head pattern123 chinese newyear head top123 2  
editor talk : ออกแบบภายใน,ตกตแต่งภายใน,ออกแบบตกแต่งภายใน  
new project : ออกแบบภายใน,ตกตแต่งภายใน,ออกแบบตกแต่งภายใน  
decor guide : ออกแบบภายใน,ตกตแต่งภายใน,ออกแบบตกแต่งภายใน  
design tips : ออกแบบภายใน,ตกตแต่งภายใน,ออกแบบตกแต่งภายใน  
living young : ออกแบบภายใน,ตกตแต่งภายใน,ออกแบบตกแต่งภายใน  
healthy life : ออกแบบภายใน,ตกตแต่งภายใน,ออกแบบตกแต่งภายใน  
back issue : ออกแบบภายใน,ตกตแต่งภายใน,ออกแบบตกแต่งภายใน  
ded123 2  
youtube123 2  
facebook122  
               
 

 

      หลายๆคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าตรุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก  และร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเชื่อต่างๆ  ในวันตรุษจีนจะมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนเชื้อสายจีนขนาดใหญ่ และตรุษจีนถือเป็น วันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป

 

chinese new year top

 

ตำนาน วันตรุษจีน

 

      ตรุษจีน เป็นวันสำคัญของจีนที่มีมาแต่โบราณที่เรียกว่า "กว้อชุนเจี๋ย" หรือ "กว้อเหนียน" เล่ากันว่าในสมัยโบราณ ในป่าทึบแห่งหนึ่ง มีสัตว์ป่าที่ดุร้ายและน่ากลัวมากตัวหนึ่งเรียกว่า "เหนียน" มันออกอาละวาดกินคนเป็นประจำ พระเจ้าจึงลงโทษมัน อนุญาตให้มันลงมาจากเขาได้เพียงหนึ่งครั้งใน 365 วัน

 

      ดังนั้น เมื่อฤดูหนาวใกล้จะผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิเวียนมาใกล้ เหนียน ก็จะออกมาทำร้ายผู้คน และเพื่อป้องกันการมาของ
เหนียน ทุกๆครัวเรือนจึงต่างสะสมเสบียงอาหารและกับข้าวจำนวนหนึ่งไว้ในบ้าน เมื่อถึงตอนค่ำของวันที่ 30 เดือน 12 ก็จะปิดประตูและหน้าต่างเอาไว้ จนกระทั่งถึงรุ่งเช้าก็จะเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 1 เมื่อ เหนียน กลับไป แล้วทุกๆครัวเรือนก็จะเปิดประตูออกมาแสดงความยินดีต่อกัน ที่โชคดีไม่ได้ถูก เหนียน ทำร้าย


      ต่อมาพบว่า เหนียน มีจุดอ่อน ผู้คนต่างรู้ว่า แม้ว่า เหนียน จะดุร้ายแต่มันก็กลัวสีแดง เสียงดัง และไฟ ทำให้ผู้คนสามารถคิดหาวิธีกำจัด เหนียน ได้โดยไม่ยากนัก


      เมื่อวันส่งท้ายตรุษจีนเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง ทุกๆครัวเรือนจึงต่างนำกระดาษสีแดงมาติดไว้บนประตูหน้าบ้าน แขวนโคมไฟสีแดง พร้อมกับจุดประทัดและตีฆ้องรัวกลองอย่างต่อเนื่อง ทุกๆคนจึงผ่านพ้นคืนแห่งอันตรายไปอย่างปลอดภัยครับ

 

2

 

ต้นกำเนิดของวันตรุษจีน

 

      ช่วงเริ่มมีประเพณีวันตรุษจีน ในสมัยนั้น เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ผู้คนจะกลับไปอยู่บ้าน ใช้ไม้หรือวัตถุอื่นๆปิดหน้าต่างทางทิศเหนือ จะจุดไฟในบ้านเพื่อให้มีควัน และใช้ควันไล่หนูออกจากบ้านไป เตรียมตัวจะฉลองปีใหม่ ชาวบ้านจะเตรียมเหล้าและเครื่องบูชาเทพเจ้าทั้งหลาย เพื่อขอบคุณเทพเจ้าที่ช่วยคุ้มครองและขอให้คุ้มครองต่อไป แต่สมัยนั้น ประเทศจีนยังไม่ได้รวมเป็นหนึ่ง ยังอยู่ในสภาพหลายก๊กหลายแคว้น ฉะนั้น การฉลองปีใหม่จึงอยู่ในเวลาที่แตกต่างกัน มีจุดเหมือนกันก็คือ ล้วนอยู่ในฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่ต้องทำไร่ไถนา เป็นช่วงพักผ่อน ซึ่งการพักผ่อนนี้ ค่อยๆก่อรูปขึ้นเป็นประเพณีวันตรุษจีน


