๆ ที่ฝังในผนังชุดนี้ได้โดยสะดวก
สำหรับ Lighting ของห้องพักแบบนี้จะแบ่งออกเป็น 3 สวิชท์ คือ ไฟตัว U วงนอก, ไฟวงกลมด้านใน และไฟซ่อนบริเวณหัวเตียง ที่สามารถดึงแถบไฟสีดำที่ซ่อนอยู่ออกมาเพื่อใช้งานหรือเก็บกลับเข้าไปเป็นระนาบเดียวกับ Headboard ได้ตามประสงค์ของผู้ใช้งาน
มาถึง Side Table ที่อยู่ข้างเตียงก็ยังได้รับการออกแบบอย่างเอาใจใส่ ตั้งแต่การเลือกใช้ Top ที่กรุลามิเนตที่ทนทานต่อสารเคมี เพื่อให้พยาบาลเตรียมยาให้กับผู้ป่วยได้โดยสะดวก รวมไปถึงลิ้นชักแบบ 2 ชั้นที่สามารถล็อคได้ เพื่อเก็บของใช้ส่วนตัว
รวมไปถึงด้านใต้ Side Table ที่ปล่อยเป็นช่องว่าง เพื่อใช้เก็บถังขยะในยามที่ไม่ใช้งาน ทำให้ถังขยะไม่กลายเป็นสิ่งเกะกะภายในห้องหรือทางเดินปลายเตียงอีกต่อไป
และนี่ก็คือโปรเจค “Samrong General Hospital : The Next Level of Rehabiltation” ผลงานรีโนเวทโซนห้องพักผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ ที่เรานำมาฝากทุกท่านในวันนี้ค่ะ
ในช่วงปลายฝนต้นหนาวของเดือนพฤศจิกายนแบบนี้ อย่าลืมดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ตรวจสุขภาพประจำปี รอต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขในช่วงสิ้นปีที่จะถึงนี้กันนะคะ
หากสนใจดูผลงานอื่นๆ ของเราก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ Portfolio ของเว็บไซต์ Bareo-Isyss หรือ ถ้ามีข้อสงสัยก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ 02 408-1341 – 44 และ 085 072-8998 และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Design by Bareo ค่ะ
แล้วพบกันใหม่ในเดือนหน้า
สวัสดีค่ะ : )

PROJECT RELATED

NEW CONTENT