      หลังราชวงศ์จิ๋น ประเทศจีนเข้าสู่สมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งมีการรวมจีนเป็นเอกภาพแล้ว เวลานั้น เป็นระยะเวลาหลังสงคราม จึงพยายามส่งเสริมให้พักผ่อน เพื่อฟื้นฟูการเกษตรและให้สังคมมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ทำให้ประชาชนเริ่มคิดถึงการใช้ชีวิตให้มีความสุข และค่อยๆมีเทศกาลต่างๆปรากฎขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีปฏิทิน "ไท่ชู" ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ปฏิทินฉบับนี้ ได้กำหนดให้วันชิวอิก เดือนอ้ายเป็นปีใหม่ ในวันนี้ จะไหว้เจ้า บูชาฟ้าดิน และจัดงานเฉลิมฉลองต่างๆพร้อมกัน พร้อมไปกับการพัฒนาของสังคม แม้ว่าราชวงศ์มีการเปลี่ยนแปลง แต่วันปีใหม่นี้ไม่ได้เสื่อมลง กลับมีความเจริญยิ่งขึ้น มีกิจกรรมจุดประทัด ติดยันต์ ดื่มเหล้า ส่งท้ายปีเก่า และชมโคมไฟ เป็นต้น อีกทั้งยังได้ใช้เวลามากขึ้นด้วย จากหนึ่งวันกลายเป็นหลายวัน จนกลายเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน และเรียกกันว่า "วันตรุษจีน"


      จนถึงราชวงศ์ถัง ประเพณีปีใหม่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป ราชวงศ์ถังเป็นยุคสมัยที่มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนกับต่างประเทศ ผู้คนจึงเริ่มหลุดพ้นจากบรรยากาศบูชาเทพเจ้า ขอพรจากสวรรค์ วันปีใหม่ค่อยๆเปลี่ยนเป็นเทศกาลบันเทิง จุดสำคัญในเทศกาลนี้ ไม่ใช่เทพเจ้า แต่เป็นมนุษย์โดยทั่วไปไปเสียแล้ว ปีใหม่จึงเป็นวันดีของประชาชนทั้งหมด

 

ตรุษจีนจัดขึ้นเพื่ออะไร


      วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย วันตรุษจีนปีนี้(พ.ศ.2559)ตรงกับวันที่ 8 กุมภาพันธ์


      สำหรับที่มาของวันตรุษจีน นั้น เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีมานานกว่าสี่พันปีแล้ว จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เดิมที่ไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัย

 

    นอกจากนี้ วันตรุษจีน ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันชุงเจ๋" ซึ่งหมายถึงเทศกาลดูใบไม้ผลิ หรือขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ เพราะช่วงก่อนตรุษจีนนั้นตรงกับฤดูหนาว ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ชาวจีนจึงสามารถทำนา ทำสวน ได้อีกครั้งหลังจากผ่านพ้นฤดูหนาวมานั่นเองครับ

 

684423

 

15 วันแห่งการฉลองตรุษจีน ตามความเชื่อมีอะไรบ้าง

 

      วันที่ 1 ของปีใหม่ เป็นการต้อนรับเทวดาแห่งสวรรค์ และโลก หลายคนงดทานเนื้อ เพื่อเป็นการต่ออายุ

      วันที่ 2 ชาวจีนจะไหว้บรรพชน รวมถึงเทวดาทั้งหลาย และจะดีเป็นพิเศษกับสุนัข

      วันที่ 3-4 เป็นวันของบุตรเขยที่จะต้องทำความเคารพแก่ พ่อตา แม่ยาย ของตน

      วันที่ 5 เรียกว่า พูวู ซึ่งวันนี้ทุกคนจะอยู่กับบ้าน เพื่อต้อนรับการมาเยือนของเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย

      วันที่ 6 ชาวจีนจะเดินทางไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง-เพื่อนฝูง พร้อมทั้งไปวัดสวดมนต์ เพื่อความร่ำรวย และความสุข

      วันที่ 7 ของตุรุษจีนเป็นวันที่ชาวไร่-ชาวนาชาวจีน นำเอาผลผลิตของตนออกมาทำน้ำที่ทำมาจากผักเจ็ดชนิด เพื่อฉลองวันนี้วันที่เจ็ดถือเป็นวันเกิดของมนุษย์ และอาหารในวันนี้จะเป็น หมี่ซั่ว-กินเพื่อชีวิตที่ยาวนาน และปลาดิบ-กินเพื่อความสำเร็จ

      วันที่ 8 ชาวฟูเจี้ยน จะมีการทานอาหารร่วมกันกับครอบครอบอีกครั้ง และเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนทุกคนจะสวดมนต์ของพรจาก เทียนกง เทพแห่งสวรรค์

      วันที่ 9 สวดมนต์ไหว้พระ และถวายอาหารแก่ เง็กเซียนฮ่องเต้

      วันที่10-12 เป็นวันของเพื่อน และญาติๆ ซึ่งเชื้อเชิญมาทานอาหารเย็น

      วันที่ 13 ถือเป็นวันที่ควรทานข้าวธรรมดา กับผักดอง ถือเป็นการชำระล้างร่างกาย

      วันที่ 14 เป็นวันที่เตรียมงานฉลองโคมไฟ

      วันที่ 15 คืนแห่งการฉลองโคมไฟ วันตรุษจีน

 

ตรุษ จีนในประเทศไทย


      ชาวไทยเชื้อสายจีนจะ ถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว

 

      -วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการะบูชาของเจ้าบ้าน สำหรับวันจ่ายตรุษจีนปีนี้(พ.ศ.2559)ตรงกับวันเสาร์ ที่ 6 กุมภาพันธ์ ครับ

 

       -วันไหว้ หรือวันสิ้นปี ตรงกับ(พ.ศ.2559) คือ วันอาทิตย์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ จะมีการไหว้ 3 ครั้ง ได้แก่

       *ตอนเช้ามืด จะไหว้ "ไป่เล่าเอี๊ย" เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง

       *ตอนสาย จะไหว้ "ไป่แป๋บ้อ" คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญู ตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว

       *ตอนบ่าย จะไหว้ "ไป่ฮ่อเฮียตี๋" เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล

 

       -วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับ(พ.ศ.2559)วันที่ 8 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่หนึ่ง (ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ไป่เจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "กิก" ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น

 

ของไหว้แต่ละอย่างมีความหมายอย่างไร


      ผลไม้


      1.แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่นิยมกันมากรองมาจากส้มโดยภาษาจีนเรียกว่า เผ่งท้อ คราวนี้มันมีชื่อพ้องกับคำว่าเผ่งอัง แปลว่าปลอดภัยนั่นคือไหว้แล้วปลอดภัยจึงนิยมถูกจัดมาไหว้ในช่วงตรุษจีน


      2.องุ่น ผลไม้ที่เป็นหวงระยาภาษจีนเรียกว่า ผู่ท้อ แปลว่าได้ความว่าสูงขึ้น ลอย หรือกำไร ดังนั้นท่านจะเห็นถูกนำมาไหว้เป็นประจำ เป็นต้น


      3.ส้ม เป็นผลไม้ที่นิยมไหว้มากที่สุดในทุกๆเทศกาลของชาวจีนโดยความหมายมาจากเสียงของอักษรคำว่า 'ผลส้ม' เรียกว่า จวี๋จื่อ หรือเรียกสั้นๆ ว่า จวี๋ คำว่า 'จวี๋' นี้เองที่พ้องเสียงใกล้เคียงกับ 'จี๋' ที่แปลว่า โชคดี มงคล สิริมงคล


      4.ลูกแก้วมังกร เป็นผลไม้แห่งความอุดมสมบูรณ์ สำหรับแก้วมังกรแค่ชื่อเสียงฟังดูมงคลแล้วล่ะครับ แต่ตามคติความเชื่อของชาวจีนจะนับถือมังกรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว โดยเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งแก้วมังกรมีเปลือกเป็นสีแดง เป็นสีมงคลนำพาความเฮง เฮง เฮง มาให้ครอบครัวซินแสแนะนำว่าควรเลือกแก้วมังกรที่มีเปลือกสีแดงและเนื้อด้านในเป็นสีแดงเข้มด้วยก็ยิ่งดี ยิ่งเสริมมงคลให้มีมากเท่าทวีคุณมากเลยล่ะครับ


      5.กล้วย อันนี้มีหลายที่มารวมทั้งชื่อไทยก็กล้วยจะได้เจอแต่อะไรกล้วยๆ บางท่านว่าภาษาจีนแปลว่ากำไร เหมือนที่โกยเงินโกยทองจึงนิยมใช้หวีใหญ่เป็นกล้วยหอมดิบผิวสวยๆ และวางหงายขึ้นเวลาไหว้เพื่อให้กอบโกยโชคลาภ


      6.ทับทิม เป็นผลไม้ที่มีเมล็ดมาก ดังนั้นจึงมีความหมาย "การมีลูกมากๆ" นั้นเอง นอกจากนี้ชาวจีนยังมีความเชื่อว่า ใบทับทิม เป็นใบไม้สิริมงคลที่ใช้พรมน้ำ และเอาไว้ติดตัวเพื่อคุ้มครองกันภัยจากภูติผีปีศาจอีกด้วยครับ


      7.ลูกพลับ มีความหมายว่า จิตใจที่หนักแน่นอย่างมั่นคง สามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ได้ไปอย่างราบรื่น ให้มีความสุขตลอดปี

 

เสร็จจากผลไม้ ไปกันต่อกันที่ของคาวอย่างเนื้อสัตว์กันต่อเลยดีกว่าครับ

 

      เนื้อสัตว์


      1.เนื้อหมู แทนความหมายความอุดมสมบูรณ์หรือทำธุรกิจก็ง่ายๆเหมือนหมู


      2.ไก่ แทนความหมายเจริญในหน้าที่การงานเพราะไก่ตอนเช้าๆจะออกขันเหมือนรู้จักหน้าที่ของมันและไก่มีหงอนเหมือนหมวกของขุนนางจีนที่เชื่อว่าจะทำให้การงานรุ่งเรือง


      3.ปลา แทนความหมายเหลือกินเหลือใช้


      4.ตับหมู มีคำที่พ้องเสียงกับภาษาจีนคำว่า "กัว" หมายถึงขุนนาง


      5.ปลาหมึกแห้ง หมายถึง อำนาจวาสนารวมถึงโชคลาภอีกด้วย


      6.สาหร่ายทะเลสีดำ หมายถึง ความมั่งคั่งร่ำรวย


      7.หน่อไม้ หมายถึง การอวยพรให้ร่ำรวยชีวิตผาสุก


      สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของตรุษจีน คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็ก ๆ ซึ่งจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว

 

สิ่งที่ควรและไม่ควรปฏิบัติในวันตรุษจีน


      1.ไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ และไหว้ผีไม่มีญาติ


      2.รวมญาติกินเกี๊ยว เพราะมีลักษณะเมือนเงิน ให้ความหมายว่า ให้มั่งมีเงินทอง กินเย็นก่อนวันปีใหม่


      3.กินเจมื้อเช้า คือมื้อแรกของปี คนจีนจะกินเจมื้อแรกของปี เชื่อกันว่าจะได้บุญเหมือนกับกินเจตลอดทั้งปี


      4.ห้ามกวาดบ้าน เมื่อถึงวันปีใหม่จะไม่กวาดบ้านจนถึงวันชิวสี่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวันแรกของการเริ่มต้นทำงาน เพราะถือว่าจะกวาดเอาสิ่งที่เป็นมงคลทิ้งไป

 

      5.ทำพิธีรับ "ไช่ซิงเอี้ย" เป็นเทพพิทักษ์ทรัพย์ หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ส่วนใหญ่จะทำพิธีระหว่างหลังเที่ยงคืนของวันซาจั๊บ


      6.ติด "ตุ้ยเหลียน" หรือคำอวยพรปีใหม่ ใช้หมึกดำหรือสีทองเขียนคำอวยพรลงบนกระดาษสีแดงติดเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้าน


      7.ใส่เสื้อผ้าใหม่สีสันสดใส


      8.ส้ม 4 ผล อวยพรผู้ใหญ่

 


      ทราบที่มาที่ไปในวันตรุษจีนไปกันเป็นที่เรียบร้อย หวังว่าเพื่อนที่ติดตามบทความนี้คงได้ความรู้กันไม่มากก็น้อยนะครับ สำหรับตรุษจีนนี้ Beyond ขอให้เพื่อนๆทุกคน เฮงๆ รวยๆกันทั่วหน้านะครับ happy chinese new year กันอีกครั้ง ไว้พบกันใหม่กันบทความที่น่าสนใจกันอีกในเดือนหน้า สำหรับเดือนนี้สวัสดีครับ ☺

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก


sites.google.com
hakkapeople.com
unigang.com
ww.oknation.net

 
     

 Contact us / Join us

ออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน Interior design Thailand

www.bareo-isyss.com เป็น web magazine ที่ update รายเดือนเพื่อผู้อ่าน ทัศนะและความคิดเห็นใดๆ ของผู้ประพันธ์ หรือผู้สนับสนุน
ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง หรือไม่แน่ชัดใน www.bareo-isyss.com มิได้มาจาก บริษัท บาริโอ จำกัด และบริษัทในเครือแต่อย่างใด
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบ ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน Interior design Thailand